การแท้ง (ครรภ์วิปลาส)

การแท้งบุตรนี้ จะแท้งเมื่อครรภ์อายุครบ 3 เดือนแล้วเป็นส่วนมาก จะแท้งเองหรือช่วยให้แท้ง ส่วนเหตุที่ทำให้แท้งด้วยโครต่างๆ ดังกล่าวแล้ว การแท้งด้วยตามพืชพันธุ์มารดา และเชื่อแถวเคยแท้ง หรือเคยแท้งแล้วก็แท้งอีกอาจทำให้แท้งได้อีกเหมือนกัน หรือมารดากินยาร้อนๆ หรือถูกบีบรัด ก็ทำให้แท้งได้  การแท้งบุตรต่างๆ ดังกล่าวแล้ว มักมีเหตุอันตรายมาก ควรช่วยนำส่งโรงพยาบาลทันที

สาเตุที่ทำให้เกิดการแท้ง

ต้นเหตุที่ทำให้เกิดการแท้งมีหลายอย่าง แต่คนที่เคยแท้งเราต้องหาต้นเหตุให้ได้เสียก่อน เพื่อมิให้เกิดการแท้งได้อีกในครรภ์หลังๆ ต้นเหตุสำคัญมีดังนี้คือ

1.ต้นเหตุเกี่ยวกับไข่ มักเกิดจากการตายของไข่ที่ฝั่งตัวลงในพื้นเยื่อมดลูก ทำให้เกิดการแท้ง โดยมากมักเกิดจากไข่ตายก่อน แล้วจึงมีการแท้งเกิดตาม ต้นเหตุที่ทำให้ไข่ตายมี

1.1 ครรภ์ไข่ปลาอุก  ในโรคนี้ไข่หรือทารกมีการเปลี่ยนแปลงสูญเสียไปแล้วแท้งออกมาเป็นเม็ดๆ อย่างเม็ดสาคู ถ้าเป็นเม็ดๆทั้งหมดแสดงว่า ตัวเด็กถูกทำลายไปหมดแล้ว

1.2 โรคของรก ได้แก่ รกที่มีการติดเชื้อโรคซิฟิลิส และในรายที่รกเกาะต่ำ

1.3 โรคของสายสะดือ  เกี่ยวแก่สายสะดือยาวเกินไป จนขดกันเป็นเกลียว ทำให้โลหิตเดินไปสู่เด็กไม่ได้ ทำให้เด็กตาย

1.4 โรคของเยื่อถุงน้ำหุ้มเด็ก  ได้แก่ พวกที่น้ำหล่อเลี้ยงเด็กมีมากเกินไป หรือน้ำหล่อเลี้ยงเด็กมีน้อยเกินไป

1.5 โรคของตัวเด็กเอง  ได้แก่ เด็กเกิดมาร่างกายไม่สมประกอบ เช่น แขนด้วน เด็กไม่มีสมอง โรคพวกนี้ทำให้เด็กตายได้ จึงเกิดการแท้งขึ้น

2.ต้นเหตุเกี่ยวกับมารดา

2.1 เกี่ยวกับอวัยวะภายในช่องเชิงกราน  ได้แก่

2.1.1  เยื่อบุพื้นมดลูกอักเสบเรื้อรัง ไข่ฝังตัวลงในเยื่อบุพื้นมดลูกไม่ได้

2.1.2  มดลูกมีรูปร่างผิดไปจากปกติ เช่น ในรายที่ยอดมดลูกเป็นสองแฉก

2.1.3  มดลูกมีขนาดเล็ก

2.1.4  ยอดมดลูกพลิกตัวกลับตัวไปอยู่ด้านหลัง

2.1.5  ปากมดลูกฉีกขาดมาก เกิดจากการคลอดที่แล้วมา เมื่อตั้งครรภ์ครั้งต่อไป ปากมดลูกปิดไม่สนิท ทำให้เกิดแท้งได้ง่าย

