คัมภีร์ปฐมจินดา

คัมภีร์ปฐมจินดา เป็นโรคที่เกี่ยวกับสตรี มารดา และทารก หญิงมีครรภ์ก่อนคลอด ดังนี้
ถวายนมัสการแล้ว ซึ่งพระศรีสุคตทศพลญาณเจ้า เป็นที่พึ่งของโรค พระคัมภีร์แพทย์อันวิเศษ ชื่อ ปฐมจินดา นี้ เป็นหลักเป็นประธานแห่งพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ทั้งปวง อันพระอาจารย์ชีวกโกมารภัจจ์แพทย์ ได้แต่งไว้ในกาลก่อนโดยสังเขป เพื่อจะได้เป็นที่พึ่งแก่สัตว์โลก ด้วยประการดังนี้

          “พรหมปุโรหิต” (กำเนิดมนุษย์) ต้นเหตุที่มนุษย์เกิด เมื่อจะตั้งแผ่นดินใหม่มีเหตุการณ์ผ่านมาเป็นอันมาก แล้วเกิดฝนตกห่าใหญ่ลงมาถึง 7 วัน 7 คืน น้ำท่วมไปชั้นพรหมปุโรหิตๆ จึงเล็งลงมาดูจึงเห็นดอกอุบล 5 ดอก ผุดขึ้นมาเหนือน้ำงามหาที่จะอุปมาไม่ได้

          “ท้าวมหาพรหม” จึงบอกแก่พรหมทั้งหลายว่า แผ่นดินใหม่นี้ จะบังเกิดสมเด็จพระพุทธเจ้ามาตรัส 5 พระองค์ เพราะได้เห็นดอกอุบลนั้น 5 ดอก คือ

    1. พระพุทธกกุสันโธ
    2. พระพุทธโกนาคม
    3. พระพุทธกัสสป
    4. พระพุทธสมณโคดม
    5. พระศรีอริยเมตไตรย์

ครั้น และบังเกิด “บุพนิมิต” ขึ้นแล้ว จึงน้ำค้างเปียกจากฝนซึ่งได้ตกลงมา 7 วัน 7 คืน แล้วก็เป็นระคนปนกันสนับข้นเข้า ดุจดังสวะอันลอยอยู่เหนือน้ำ โดยหนาสองแสนสีหมื่นโยชน์ อันนี้มีแจ้งอยู่ในพระคัมภีร์จักรวาลทีปนี

1.สัตว์ที่มาปฎิสนธิในชมพูทวีป มี 4 สถาน

    1. สัตว์ทีมาปฎิสนธิในครรภ์เป็น ชลามพุชะ (ตัว)
    2. สัตว์ที่มาเกิดเป็นฟองฟักฟองไข่ นั้น คือ อัณฑะชะ (ไข่)
    3. สัตว์ที่ปฎิสนธิด้วยเปือกตมนั้นชื่อ สังเสทชะ (หนอน)
    4. อุปปาติกะ สัตว์ปฎิสนธิเกิดเป็น อุปปาติกะ ไม่มีสิ่งใดๆ ก็เกิดขึ้น

2.มนุษย์ทั้งหลายถือปฎิสนธิแล้ว ก็คลอดจากครรภ์มารดา ถ้าเป็น สตรี จะมีประเภทผิดจากบุรุษ 2 ประการ คือ

