สีผสมอาหารจากธรรมชาติ

การปรุงรสและตบแต่งอาหารอย่างเหมาะสม  ทำให้อาหารที่ได้มีลักษณะและรสชาติที่ชวนรับประทานอาหารของไทยทั้งคาวและหวาน  นิยมปรุงแต่งสีให้ดูสวยงาม  แต่เดิมสีที่ใช้ในการปรุงแต่งอาหารส่วนใหญ่ได้ สีผสมอาหารจากธรรมชาติ คือได้จาก  ส่วนดอก  ผล  แก่น  ใบ  เหง้า  และบางครั้งก็ได้จากสัตว์  ในระยะหลังมีสีสังเคราะห์เกิดขึ้น  จึงได้มีการนำสีสังเคราะห์มาใช้ในการปรุงอาหารกันมากขึ้น  สีสังเคราะห์ที่ใช้ผสมอาหารได้จากการสังเคราะห์สานเคมีทางวิทยาศาสตร์ผ่านการค้นคว้าทดลองปรากฏว่า  หลายชนิดเป็นอันตรายต่อคนในระยะยาว  เรื่องนี้ในหลายประเทศ  เช่น  สหรัฐอเมริกา  ญี่ปุ่น  และประเทศในยุโรปได้มีการค้นคว้าเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง  พร้อมทั่งสั่งระงับการใช้สีสังเคราะห์หลายชนิดที่ตรวจพบว่าเป็นอันตรายต่อคนทั้งระยะสั้นและระยะยาว

ในเมืองไทย  จากการสุ่มตัวอย่างอาหารหลายชนิด  เช่น ไส้กรอก น้ำปลา ข้าวเกรียบกุ้ง กุ้งแห้ง หรือขนมสำหรับเด็กตรวจแล้วพบว่าอาหารบางอย่างใส่สีผสมอาหารที่ไม่ถูกต้องตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข  เช่น  ใส่สีย้อมผ้าอยู่บ่อยครั้ง  เพราะสีย้อมผ้าราคาถูก  ใส่เพียงเล็กน้อยสีก็จะเด่นชัดขึ้นมา  สีสังเคราะห์จะเป็นอันตายต่อผู้บริโภค  ยางคนรับประทานเข้าไปอาจะเกิดแพ้สีอาการคล้ายแพ้ยาแอสไพริน คือ คลื่นไส้ อาเจียน มีริมผีปากดำ ถ้าเป็นสีผสมสารหนูคนไข้จะมีอาการน้ำลายฟูมปาก  หายใจไม่ออก  สีที่มีตะกั่ว  คนไข้ที่แพ้หรือรับประทานเข้าไปมากจะทำให้โลหิตจาง  ร่างกายอ่อนเพลีย  กล้ามเนื้อหมดกำลัง อาจพิการสมองอาจถูกกระทบกระเทือนไปด้วย

สีผสมอาหารที่เป็นสีสังเคราะห์ไม่ควรใช้เลย  เพราะบางตัวถ้าใช้บ่อยและปริมาณมาก  อาจทำให้เกิดพิษได้  เนื่องจากสีนั้นอาจจะไปเกาะหรือเคลือบตามเยื่อบุกระเพราะลำไส้  ทำการดูดซึมของกระเพาะลำไส้ไม่มีประสิทธิภาพ  เกิดอาการท้องเดิน  อ่อนเพลีย  ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ  น้ำหนักลด  ชีพจร  และการหายใจอ่อน  ถ้าเป็นมากประสาทและสมองเป็นอัมพาต  อาจเป็นมะเร็งในต่อมน้ำเหลือง  และในที่อื่นๆ

การควบคุมยังทำไม่ทั้งถึง  จึงทำให้ในท้องตลาดมีอาหารที่ผสมด้วยสีที่เป็นอันตรายหลายอย่างในฐานะที่เราเป็นผู้บริโภคจึงควรเลือกอาหารที่สาสีผสมอาหารจากธรรมชาติเป็นอันดับรกหรือเลือกอาหารที่ไม่ใส่สี  หากทำอาหารรับประทานเอง  ควรใช้สีจากธรรมชาติ  เพราะจะได้อาหารที่มีความปลอดภัย  ความสะอาด  และประหยัดอีกด้วย  สีผสมอาหารจากธรรมชาติที่จะแนะนำในที่นี้นั้น  เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสีจากธรรมชาติและมีการใช้กันมามาก  สามารถลือกสามารถเลือกใช้ได้ตามชนิของอาหารและความชอบ

