ประวัติการแพทย์แผนโบราณในประเทศไทย

การแพทย์แผนโบราณสมัยก่อนรัตนโกสินทร์

               ประวัติการแพทย์แผนโบราณในประเทศไทยนั้น ได้มีการค้นพบศิลาจารึกของอาณาจักรขอมประมารปี  พ.ศ. 1725-1729 ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลโดยการสร้างสถานพยาบาล เรียกว่า “อโธคยาศาลา” โดยมีผู้ทำหน้าที่รักษาพยาบาล ได้แก่ หมอ พยาบาล เภสัชกร รวม 92 คน มีพิธีกรรมบวงสรวงพระไภสัชยคุรุไวฑูรย์ ด้วยยาและอาหารก่อนแจกจ่ายไปยังผู้ป่วย ต่อมามีการค้นพบหินบดยาสมัยทวาราวดีและศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในสมัยสุโขทัยได้บันทึกไว้ว่าทรงสร้างสวนสมุนไพรขนาดใหญ่บนเขาหลวงหรือเขาสรรพยา เพื่อให้ราษฏรได้เก็บสมุนไพรไปใช้รักษาโรคยามเจ็บป่วย

               ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้ค้นพบบันทึกว่า มีระบบการจัดหายาที่ชัดเจนสำหรับราษฏร มีแหล่งจำหน่ายยาและสมุนไพรหลายแห่งทั้งในและ นอกกำแพงเมือง มีการรวบรวมตำรับยาต่างๆ   ขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การแพทย์โบราณ เรียกว่า “ตำราพระโอสถพระนารายณ์” การแพทย์แผนโบราณมีความรุ่งเรืองมากโดยเฉพาะการนวด ในสมัยนี้การแพทย์แผนตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาท โดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสเข้ามาจัดตั้ง โรงพยาบาลรักษาโรค แต่ขาดความนิยมจึงได้ล้มเลิกไป

การแพทย์แผนโบราณในสมัยรัตนโกสินทร์

               รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม หรือ “วัดโพธิ์” ขึ้นเป็นพระอารามหลวง ให้ชื่อว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม” ทรงให้มีการรวบรวมและจารึกตำรายา ฤๅษีดัดตน ตำราการนวดไว้ตามศาลารายส่วนการจัดหายาของทางราชการมีการจัดตั้งกรมหมอและโรงพระโอสถคล้ายกับในสมัยอยุธยา แพทย์ที่รับราชการ เรียกว่า “หมอหลวง” ส่วนหมอที่รักษาราษฎรทั่วไป เรียกว่า  “หมอราษฎร” หรือ “หมอเชลยศักดิ์

               รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเห็นว่าคัมภีร์แพทย์โรงพระโอสถสมัยอยุธยานั้นสูญหายไป เนื่องจากตอนนั้นมีสงครามกับพม่า 2 ครั้ง บ้านเมืองถูกทำลายและราษฎรรวมทั้งหมอแผนโบราณถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย ทำให้ตำรายาและข้อมูล เกี่ยวกับการแพทย์ของไทยถูกทำลายไปด้วย จึงมีพระบรมราชโองการให้เหล่า ผู้ชำนาญโรคและสรรพคุณยา รวมทั้งผู้ที่มีตำรายานำเข้ามาถวายและให้กรมหมอหลวงคัดเลือก    ให้จดเป็นตำราหลวงสำหรับโรงพระโอสถ และในปี พ.ศ.2359 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎหมายชื่อว่า  “กฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย

               รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามอีกครั้ง ทรงโปรดเกล้าฯให้มีการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์แผนโบราณแห่งแรก คือ “โรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์” ในงานฉลองวัดโพธิ์สมัยนั้น ทรงดำริว่าอันตำรายาไทยและการรักษาโรคแบบอื่นๆ เช่น การบีบนวด ประคบ หมอที่มีชื่อเสียงต่างก็หวงตำราของแต่ละคนไว้เป็นความลับ  ตลอดจนทรงดำริว่า การรักษาโรคทางตะวันตกกำลังแผ่อิทธิพลลงเข้ามาในประเทศสยาม และในเวลาอันใกล้น่าจะบดบังรัศมีของการแพทย์แผนโบราณเสียหมดสิ้น สุดท้ายอาจไม่มีตำรายาไทยเหลืออยู่เพื่อประโยชน์ของอนุชนรุ่นหลังก็ได้ จึงทรงประกาศให้ผู้มีตำรับตำรายาโบราณทั่งหลายที่มีสรรพคุณดีและเชื่อถือได้ เท่าที่มีอยู่สมัยนั้น นำมาจารึกเป็นหลักฐานไว้บนหินอ่อน ประดับไว้บนผนังพระอุโบสถ   ศาลาราย เสา และกำแพงวิหารคดรอบพระเจดีย์สี่องค์และตามศาลาต่างๆ ของวัดโพธิ์ ที่ปฏิสังขรณ์ในครั้งนั้น การจารึกนี้เป็นตำราบอกสมุฏฐานของโรคและวิธีการรักษา และยังได้มีการจัดหาสมุนไพรที่ใช้ปรุงยาและหายากมาปลูกไว้ในวัดโพธิ์เป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นได้ทรงให้ปั้นรูปฤาษีดัดตนในท่าต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้ประสงค์จะฝึกตนเป็นแพทย์ หรือหาทางบำบัดตนได้ศึกษาเป็นสาธารณะทาน นับว่าเป็นการจัดการศึกษาให้กับประชาชนรูปแบบหนึ่ง ตำรายาเหล่านี้พอจะทราบกันดีในบรรดาหมอไทยว่า ตำรายาดีจริงๆนั้น คงไม่ได้รับการเปิดเผยอย่างแท้จริง แต่ก็เป็นอนุสรณ์และเป็นโรงเรียนการแพทย์ของเมืองไทย รัชสมัยนี้มีการนำเอาการแพทย์แผนตะวันตกเข้ามาเผยแพร่โดยคณะมิชชันนารีชาวอเมริกัน โดยการนำของนายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ ซึ่งคนไทยเรียกว่า “หมอบรัดเลย์” เช่น การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ การใช้ยาเม็ดควินินรักษาโรคไข้จับสั่น เป็นต้น

               รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้นำการแพทย์แผนตะวันตกมาใช้มากขึ้น เช่น  การสูติกรรมสมัยใหม่ แต่ไม่สามารถให้ประชาชนเปลี่ยนความนิยมได้  เพราะการรักษาพยาบาลแผนโบราณของไทย    เป็นจารีตประเพณีและวัฒนธรรมสืบเนื่องกันมาและเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของไทย

               รัชกาลที่ 5  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการจัดตั้งศิริราชพยาบาลใน พ.ศ.2431    มีการเรียนการสอนและให้การรักษาทั้งการแพทย์ทั้งแผนโบราณและ แผนตะวันตกร่วมกันหลักสูตร 3 ปี การจัดการเรียนการสอนและบริการรักษาทางการแพทย์ ทั้งแผนโบราณและแผนตะวันตกร่วมกันเป็นไปด้วยความยากลำบาก มีการขัดแย้งระหว่างผู้สอนและผู้เรียนเป็นอย่างมาก ด้วยหลักการแนวคิด  และวิธีการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน  ทำให้ยากที่จะผสมผสานกันได้ มีการพิมพ์ตำราแพทย์สำหรับใช้ในโรงเรียนแพทย์เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2438    โดยพระยาพิษณุ ชื่อตำรา “แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์” ได้รับยกย่องให้เป็นตำราแห่งชาติฉบับแรก ต่อมาพระยาพิษณุประสาทเวชเห็นว่า ตำราเหล่านี้ยากแก่ผู้ศึกษาจึงได้พิมพ์ตำราขึ้นใหม่ ได้แก่ ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง 2 เล่ม  และตำราแพทย์ศาสตร์สังเขป 3 เล่ม ซึ่งยังคงใช้เป็นตำราทางการแพทย์มาจนทุกวันนี้

               รัชกาลที่ 6   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการสั่งยกเลิกวิชาการแพทย์แผนโบราณ และต่อมาในปี พ.ศ. 2466 มีประกาศให้ใช้พระราชบัญญัติการแพทย์เป็นการ ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับประชาชน อันเนื่องมาจากการประกอบโรคศิลปะของผู้ที่ไม่มีความรู้และมิได้ฝึกหัด ด้วยความไม่พร้อมในด้านการเรียนการสอน การสอบ และการประชาสัมพันธ์ ทำให้หมอพื้นบ้านจำนวนมากกลัวถูกจับจึงเลิกประกอบอาชีพนี้ บ้างก็เผาตำราทิ้ง