2.1.6  เนื้องอกไปรบกวนมดลูก ทำให้เกิดการหดรัดตัว ซึ่งเป็นสาเหตุของการแท้งได้

2.2 เกี่ยวแก่การผิดปกติที่เกิดแก่มารดา แล้วเป็นผลทำให้เด็กตายบ่อย ได้แก่

2.2.1  โรคที่ทำให้มารดามีอาการไข้สูง เช่น ฝีดาษ ไข้รากสาด บิด ปอดบวม เป็นต้น อาการไข้สูงทำให้เด็กตาย

2.2.2  ยาสลบ แม่ต้องทำการผ่าตัดและดมยาสลบนานๆ ทำให้เด็กตายได้

2.2.3  การกระทบกระเทือนจากภายนอก เช่น มารดาถูกรถชน ถูกตี ตกจากที่สูง มีการร่วมเพศที่รุนแรง ทำให้ทารกตาย

2.2.4  มีความเครียดและความวิตกกังวล หรือมีอารมณ์แปรปรวน เช่น เสียใจมากๆ เกิดแท้งได้ เพราะมดลูกบีบตัวมาก

2.2.5  เกี่ยวกับต่อมภายในผิดปกติ เช่น ต่อมไทรอยด์โต ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ

3.ต้นเหตุเกี่ยวกับพ่อ ได้แก่ ตัวสเปิร์ม (ตัวผสมพันธุ์) ของผู้เป็นพ่ออ่อนเกินไป อาจเนื่องจากพ่อเป็นกามโรค (ซิฟิลิส) หรือถูกแสงเอกซเรย์มากเกินไป หรือดื่มสุราจัดเสมอๆ เป็นต้น

ชนิดของการแท้ง

การแท้ง คือ การที่มีโลหิตออกจากช่องคลอดในระยะที่อายุครรภ์ต่ำกว่า 28 สัปดาห์ เมื่อไข่ตายแล้ว ทำให้ก้อนสีเหลืองที่ติดอยู่ที่รังไข่ซึ่งมีคุณภาพทำให้การตั้งคครภ์เจริญเติบโตได้ มีการเปลี่ยนแปลงสูญเสียไปและทำให้มดลูกเกิดบีบตัวขึ้น เมื่อมดลูกบีบตัว เยื่อถุงน้ำหุ้มตัวเด็กติดกับพื้น มดลูกก็แยกจากกันเกิดมีโลหิตออกทางช่องคลอดเล็กน้อย โลหิตที่ไหลออกมา ทำให้มดลูกบีบตัวตลอดเวลา แผลที่แตกก็โตมากขึ้น

อาการที่มีโลหิตออกทางช่องคลอดเล็กน้อยนี้ อาจเกิดจากโรคอื่นได้หมือนกัน เช่น ท้องนอกมดลูก(ดังกล่าวแล้ว) มะเร็งปากมดลูก ปากมดลูกเป็นแผล เป็นต้น จะมีอาการปวดท้องเล็กน้อย แล้วก็หายไปและปากมดลูกปิดอยู่ตามเดิม แสดงว่าไม่มีการแท้ง การตั้งครรภ์ก็อยู่ได้ต่อไปจนเด็กครบกำหนดคลอด

การแท้งแยกออกได้ 3 ระยะ คือ

ระยะแรก  คือ การแท้งในสองเดือนแรกในการตั้งครรภ์ ในระยะนี้การแท้งเป็นไปได้ง่ายมาก เมื่อแท้งแล้วมักไม่มีอะไรเหลือค้างในมดลูกเลย การแท้งในระยะนี้ไม่อันตราย

ระยะที่สอง  คือ การแท้งเกิดในระยะเดือนที่สามและเดือนที่สี่ ระยะนี้เกิดรกขึ้นแล้ว การแท้งในระยะนี้ มักมีเศษของรกเหลือค้างอยู่ในมดลูกบ้างไม่มากก็น้อยเสมอ ทำให้เกิดโลหิตออกจากมดลูกเสมอๆ เพราะเมื่อเศษรกเหลือตกค้างอยู่ในมดลูก ทำให้มดลูกบีบตัวได้ไม่ดี แผลที่รกหลุดปิดไม่สนิท จึงมีโลหิตออกเรื้อรังหรืออาจเกิดการตกเลือด และเกิดการติดเชื้อตามมาก็ได้