สีผสมอาหารจากธรรมชาติ

กระเจี๊ยบแดง

ส่วนที่ใช้ : กลีบเลี้ยง

วิธีใช้ : ใช้กลีบเลี้ยงแห้งหรือสด  ต้มกับน้ำเคี่ยวให้สีแดงออกมามากที่สุด  กรองเอากากที่เหลือออกโดยผ้าขาวบางบีบน้ำออกจากกลีบให้หมด  น้ำกระเจี๊ยบที่ได้สีแดงเข้ม (สาร Anthocyanin) นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ  หรือนำไปเติมน้ำตาล  เกลือเล็กน้อยปรุงเป็นเครื่องดื่มก็ได้


ขมิ้น

ส่วนที่ใช้ : เหง้าดิน

วิธีใช้ : ใช้เหง้าสด  ล้างน้ำ  ปอกเปลือก  บดหรือตำให้ละเอียด  เติมน้ำเล็กน้อย  คั้นกรองจะได้น้ำสีเหลืองเข้ม (สาร  Curcumin)  นำไปแต่งสีอาหารคาวเช่น  แกงกะหรี่  ข้าวหมกไก่  แกงเหลือง  อาหารหวาน  เช่น  ข้าวเหนียวเหลือง  ทำให้มีสีเหลืองน่ากิน


คำฝอย

ส่วนที่ใช้ : ดอกแก่

วิธีใช้ : เอาดอกแก่มาชงน้ำร้อน กรอง จะได้น้ำสีเหลืองส้ม (สาร  saffower  yellow) ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง


คำแสด

ส่วนที่ใช้ : เมล็ด

วิธีใช้ : นำเมล็ดมาแช่น้ำแล้วคนแรงๆ  หรือนำเมล็ดคำแสดมาบดแล้วแช่น้ำ  กรองเอาเมล็ดออกด้วยผ้าขาวบางตั้งไว้ให้สีตกตะกอน  รินน้ำใสทิ้ง  นำตะกอนสีแสด (สาร  BIXIN)  ที่ได้ไปแต่งสีอาหารประเภทไขมัน  เช่น  ฝอยทอง  เนย  ไอศกรีม  และยังใช้ย้อมผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมได้ด้วย องค์การอนามัยโลก กำหนดให้รับประทานสีที่สกัดจากเมล็ดคำแสดได้ไม่เกิน  0.065  มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว  1  กิโลกรัม  ต่อ  1  วัน


เตย

 ส่วนที่ใช้ : ใบสด

วิธีใช้ : นำใบเตยสดที่สะอาดหั่นตามขวางโขลก  เติมน้ำเล็กน้อย  คั้น  กรอง  ผ่านผ้าขาวบาง  จะได้น้ำสีเขียว (santophyll  และ  chlorophyll)  มีกลิ่นหอม  ใช้แต่งสีอาหารคาวและหวานได้  นิยมใช้แต่สีอาหารหวาน  เช่น  ลอดช่อง  ขนมเปียกปูน วุ้นกะทิ น้ำเก๊กฮวย  เค้ก  เป็นต้น  บางทีก็เอาใบมาโขลกพอแหลก  ต้มกับน้ำใส่น้ำตาลเล็กน้อย  ทำเป็นชาใบเตย  มีสีเขียว  กลิ่นหอมชื่นใจ


ฝาง

ส่วนที่ใช้ : แก่น

วิธีใช้ : นำแก่นมาแช่น้ำ จะได้น้ำสีชมพูเข้ม (sappan red) ใช้สีแต่งอาหารได้


อัญชัน

ส่วนที่ใช้ : ดอกสด

วิธีใช้ : ใช้กลีบดอกสด ตำ เติมน้ำเล็กน้อย  กรองด้วยผ้าขาวบาง  คั้นน้ำออก จะได้น้ำสีน้ำเงิน (Anthocyanin)  ถ้าเติมน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อย  จะกลายเป็นสีม่วง  ใช้แต่งสีอาหารตามต้องการ  มักนิยมใช้แต่งสีน้ำเงินของขนมเรไร  ขนมน้ำดอกไม้  ขนมขี้หนู