               รัชกาลที่ 7   พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ตรากฎหมายเสนาบดี แบ่งการประกอบโรคศิลปะออกเป็น “แผนปัจจุบัน” และ “แผนโบราณ” โดยกำหนดไว้ว่า

  1. ประเภทแผนปัจจุบัน คือ ผู้ประกอบโรคศิลปะโดยความรู้จากตำราอันเป็นหลักวิชาโดยสากลนิยม ซึ่งดำเนินและจำเริญขึ้น โดยอาศัยการศึกษา ตรวจค้น และทดลองของผู้รู้ในทางวิทยาศาสตร์ทั่วโลก
  2. ประเภทแผนโบราณ คือ ผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัย ความสังเกต ความชำนาญ  อันได้สืบต่อกันมาเป็นที่ตั้ง หรืออาศัยตำราอันมีมาแต่โบราณ มิได้ดำเนินไปในทางวิทยาศาสตร์

               รัชกาลที่ 9  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในรัชสมัยนี้มีการจัดตั้งสมาคมของโรงเรียนแพทย์แผนโบราณ ได้ก่อตั้งขึ้นที่วัดโพธิ์ กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2500 นับนั้นมาสมาคมต่างๆ ก็ได้แตกสาขาออกไป ปัจจุบันก็มีโรงเรียนแพทย์แผนโบราณที่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งในกรุงเทพฯ   และต่างจังหวัด ใน ปี พ.ศ.2525 ได้ก่อตั้งโรงเรียนอายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์) ให้การอบรมศึกษาด้านการแพทย์แผนโบราณแบบประยุกต์มาจนกระทั่งทุกวันนี้

จุลพิกัด

จุลพิกัด

จุลพิกัด จุลพิกัด คือ จำกัดตัวยาน้อยอย่าง หรือพิกัดที่เรียกชื่อตรงตามตัวยา มักจะเป็นตัวยาอย่างเดียวกัน หรือส่วนมากมีตัวยาเพียง 2 อย่างเท่านั้น แต่เป็นตัวยาชนิดเดียวกัน ต่างกันที่ขนาด ต่างกันที่สี ต่างกันที่รส ต่างกันที่ชนิด (เพศผู้ – เพศเมีย) ต่างกันจากถิ่นที่เกิด ตัวอย่างเช่น พวกที่ต่างกันที่ขนาด 1 กระพังโหมทั้ง 2 คือ กระพังโหมน้อย กระพังโหมใหญ่ 2 ข่าทั้ง 2 คือ ข่าเล็ก ข่าใหญ่ 3 ตับเต่าทั้ง 2 คือ ตับเต่าน้อย ตับเต่าใหญ่ 5 เปล้าทั้ง 2 คือ เปล้าน้อย เปล้าใหญ่ 5 เร่วทั้ง 2 คือ เร่วน้อย เร่วใหญ่ 6 ส้มกุ้งทั้ง 2 คือ ส้มกุ้งน้อย...Continue reading

พิกัดยา 2 สิ่ง

พิกัดยา 2 สิ่ง 1)  พิกัดทเวคันธา  (ทเวสุคนธ์)  คือ  จำกัดจำนวนตัวยาที่มีกลิ่นหอม 2 อย่างคือ รากบุนนาค ขับลมในลำไส้ รากมะซาง แก้โลหิต  แก้กำเดา 2)  พิกัดทเวติคันธา คือ  จำกัดจำนวนตัวยาที่มีกลิ่นหอม  3  อย่างในยา 2 สิ่ง คือ ดอกบุนนาค บำรุงโลหิตแก้กลิ่นเหม็นสาบสางในร่างกาย แก่นบุนนาค แก้รัตตะปิตตะโรค รากบุนนาค ขับลมในลำไส้ ดอกมะซาง ทำใจให้ชุ่มชื่นชูกำลัง แก่นมะซาง แก้คุดทะราด  แก้เสมหะ  แก้ไข้สัมประชวร รากมะซาง แก้โลหิต แก้กำเดาContinue reading