    1. ต่อมเลือด (มดลูก)
    2. น้ำนมสำหรับเลี้ยงบุตร

ในคัมภีร์ปฐมจินดา กล่าวถึง พระดาบสองค์หนึ่ง ชื่อว่า “ฤทธิยาธรดาบส” ได้ซึ่งญานอันเป็นโลกีย์ หยั่งรู้ลักษณะหญิง และน้ำใจสตรีทั้งดี และชั่วต่างๆ และท่านดาบสพระองค์นี้ ได้เป็นอาจารย์ของชีวกโกมารภัจจ์
ชีวโกมารภัจจ์ จึงนมัสการถามถึงโรคแห่งกุมารว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อันว่ากุมาร และกุมารีทั้งหลาย ซึ่งเกิดมาในโลกนี้ ย่อมบังเกิดโรคต่างๆ ไม่เหมือนกัน ในพระคัมภีร์ปฐมจินดา กำเนิดซางนั้นว่า
* ถ้ากุมาร และกุมารีผู้ใด คลอดจากครรภ์ในวัน 2, 5, 6 (วันจันทร์, พฤหัสบดี, ศุกร์) โรคเบาบาง ฉันใดแลผู้เป็นเจ้า โรคนั้นจึงกลับมากลับไปเล่า ที่ว่ากุมาร
* ถ้ากุมารีคลอดออกจากครรภ์ในวัน 1, 3, 4, 7 (วันอาทิตย์, อังคาร, พุธ, เสาร์) นั้นว่าร้ายนักเลี้ยงยาก และโรคนั้นก็มาก ฉันใดแลผู้เป็นเจ้า โรคนั้นจึงเบาบางกลับเป็นดีไปเล่า คลอดวันที่ดีกลับร้าย รักษายากรักษาไม่รอดรักษาง่าย คลอดวันที่ร้ายกลับดี รักษาง่าย ดังนี้เป็นประการดังฤๅ พระคัมภีร์ปฐมจินดากำเนิดซางนั้นร้ายนักเลี้ยงก็ยาก
* ถ้ากุมาร กุมารีเกิดมาในวัน 1, 3, 4, 7 จะไม่ตายเสียสิ้นแลหรือ เกิดมาในวัน 2, 5, 6 นั้นเลี้ยงง่ายก็ตกซึ่งว่ากุมาร กุมารี เกิดมาในวันเหล่านี้ จะไม่รู้ตายแล้วหรือพระผู้เป็นเจ้า

ฝ่ายพระฤๅษี ฤทธิยาธรดาบส จึงวิสัชนาว่า สัตว์เกิดมาในภพสงสารนี้ ซึ่งเกิดมาในวันที่ดีไม่มีสิ่งอันใดขัดขวาง พ้นแผนซางที่ร้ายแล้ว แต่ว่าเลี้ยงยากนั้น เหตุทั้งนี้ก็เพราะน้ำนมของมารดานั้นให้โทษแก่กุมารนั้นเอง อนึ่ง กุมารจะเกิดมาในวันที่ร้ายแล้วต้องแผนซางที่ร้าย แต่ว่าเลี้ยงง่ายนั้น อาศัยน้ำนมแห่งมารดานั้นดี กุมารีได้บริโภคจึงวัฒนาการเจริญขึ้น ทั้งนี้ก็เพราะน้ำนมสตรีดี และร้ายมีอยู่ 6 จำพวก ท่านจงทราบด้วยประการดังนี้ พระฤๅษีสิทธิดาบส เธอจึงนำเอาลักษณะน้ำนมชั่ว ซึ่งกุมารบริโภคเป็นโทษ 2 จำพวก และลักษณะแห่งน้ำนมแม่ที่ดี ซึ่งกุมารดื่มแล้วไม่ได้เป็นโทษ 4 จำพวก ดังนี้

3.ลักษณะน้ำนมให้โทษแก่กุมารในหญิง 2 จำพวก คือ

    1. หญิงมีกลิ่นตัวคาวดังน้ำล้างมือ
      มีลักษณะ : ลูกตาแดง เนื้อขาวเหลือง นมยาน หัวนมเล็ก เสียงพูดแหบ เครือดังเสียงการ้อง ฝ่ามือและเท้ายาว ห้องตัวยาว จมูกยาว หนังริมตาหย่อน สะดือลึก ไม่พี ไม่ผอม สันทัดคน กินของมาก ลักษณะหญิงอย่างนี้ชื่อว่า หญิงยักขินี เป็นหญิงมีกามแรง ถ้าให้กุมารบริโภคน้ำนมเข้าไป มักบังเกิดโรคต่างๆ แม่นมออย่างนี้ท่านให้ยกเสียพึงเอา
    2. หญิงที่มีกลิ่นตัวดังบุรุษ
      มีลักษณะ : ตาแดง ผิวเนื้อขาว นมดังคอน้ำเต้าริมฝีปากกลม เสียงแข็ง ดังเสียงแพะ ฝ่าเท้าใหญ่ข้างหนึ่งเล็กข้างหนึ่ง เจรจาปากไม่มิดกัน เดินไปมามักสะดุด ลักษณะหญิงอย่างนี้ ชื่อว่า หญิงหัศดี เป็นหญิงกามแรง ถ้าให้กุมารบริโภคน้ำนมเข้าไป ดุจดังเอายาพิษให้บริโภค แม่นมอย่างนี้ ท่านให้เลือกออกเสีย อย่าพึงเอา