จุลพิกัด

จุลพิกัด

จุลพิกัด จุลพิกัด คือ จำกัดตัวยาน้อยอย่าง หรือพิกัดที่เรียกชื่อตรงตามตัวยา มักจะเป็นตัวยาอย่างเดียวกัน หรือส่วนมากมีตัวยาเพียง 2 อย่างเท่านั้น แต่เป็นตัวยาชนิดเดียวกัน ต่างกันที่ขนาด ต่างกันที่สี ต่างกันที่รส ต่างกันที่ชนิด (เพศผู้ – เพศเมีย) ต่างกันจากถิ่นที่เกิด ตัวอย่างเช่น พวกที่ต่างกันที่ขนาด 1 กระพังโหมทั้ง 2 คือ กระพังโหมน้อย กระพังโหมใหญ่ 2 ข่าทั้ง 2 คือ ข่าเล็ก ข่าใหญ่ 3 ตับเต่าทั้ง 2 คือ ตับเต่าน้อย ตับเต่าใหญ่ 5 เปล้าทั้ง 2 คือ เปล้าน้อย เปล้าใหญ่ 5 เร่วทั้ง 2 คือ เร่วน้อย เร่วใหญ่ 6 ส้มกุ้งทั้ง 2 คือ ส้มกุ้งน้อย...Continue reading

พิกัดยา 2 สิ่ง

พิกัดยา 2 สิ่ง 1)  พิกัดทเวคันธา  (ทเวสุคนธ์)  คือ  จำกัดจำนวนตัวยาที่มีกลิ่นหอม 2 อย่างคือ รากบุนนาค ขับลมในลำไส้ รากมะซาง แก้โลหิต  แก้กำเดา 2)  พิกัดทเวติคันธา คือ  จำกัดจำนวนตัวยาที่มีกลิ่นหอม  3  อย่างในยา 2 สิ่ง คือ ดอกบุนนาค บำรุงโลหิตแก้กลิ่นเหม็นสาบสางในร่างกาย แก่นบุนนาค แก้รัตตะปิตตะโรค รากบุนนาค ขับลมในลำไส้ ดอกมะซาง ทำใจให้ชุ่มชื่นชูกำลัง แก่นมะซาง แก้คุดทะราด  แก้เสมหะ  แก้ไข้สัมประชวร รากมะซาง แก้โลหิต แก้กำเดาContinue reading

พิกัดยา 3 สิ่ง

พิกัดยา  3  สิ่ง คือ การจำกัดจำนวนตัวยา 3 อย่าง 1)  พิกัดตรีผลา คือ จำกัดจำนวนผลไม้ 3 อย่าง คือ ลูกสมอพิเภก ลูกสมอไทย ลูกมะขามป้อม สรรพคุณ  แก้ปิตตะวาตะ  สมหะในกองธาตุ  ฤดู  อายุ  และกองสมุฏฐาน 2)  พิกัดตรีกฏุก  คือ จำกัดจำนวนตัวยาที่มีรสเผ็ดร้อน  3  อย่าง คือ เหง้าขิงแห้ง เมล็ดพริกไทย ดอกดีปลี สรรพคุณ แก้วาตะเสมหะ ปิดตะวาตะในกองธาตุ ฤดู อายุ และกองสมุฏฐาน 3)   พิกัดตรีสาร  คือ จำนวนตัวยาที่ให้คุณในฤดูหนาว  3  อย่าง คือ รากเจตมูลเพลิง เถาสะค้าน รากช้าพลู สรรพคุณ แก้วาตะเสมหะ ปิดตะวาตะในกองธาตุ ฤดู อายุ  และกองสมุฏฐาน...Continue reading

พิกัดยา 4 สิ่ง

พิกัดยา 4 สิ่ง

พิกัดยา  4  สิ่ง 1)  พิกัดจตุกาลธาตุ   คือ  จำนวนตัวยาแก้ธาตุตามเวลา  4  อย่าง  คือ หัวว่านน้ำ รากเจตมูลเพลิง รากแคแตร รากนมสวรรค์ สรรพคุณ  แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ แก้จุกเสียด แก้เสมหะ แก้โลหิตในท้อง ขับลมในท้อง แก้ไข้ 2) พิกัดจตุทิพคันธา  คือ  จำนวนยาที่มีกลิ่นหอมดังกลิ่นทิพย์  4  อย่าง คือ รากมะกล่ำเครือ รากชะเอมเทศ ดอกพิกุล เหง้าขิงแครง สรรพคุณ  บำรุงธาตุ  บำรุงหัวใจ  แก้เสมหะ  แก้ลมปั่นป่วน  แก้พรรดึก 3) พิกัดจตุผลาธิตะ  คือ  จำนวนผลไม้ให้คุณ  4  อย่าง คือ ลูกสมอไทย ลูกสมอภิเภก ลูกมะขามป้อม ลูกสมอเทศ สรรพคุณ  ถ่ายไข้  ถ่ายลมแก้โรคตา  บำรุงธาตุ  ผายธาตุ ...Continue reading

