ภูมิหลังด้านการนวดไทยเพื่อการบำบัด

การนวดไทยที่มีความรุ่งเรืองมาก คือในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยพระบรมไตรโลกนาถ เห็นได้จากหลักฐานทำเนียบศักดินาข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน และในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็เช่นกัน มีการรักษาด้วยการนวดและการยืดเส้นยืดสาย โดยหมอนวดผู้ชำนาญ

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีเหตุการณ์สำคัญ ดังนี้

  • สมัย ร.1 ในจัดตั้งฤาษีดัดตนไว้ตามศาลาราย และอักษรจารึกไว้กับรูปฤาษี อธิบายท่าดัดตนแก้โรค
  • สมัย ร.3 จัดตั้งรูปหล่อฤาษีดัดตน 80 ท่า พร้อมคำโคลง
  • สมัย ร.4 พบหลักฐานทำเนียบตำแหน่งข้าราชการในกรมหมอนวด ดังนี้
    • พระวรองครักษา         จางวาง                ศักดินา 800 ไร่
    • หลวงสัมพาหแพทย์     ปลัดจางวาง          ศักดินา 400 ไร่
    • หลวงสัมพาหภักดี       ปลัดจางวาง          ศักดินา 400 ไร่
    • หลวงประสาทวิจิตร      เจ้ากรมซ้าย          ศักดินา 800 ไร่
    • หลวงประสิทธิหัตถา     เจ้ากรมขวา          ศักดินา 800 ไร่
    • ขุนวาตาพินาศ           ปลัดกรมขวา         ศักดินา 400 ไร่
    • ขุนศรีสัมพาห            ปลัดกรมซ้าย         ศักดินา 400 ไร่
  • สมัย ร.5 ทรงโปรดการนวดมา โปรดเกล้าฯ ให้ชำระคัมภีร์แพทย์ รวมทั้งคัมภีร์แผนนวดและฤาษีดัดตน เป็นตำราแผนนวดฉบับหลวงพระราชทาน และมีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังฤาษีดัดตนที่ศาลาโถงของวัดมัชฌิมาวาส จังหวัดสงขลา 40 ท่า
  • สมัย ร.6 กรมแพทย์หลวงถูกยุบ และระบุการนวดอยู่ในนิยามของการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ
  • สมัย ร.7 ระบุสาขาการนวดแผนโบราณ กำหนดให้ต่ออายุทุก 3 ปี และมีการก่อตั้งสมาคมแพทย์แผนโบราณแห่งประเทศไทย มีการสอนนวด
  • สมัย ร.8 มีการยกเลิก พรบ. การแพทย์ 2466 และตัดการนวด โดยไม่มีบทเฉพาะกาล ซึ่งหมายความว่า ไม่ควบคุมการนวดไทย
  • สมัย ร.9 มีการออกประกาศ เรื่องการเพิ่มประเภทการนวดไทยในสาขาการแพทย์แผนไทย
Scroll to top