ระยะที่สาม  คือ เกิดการแท้งในระยะที่ตั้งครรภ์ได้ 5-7 เดือน ระยะนี้เกือบคล้ายการคลอดธรรมดาแล้วเพราะว่าเด็กใหญ่มาก มีกระบวนการ 3 ระยะ คล้ายการคลอด แต่ระยะจะสั้นกว่าและเด็กออกง่ายกว่า

การดูแลรักษาหญิงที่มีการแท้ง

ให้คนไข้นอนพักนิ่งๆ ให้อาหารแต่พอควร งดเหล้า และห้ามใช้ยาถ่ายหรือยาระบายอย่างแรง นอกจากยาระบายอ่อนๆ เช่น น้ำมันละหุ่ง หรือ สวนอุจจาระเมื่อท้องผูก ต้องให้คนไข้นอนพักบนเตียง 1 สัปดาห์ ถ้าอาการไม่น่าไว้วางใจ ควรส่งต่อให้แพทย์เป็นผู้ดูแลรักษา เพื่อมิให้เกิดอันตรายแก่มารดา

การดูแลหญิงที่มีทารกตายในครรภ์

การที่มารกตายในครรภ์ เป็นเพราะการส่งเลือดมาเลี้ยงตามสายสะดือไม่เพียงพอ หรือขาดใจตาย การคลอดก็คลอดออกได้ ถ้ามดลูกทำงานได้ดีและผู้คลอดก็ไม่เสียเลือดมากเกินไป มดลูกอาจหมดกำลังก่อนทารกเกิดหรือหลังจากทารกเกิดแล้ว ฉะนั้นอันตรายของผู้คลอดมีมาก ถึงแม้ว่ารกและทารกเกิดออกมาแล้วก็ยังหาพ้นอันตรายไม่

ทารกตายในครรภ์มีอาการดังนี้ เมื่ออยู่ดีๆ ก็มีอาการเจ็บท้องรุนแรง ด้านหนึ่งด้านใดของมดลูก มดลูกมีการหดรัดตัว และเจ็บเมื่อเวลาถูกต้อง หน้าท้องตึง และเลือดออกทางช่องคลอดหรือมีอาการตกเลือด ฟังเสียงหัวใจของทารกไม่ได้ยิน และทารกไม่ดิ้น

การปฏิบัติ  ต้องรีบส่งโรงพยาบาลทันที ช่วยป้องกันการช็อค หรือให้ยาบำรุงหัวใจ

การดูและหญิงแท้งบุตรรกติด

เมื่อมีการหดรัดตัวของมดลูก รกก็จะหลุดออกจากที่เกาะในมดลูก แต่ถ้ามดลูกหมดกำลังหดตัวอ่อนลง ซึ่งเกิดจากมดลูกได้บีบทารกให้คลอดแรงเกินไป ทำให้ไม่มีกำลังบีบให้รกหลุดออก รกนั้นก็ไม่หลุด ส่วนที่จะช่วยให้เอารกออกนั้น ควรเป็นหน้าที่ของแพทย์แผนปัจจุบัน

แต่ถ้าทารกนั้นแท้งรกไม่หลุดเพราะว่ารกนั้นไม่แก่พอที่จะหลุดออกมาจากมดลูกเหมือนผลไม้ที่ยังอ่อนและดิบอยู่ จึงไม่ยอมหลุดออกจากมดลูกได้ง่าย จึงเป็นเหตุให้สตรีที่แท้งลูกมีรกติดโดยมาก และยังเกิดจากปากมดลูกยังไม่เปิดพอ ให้คนไข้นอนพักนิ่งๆ ให้อาหารแต่ควร

Scroll to top