พิกัดยา 5 สิ่ง

พิกัดยา  5  สิ่ง 1) พิกัดเบญจกูล  คือ  จำกัดจำนวนตระกูลยา (เครื่องยา) ที่มีรสร้อน 5 อย่าง คือ ดอกดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง เหง้าขิงแห้ง สรรพคุณ  กระจายกองลมและโลหิต แก้คูถเสมหะ แก้ลมพานไส้ บำรุงกองธาตุทั้ง 4 2)  พิกัดเบญจอมฤต  คือ  จำกัดตัวยาดังน้ำทิพย์ 5 อย่าง คือ น้ำนมสด น้ำนมส้ม น้ำอ้อย น้ำผึ้ง น้ำมันเนย สรรพคุณ   บำรุงกำลัง  บำรุงธาตุไฟ  ขับลมให้แล่น ทั่วกาย  แก้ไข้ตรีโทษ  ผายธาตุ  แก้กำเดาและลม  กระจายเสมหะ 3)  พิกัดเบญจผลธาตุ  คือ  จำกักจำนวนตัวยาที่แก้ผลธาตุได้  5  อย่าง คือ หัวกกลังกา หัวเต่าเกียด หัวแห้วหมู หัวหญ้าชันกาด...Continue reading

พิกัดยา 7 สิ่ง

พิกัดยา  7  สิ่ง 1) พิกัดสัตตะเขา  คือ  กำหนดจำนวนเขาสัตว์  7  อย่าง  คือ เขาวัว เขาควาย เขากระทิง เขากวาง เขาแพะ เขาแกะ เขาเลียงผา สรรพคุณ  ดับพิษ ถอนพิษ ถอนพิษผิดสำแดง แก้พิษไข้ร้อน ไข้พิษไข้กาฬ 2) พิกัดสัตตะปะระเหมะ คือ จำกัดจำนวนตัวยาแก้เมือกมัน  เสมหะมีกลิ่น 7 อย่าง คือ ต้นตำแยตัวผู้ ต้นตำแยตัวเมีย ต้นก้นปิด ลูกกระวาน โกฐกระดูก ลูกรักเทศ ตรีผลาวะสัง สรรพคุณ  ชำระมลทินโทษให้ตก  แก้อุจจาระธาตุลามก  ชำระเมือกมันในลำไส้ แก้ปะระเมหะ  20 ประการ 3) พิกัดสัตตะโลหะ  คือ  จำกัดจำนวนตัวยาที่มีชื่อเป็นทอง  7  อย่าง คือ รากทองกวาว รากทองหลางหนาม รากทองหลางใบมน...Continue reading

พิกัดยา 9 สิ่ง

พิกัดยา 9 สิ่ง 1)  พิกัดเนาวหอย  คือ  จำกัดจำนวนหอย 9 อย่าง คือ เปลือกหอยกาบ เปลือกหอยขม เปลือกหอยแครง เปลือกหอยนางรม เปลือกหอยพิมพการัง เปลือกหอยตาวัว เปลือกหอยจุ๊บแจง เปลือกหอยมุก เลือกหอยสังข์ สรรพคุณ  ขับลมในลำไส้  และล้างลำไส้ แก้โรคกระษัย  แก้ไตพิการ  ขับนิ่ว  ขับปัสสาวะ บำรุงกระดูก 2)  พิกัดเนาวเขี้ยว  คือ  จำกัดจำนวนเขี้ยวสัตว์ 9 อย่าง คือ เขี้ยวหมูป่า เขี้ยวหมาป่า เขี้ยวหมี เขี้ยวเสือ เขี้ยวช้าง (งาช้าง) เขี้ยวแรด เขี้ยวเลียงผา เขี้ยวจระเข้ไข้กาฬ เขี้ยวปลาพะยูน สรรพคุณ  รสจืด  คาวเย็น  ใช้ดับพิษในกระดูก  ในข้อในเส้นเอ็น  รวมถึงการบวมภายนอก  แก้พิษร้อน  ถอนพิษไข้  ดับพิษ  แก้ไข้พิษ  ไข้กาฬตักศิลา...Continue reading