4.ลักษณะแห่งแม่นมที่ดี ซึ่งกุมารดื่มน้ำนมไม่ได้เป็นโทษนั้นมี อยู่ 4 จำพวก คือ

    1. หญิงที่มีกลิ่นตัวหอมดังกล้วยไม้
      มีลักษณะ : ไหล่ผาย สะเอวรัด หลังราบ สัณฐานตัวดำ และเล็ก แก้มใส มือ และเท้าเรียว เต้านมดังอุบลพึ่งแย้ม ผิวเนื้อแดง เสียงดังเสียงสังข์ รสน้ำนมนั้นหวาน มันเจือกัน ลักษณะหญิงอย่างนี้ ท่านจัดเป็นหญิงเบญจกัลยาณีให้เลือกเอาไว้ให้กุมารบริโภคเถิดดีนัก
    2. หญิงที่มีกลิ่นตัวดังดอกอุบล
      มีลักษณะ : เสียงดังเสียงแตร ไหล่ผาย ตะโพกรัด แก้มพอง นิ้วมือ และนิ้วเท้าเรียวแฉล้ม เต้านมดังบัวบาน ผิวเนื้อเหลือง น้ำนมมีรสหวาน ลักษณะหญิงอย่างนี้ท่านจัดเป็นหญิงเบญจกัลยาณี ให้เลือกเอาไว้ให้กุมารบริโภคเถิดดีนัก
    3. หญิงที่มีกลิ่นตัวไม่ปรากฏหอม หรือเหม็น
      มีลักษณะ : เอวกลม ขนตางอน จมูกสูง เต้านมกลม หัวนมงอนดังดอกอุบลพึ่งจะแย้ม รสน้ำนมนั้นหวานมันสักหน่อย ลักษณะหญิงอย่างนี้ ท่านว่าเป็นหญิงเบญจกัลยานี ให้เลือกเอาไว้ให้กุมาร บริโภคเถิด น้ำนมดีนัก
    4. หญิงที่มีกลิ่นตัวหอมเผ็ด
      มีลักษณะ : เสียงดังเสียงจักจั่น ปากดังปากเอื้อน ตาดังตาทราย ผมแข็งชัน ไหล่ผาย ตะโพกผาย หน้าผากสวย ท้องดังกาบกล้วย นมพวง น้ำนมขาวดังสังข์ รสน้ำนมมันเข้มสักหน่อย เลี้ยงลูกง่าย ลักษณะหญิงจำพวกนี้ ท่านคัดเป็นหญิงเบญจกัลยาณี ให้เลือกเอาไว้ให้กุมารบริโภคเถิดน้ำนมดีนัก ลักษณะแม่นม 4 จำพวกนี้ แม่นมเบญจกัลยานี ท่านจัดสรรเอาไว้ถ่ายพระมหาบุรุษราชเจ้าได้ เสวยครั้งนั้น เรียกว่า ทิพโอสถประโยธร ดุจน้ำสุรามฤต ถ้ากุมาร และกุมารีผู้ใดได้บริโภค ดุจดื่มกินซึ่งโอสถ อันเป็นทิพย์ น้ำนมที่กล่าวมาทั้ง 4 จำพวก ถึงว่ากุมารผู้นั้นจะมีโรค ก็อาจบำบัดโรคได้ เพราะน้ำนมมีคุณดังโอสถ และมิได้แสลงโรค

ถ้าแพทย์ผู้ใดจะรักษากุมารไปเบื้องหน้า ให้พิจารณาดุน้ำนมแห่งแม่นม และน้ำนมแห่งมารดานั้นก่อน ถ้าเห็นว่านมนั้นยังเป็นมลทินอยู่ ท่านให้แต่งยาประสะน้ำนม นั้นเสียก่อน จึงจะสิ้นมลทินและโทษทั้งปวง ถ้าแพทย์จะพิจารณาดูน้ำนมดีและร้ายนั้น ให้เอาใส่ขันแล้วให้แม่นมนั้นหล่อนมองดู ถ้าสี และน้ำนมขาว ดังสีสังข์ และจมลงในขัน สัณฐานเหมือนดังลูกบัวเกาะ นมอย่างนี้ จัดเอาเป็นน้ำนมอย่างเอก ถ้าหล่อน้ำนมลง และน้ำนมนั้นกระจาย แต่ว่าขันจมลงถึงก้นขันแค่ไม่กลมเข้า น้ำนมอย่างนี้ จึงเอาเป็นน้ำนมอย่างโท ถ้าพ้นจากน้ำนม 2 ประการนี้แล้ว ถึงจะมีลักษณะประกอบไปด้วยยศ ศักดิ์ขาติตระกูลปานใดก็ดี ถ้ามีกุศลหนหลังยังติดตามบำรุงรักษา ไม่ให้เกิดโรคาพยาธิ รสน้ำนมนั้นเปรี้ยว ขม, ฝาด, จืด, จาง, และมีกลิ่นอันคาวนั้น ก็จัดเป็นน้ำนมโทษทั้งสิ้งดุจกล่าวมา นอกจากนี้ยังมีน้ำนมพิการอีก 3 จำพวก ถ้าให้กุมารบริโภคเข้าไป ดุจให้บริโภคยาพิษ จะบังเกิดโรคต่างๆ