พิกัดยา 3 สิ่ง

พิกัดยา  3  สิ่ง คือ การจำกัดจำนวนตัวยา 3 อย่าง 1)  พิกัดตรีผลา คือ จำกัดจำนวนผลไม้ 3 อย่าง คือ ลูกสมอพิเภก ลูกสมอไทย ลูกมะขามป้อม สรรพคุณ  แก้ปิตตะวาตะ  สมหะในกองธาตุ  ฤดู  อายุ  และกองสมุฏฐาน 2)  พิกัดตรีกฏุก  คือ จำกัดจำนวนตัวยาที่มีรสเผ็ดร้อน  3  อย่าง คือ เหง้าขิงแห้ง เมล็ดพริกไทย ดอกดีปลี สรรพคุณ แก้วาตะเสมหะ ปิดตะวาตะในกองธาตุ ฤดู อายุ และกองสมุฏฐาน 3)   พิกัดตรีสาร  คือ จำนวนตัวยาที่ให้คุณในฤดูหนาว  3  อย่าง คือ รากเจตมูลเพลิง เถาสะค้าน รากช้าพลู สรรพคุณ แก้วาตะเสมหะ ปิดตะวาตะในกองธาตุ ฤดู อายุ  และกองสมุฏฐาน...Continue reading

พิกัดยา 4 สิ่ง

พิกัดยา 4 สิ่ง

พิกัดยา  4  สิ่ง 1)  พิกัดจตุกาลธาตุ   คือ  จำนวนตัวยาแก้ธาตุตามเวลา  4  อย่าง  คือ หัวว่านน้ำ รากเจตมูลเพลิง รากแคแตร รากนมสวรรค์ สรรพคุณ  แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ แก้จุกเสียด แก้เสมหะ แก้โลหิตในท้อง ขับลมในท้อง แก้ไข้ 2) พิกัดจตุทิพคันธา  คือ  จำนวนยาที่มีกลิ่นหอมดังกลิ่นทิพย์  4  อย่าง คือ รากมะกล่ำเครือ รากชะเอมเทศ ดอกพิกุล เหง้าขิงแครง สรรพคุณ  บำรุงธาตุ  บำรุงหัวใจ  แก้เสมหะ  แก้ลมปั่นป่วน  แก้พรรดึก 3) พิกัดจตุผลาธิตะ  คือ  จำนวนผลไม้ให้คุณ  4  อย่าง คือ ลูกสมอไทย ลูกสมอภิเภก ลูกมะขามป้อม ลูกสมอเทศ สรรพคุณ  ถ่ายไข้  ถ่ายลมแก้โรคตา  บำรุงธาตุ  ผายธาตุ ...Continue reading

พิกัดยา 5 สิ่ง

พิกัดยา  5  สิ่ง 1) พิกัดเบญจกูล  คือ  จำกัดจำนวนตระกูลยา (เครื่องยา) ที่มีรสร้อน 5 อย่าง คือ ดอกดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง เหง้าขิงแห้ง สรรพคุณ  กระจายกองลมและโลหิต แก้คูถเสมหะ แก้ลมพานไส้ บำรุงกองธาตุทั้ง 4 2)  พิกัดเบญจอมฤต  คือ  จำกัดตัวยาดังน้ำทิพย์ 5 อย่าง คือ น้ำนมสด น้ำนมส้ม น้ำอ้อย น้ำผึ้ง น้ำมันเนย สรรพคุณ   บำรุงกำลัง  บำรุงธาตุไฟ  ขับลมให้แล่น ทั่วกาย  แก้ไข้ตรีโทษ  ผายธาตุ  แก้กำเดาและลม  กระจายเสมหะ 3)  พิกัดเบญจผลธาตุ  คือ  จำกักจำนวนตัวยาที่แก้ผลธาตุได้  5  อย่าง คือ หัวกกลังกา หัวเต่าเกียด หัวแห้วหมู หัวหญ้าชันกาด...Continue reading