พิกัดยา  10  สิ่ง

พิกัดยา  10  สิ่ง 1) พิกัดทศกุลาผล  คือ  กำหนดจำนวนยาเป็นตระกูล  10  อย่าง คือ ลูกผักชีทั้ง 2    (ผักชีล้อม – ผักชีลา) ลูกเร่วทั้ง   2    (เร่วน้อย – เร่วใหญ่) ชะเอมทั้ง  2     (ชะเอมไทย – ชะเอมเทศ) ลำพันทั้ง   2    (ลำพันแดง – ลำพันขาว) อบเชยทั้ง  2    (อบเชยไทย – อบเชยเทศ) สรรพคุณ แก้ไข้เพื่อดีและเสหะ ขับลมในลำไส้ บำรุงธาตุ บำรุงปอด แก้รัตตะปิตตะโรค  แก้ลมอัมพฤกษ์อัมพาต  บำรุงกำลัง  แก้ไข้  บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น 2)  พิกัดทศมูลใหญ่  คือ  กำหนดจำนวนรากไม้ 10 อย่าง คือ (รวมเบญจมูลน้อย และเบญจมูลใหญ่เข้าด้วยกัน) หญ้าเกล็ดหอยน้อย หญ้าเกล็ดหอยใหญ่...Continue reading

พิกัดพิเศษ

พิกัดพิเศษ

พิกัดพิเศษ 1)  พิกัดโกฐพิเศษ  คือ  กำหนดจำนวนโกฐพิเศษ  3  อย่าง คือ โกฐกะกลิ้ง โกฐกักกรา โกฐน้ำเต้า สรรพคุณ  แก้โรคในปากในคอ ขับพยาธิ แก้พิษสัตว์กัดต่อย แก้ไข้ในกองอติสาร  ขับลมในลำไส้ แก้หนองใน ขับระดูร้าย แก้ริดสีดวงทวาร 2)  พิกัดเทียนพิเศษ คือ กำหนดจำนวนเทียนพิเศษ 3 อย่าง คือ เทียนลวด หรือ เทียนหลอด เทียนขม เทียนแกลบ สรรพคุณ  แก้ลม  เสมกะดีละคนกัน  แก้พิษโลหิต  แก้ดีพิการ  แก้ลมขึ้นเบื้องสูง  ทำให้หูอื้อตาลาย  แก้ไข้  แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว  แก้ลม 3)  พิกัดบัวพิเศษ  คือ  จำกัดจำนวนดอกบัวพิเศษ  6  อย่าง คือ บัวหลวงแดง บัวหลวงขาว บัวสัตตบงกชแดง บัวสัตตบงกชขาว บัวเผื่อน บัวขม...Continue reading

มหาพิกัดตรี (ยา 3 สิ่ง)

มหาพิกัดตรี (ยา 3 สิ่ง)

มหาพิกัดตรี (ยา  3  สิ่ง) มหทพิกัดตรีผลา ตรีผลาเป็นพิกัดยาในคิมหันตฤดู (ฤดูร้อน) ถ้าจะใช้แก้ในสมุฏฐานต่างๆ จะใช้ส่วนของตัวยาในพิกัดแตกต่างกัน  ดังนี้ 1) มหาพิกัดตรีผลา ถ้าจะแก้เสมหะสมุฏฐาน มีส่วนและตัวยาดังนี้ ลูกสมอภิเภก              8        ส่วน     (ปิตตะ) ลูกสมอไทย               4        ส่วน     (วาตะ) ลูกมะขามป้อม            12      ส่วน     (เสมหะ) 2) มหาพิกัดตรีผลา ถ้าจะแก้ปิตตะสมุฏฐาน มีส่วนและตัวยาดังนี้ ลูกสมอภิเภก              12      ส่วน     (ปิตต) ลูกสมอไทย               8        ส่วน     (วาตะ) ลูกมะขามป้อม            4        ส่วน     (เสมหะ) 3) มหาพิกัดตรีผลา ถ้าจะแก้วาตะสมุฏฐาน มีส่วและตัวยาดังนี้ ลูกสมอภิเภก              4        ส่วน     (ปิตต) ลูกสมอไทย               12      ส่วน     (วาตะ) ลูกมะขามป้อม            8        ส่วน     (เสมหะ)...Continue reading

Scroll to top