5.สตรีมีโลหิต 5 ประการ โลหิตปกติโทษ

(สตรีมีโลหิตระดูปกติโทษ) 5 ประการ คือ สัตว์ที่จะมาปฎิสนธิ ในมาตุคัพโภทร (ในท้องมารดา) ก็เพราะโลหิตระดูบริบูรณ์

    1. ลักษณะโลหิตระดู บังเกิดแต่หทัย (หัวใจ)
    2. ลักษณะโลหิตระดู บังเกิดแต่ดี และตับ
    3. ลักษณะโลหิตระดู บังเกิดแต่เนื้อ
    4. ลักษณะโลหิตระดูบังเกิดแต่เส้นเอ็น
    5. ลักษณะโลหิตระดู บังเกิดแต่กระดูก

6.ลักษณะน้ำนมพิการ 3 จำพวก คือ

    1. สตรีขัดระดู 
    2. สตรีอยู่ไฟมิได้ และน้ำนมนั้นเป็นน้ำนมดิบ
    3. สตรีมีครรภ์อ่อน เป็นน้ำเหลือง ไหลหลั่งลงในน้ำเป็นสายโลหิตกับน้ำนมระคนกัน

ถ้าแพทย์จะพยาบาล ให้พึงพิจารณา โรคพยาธิและชาตินรลักษณ์ แห่งแม่นมนั้นก่อน ถ้าประกอบไปด้วยโทษประการหนึ่งประการใดก็ดี ให้ประกอบยา ประจะโลหิต และรุน้ำนม บำรุงธาตุ ให้โลหิตและน้ำนมนั้น บริบูรณ์ ก่อนจึงจะสิ้นโทษร้าย ถ้าน้ำนมลอยเรี่ยรายอยู่ไม่คุมกันเข้าได้ ท่านว่าเป็นเพราะโลหิตกำเริบ ให้แต่งยา ประจุโลหิตร้ายเสียก่อน โลหิตจึงจะงาม น้ำนมจึงจะบริบูรณ์

7.ลักษณะน้ำนมเป็นโทษ อีก 3 จำพวก

คือ มารดาอยู่ไฟมิได้ ท้องเขียวดังท้องค่าง ครั้นมารดาออกจากเรือนไฟแล้วให้กุมารดื่มน้ำนมเข้าไป ก็อาจให้เป็นโรคต่างๆ ด้วยดื่มน้ำนมเป็นโทษ 3 ประการ ดังนี้

    1. น้ำนมจาง สีเขียว ดังน้ำต้มหอยแมลงภู่
    2. น้ำนมจาง มีรสเปรี้ยว 
    3. น้ำนมเป็นฟองลอย

น้ำนมทั้ง 3 ประการนี้ย่อมเบียดเบียน กุมาร กุมารีทั้งหลาย ซึ่งได้บริโภคนั้นกระทำให้เกิดโรคต่างๆ บางทีกระทำให้ลงท้อง บางที่กระทำให้ท้องขึ้น บางที กระทำ ให้ตัวร้อน บางทีกระทำให้ปวดมวนในท้อง ทั้งนี้เป็นมลทินโทษแห่งน้ำนม เพราะน้ำนมดิบให้โทษเป็น 3 ประการดังนี้

พระอาจารย์ท่านกล่าวไว้ดังนี้ อันว่าแพทย์ทั้งหลายมิได้ถือเอาซึ่งพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ อิ่มไปด้วยโลภ ด้วยหลงมี ใจอันถือทิฐิมานะ อันว่าแพทย์ผู้นั้น ชื่อว่ามีตาอันบอดประกอบไปด้วยโทษ ด้วยประการดังนี้

แพทย์ผู้ใดมิได้เรียนซึ่งคัมภีร์ฉันทศาสตร์ มิได้รู้จักกำเนิดแห่งซาง และสรรพคุณยาทั้งหลาย ได้แก่ ตำราซึ่งท่านเขียนไว้ ก็นำไปเที่ยวรักษา ด้วยใจโลภ จะใคร่ได้ทรัพย์แห่งท่านประการ 1 ถือทิฐิมานะว่า ตัวรู้กว่า คนทั้งหลายประการหนึ่ง หลงใหลถือผิดเป็นชอบประการ 1 มีความโกรธแก่ท่านประการ 1 ทั้ง 4 ประการนี้ ท่านว่าเป็นหมอโกหก อย่างนี้ในเมืองโสฬสมหานคร ท่านจับเอาตัวมาฆ่าเสียเป็นอันมาก ท่านทั้งปวงพึงรู้เถิด ท่านว่าเป็นหมอโกหก อย่างนี้ในเมือง โสฬสมหานคร ท่านจับเอาตัวมาฆ่าเสียเป็นอันมาก ท่านทั้งปวงพึงรู้เถิด

อนึ่งแพทย์มิได้รู้จักกำเนิดแห่งโรคนั้น และวางยาให้ผิดแก่โรค มีดุจพระบาลีกล่าวไว้ ดังนี้

    1. วางยาผิดโรคครั้งหนึ่งดุจประหารด้วยหอก
    2. วางยาผิดโรคสองครั้งดุจเผาด้วยไฟ
    3. วางยาผิดโรคสามครั้งดุจต้องสายฟ้าฟาดคือฟ้าผ่า

อันว่า โรคจะกำเริบขึ้นกว่าเก่า ได้ร้อยเท่า พันเท่า อันว่าแพทย์ผู้นั้น ครั้นกระทำผิดซึ่งกาลกิริยาตายแล้ว ก็จะเอาไปปฏิสนธิในนรก

8.ครรภ์รักษา

สตรีทั้งปวงครรภ์ก็ตั้งขึ้น (มีครรภ์) ได้ 15 วันก็ดี หรือ 1 เดือนก็ดี จะแสดงให้ปรากฏแก่ คนทั้งหลายว่า ตั้งครรภ์มีเส้นเอ็นสีเขียวผ่านหน้าอก หัวนมก็ดำคล้ำขึ้น และตั้งขึ้น กับมีเม็ดครอบหัวนม แพทย์พึงรู้ว่า สตรีนั้นตั้งครรภ์แล้ว ในระหว่างตั้งครรภ์ ตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 10 เดือน มารดา มักจะมีโรคหรืออาการต่างๆ จึงมียาครรภ์รักษา ใช้รักษาและป้องกันไม่ให้มีการแท้ง หรือตกเลือดได้

9.ครรภ์วิปลาส

ว่าด้วยสาเหตุที่ทำให้ครรภ์ตกไป (เกิดการแท้งหรืออันตรธาน) มีอยู่ 4 ประการคือ

    1. สตรีมีครรภ์นั้น บังเกิดกามวิตกหนา ไปด้วยเตโชธาตุสมุฏฐาน ไฟราคะเผาผลาญแรงกล้าอยู่เป็นนิจ ทำให้ครรภ์นั้นตกไป (แท้ง) หรืออันตรธานไป(เพราะธาตุไฟกำเริบ)
    2. สตรีมีครรภ์ กินของที่ไม่ควรจะกินก็กิน กินของที่เผ็ดร้อนต่างๆ หรือของที่กินแล้ว ให้มีอาการ ลงท้อง หรือยาที่ให้แสลงโรคต่างๆ กินยาขับโดยตั้งใจ (เพราะธาตุน้ำกำเริบ)
    3. สตรีมีครรภ์มีจิตมากด้วยความโกรธแล้วทำร้ายตัวเอง หรือเป็นผู้หญิงปากร้าย ไม่รู้จักซึ่งโทษมีแก่ตน ใช้ถ้อยคำหยาบช้าด่าว่าสามีตนและผู้อื่น ถูกเขาทำโทษทุบถองโบยตี ด้วยกำลังแรงต่างๆ สตรีผู้นั้นก็เจ็บ ซึ่งครรภ์แห่งหญิงนั้นก็ตกไป
    4. สตรีมครรภ์ลูกถูกปีศาจทำโทษต่างๆ ครรภ์นั้นก็มิตั้งขึ้นได้ หรือต้องสาตราคมคุณไสยเขากระทำก็ดี ลูกที่อยู่ในครรภ์นั้นก็ตกไป

10.ครรภ์ปริมณฑล

ในระยะ 10 เดือน ที่สตรีตั้งครรภ์ย่อมมีโรคภัยไข้เจ็บ เกิดขึ้นได้จัดยา ไว้สำหรับแก้ไข้ แก้บิดมูกเลือด แก้ลมวิงเวียนหน้ามืด แก้ไข้ร้อนๆหนาวๆ ระส่ำระสาย ลิ้นกระด้างคางแข็ง ยาสำหรับครรภ์ 7-8 เดือน กุมารไม่ดิ้น ยาให้คลอดง่าย และยาชักมดลูก เป็นต้น

11.ครรภ์ประสูติ

ว่าด้วยทารกคลอดจากครรภ์มารดา ด้วยอำนาจแห่งลม กัมมัชวาตพัดกำเริบ ให้เส้นและเอ็นที่รัดตัว กุมารไว้คลาย ออกพร้อมก็ให้ศีรษะกลับลงเบื้องต่ำ ฤกษ์ยามดี แล้วก็คลอด จากครรภ์มารดา เรียกว่า ตกฟาก และในระยะปฐมวัย ตั้งแต่ทารกรู้ชันคอ จนถึงระยะรู้ย่าง รู้เดิน ก็จะมีลักษณะสำรอก 7 ประการ และระยะ ดังกล่าวก็จะมีโรคเกิดกับทารกอยู่ก่อน แล้ว มีโรคอื่นจรมาแทรกมาทับ เรียกโรคทับ 8 ประการ

12.ดวงซาง

เกิดซาง 9 จำพวก เกิดขึ้นจรในกินไส้พุง ตับ ปอด และหัวใจ

    1. ซางฝ้าย เกิดในลิ้น ในปาก เป็นซางจรมาแทรกซางน้ำเจ้าเรือน
      ลักษณะ เป็นฝ้าขาวดาดไปเป็นเหมือนวงฝ้ายมีใยดุจสำลี ขึ้นที่เพดาน กระพุ้งแก้ม ไรฟัน และที่ลิ้น อาการ ให้ปากร้อน,ปากแห้ง,น้ำลายแห้ง,หุบปากไม่ลง,อ้าปากร้อง,อาหารไม่ได้ อาเจียนเป็นกำลัง, ให้ท้องเดิน, กลิ่นเหม็นดังไข่เน่า ซางฝ้ายทำโทษ กำหนด 6 เดือน รวมกับซางน้ำเจ้าเรือน ถึงอายุ 2 ขวบ 15 วัน
    2. ซางขุม กลางลิ้นนั้นขึ้นซีดขาว
    3. ซางข้าวเปลือก เกิดในลิ้น ในปาก ดังลิ้นวัว
    4. ซางข้าว ดวงดังนี้
    5. ซางควาย ดวงดังนี้
    6. ซางม้า ดวงดังนี้ ครั้นถึง 2 วันติดกันเข้ามา มีสีดำ เขียวร้ายนัก
    7. ซางช้าง ดวงดังนี้ ถ้าหวำและกลางแดง มักให้ลงท้อง
    8. ซางโจร ดวงดังนี้ มักขึ้นในไส้พุง และหัวตับ กระดูกสันหลัง ครั้นแก่นานหนัก ขึ้นมาดังดอกบุก
    9. ซางไฟ ถ้าขึ้นกลางลิ้นนั้น ลิ้นดำและริมแดง ร้ายนัก

13.ลักษณะซาง

    1. ซางโจร ขึ้นยอดดำเชิงแดง ขึ้นที่ต้นกรามทั้งสองข้าง ให้ลงท้องแต่ในเขตอายุ 1 เดือน ไปจนถึง 10 เดือน ให้ลงท้องเป็นดังส่าเหล้า ถ้าขึ้นตับ ถ่ายอุจจาระดำ ออกมา ขึ้นในไส้อ่อน ( ลำไส้เล็ก) ให้ถ่ายอุจจาระสีเขียวดังใบไม้ ถ้าขึ้นในให้หลังโกง และขัดปัสสาวะ มักให้เป็นนิ่ว ( นิ่วซาง) ให้ ปัสสาวะขาวดุจน้ำปูน
    2. ซางนิล ซางนี้มาเกิดในกระหม่อม แล้วลงมาเกิดขึ้นในเพดานยอด 1 หรือ 3 ยอด 4 ยอด ครั้นได้ 2 เดือน 3 เดือน ก็กระจายออกมาขึ้นเหงือก และกรามทั้ง 2 ข้าง ให้เจ็บปวด มีพิษทั่วไป

 

Scroll to top