พิกัดยา 7 สิ่ง

พิกัดยา  7  สิ่ง 1) พิกัดสัตตะเขา  คือ  กำหนดจำนวนเขาสัตว์  7  อย่าง  คือ เขาวัว เขาควาย เขากระทิง เขากวาง เขาแพะ เขาแกะ เขาเลียงผา สรรพคุณ  ดับพิษ ถอนพิษ ถอนพิษผิดสำแดง แก้พิษไข้ร้อน ไข้พิษไข้กาฬ 2) พิกัดสัตตะปะระเหมะ คือ จำกัดจำนวนตัวยาแก้เมือกมัน  เสมหะมีกลิ่น 7 อย่าง คือ ต้นตำแยตัวผู้ ต้นตำแยตัวเมีย ต้นก้นปิด ลูกกระวาน โกฐกระดูก ลูกรักเทศ ตรีผลาวะสัง สรรพคุณ  ชำระมลทินโทษให้ตก  แก้อุจจาระธาตุลามก  ชำระเมือกมันในลำไส้ แก้ปะระเมหะ  20 ประการ 3) พิกัดสัตตะโลหะ  คือ  จำกัดจำนวนตัวยาที่มีชื่อเป็นทอง  7  อย่าง คือ รากทองกวาว รากทองหลางหนาม รากทองหลางใบมน...Continue reading

พิกัดยา 9 สิ่ง

พิกัดยา 9 สิ่ง 1)  พิกัดเนาวหอย  คือ  จำกัดจำนวนหอย 9 อย่าง คือ เปลือกหอยกาบ เปลือกหอยขม เปลือกหอยแครง เปลือกหอยนางรม เปลือกหอยพิมพการัง เปลือกหอยตาวัว เปลือกหอยจุ๊บแจง เปลือกหอยมุก เลือกหอยสังข์ สรรพคุณ  ขับลมในลำไส้  และล้างลำไส้ แก้โรคกระษัย  แก้ไตพิการ  ขับนิ่ว  ขับปัสสาวะ บำรุงกระดูก 2)  พิกัดเนาวเขี้ยว  คือ  จำกัดจำนวนเขี้ยวสัตว์ 9 อย่าง คือ เขี้ยวหมูป่า เขี้ยวหมาป่า เขี้ยวหมี เขี้ยวเสือ เขี้ยวช้าง (งาช้าง) เขี้ยวแรด เขี้ยวเลียงผา เขี้ยวจระเข้ไข้กาฬ เขี้ยวปลาพะยูน สรรพคุณ  รสจืด  คาวเย็น  ใช้ดับพิษในกระดูก  ในข้อในเส้นเอ็น  รวมถึงการบวมภายนอก  แก้พิษร้อน  ถอนพิษไข้  ดับพิษ  แก้ไข้พิษ  ไข้กาฬตักศิลา...Continue reading

พิกัดยา  10  สิ่ง

พิกัดยา  10  สิ่ง 1) พิกัดทศกุลาผล  คือ  กำหนดจำนวนยาเป็นตระกูล  10  อย่าง คือ ลูกผักชีทั้ง 2    (ผักชีล้อม – ผักชีลา) ลูกเร่วทั้ง   2    (เร่วน้อย – เร่วใหญ่) ชะเอมทั้ง  2     (ชะเอมไทย – ชะเอมเทศ) ลำพันทั้ง   2    (ลำพันแดง – ลำพันขาว) อบเชยทั้ง  2    (อบเชยไทย – อบเชยเทศ) สรรพคุณ แก้ไข้เพื่อดีและเสหะ ขับลมในลำไส้ บำรุงธาตุ บำรุงปอด แก้รัตตะปิตตะโรค  แก้ลมอัมพฤกษ์อัมพาต  บำรุงกำลัง  แก้ไข้  บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น 2)  พิกัดทศมูลใหญ่  คือ  กำหนดจำนวนรากไม้ 10 อย่าง คือ (รวมเบญจมูลน้อย และเบญจมูลใหญ่เข้าด้วยกัน) หญ้าเกล็ดหอยน้อย หญ้าเกล็ดหอยใหญ่...Continue reading

พิกัดพิเศษ

พิกัดพิเศษ

พิกัดพิเศษ 1)  พิกัดโกฐพิเศษ  คือ  กำหนดจำนวนโกฐพิเศษ  3  อย่าง คือ โกฐกะกลิ้ง โกฐกักกรา โกฐน้ำเต้า สรรพคุณ  แก้โรคในปากในคอ ขับพยาธิ แก้พิษสัตว์กัดต่อย แก้ไข้ในกองอติสาร  ขับลมในลำไส้ แก้หนองใน ขับระดูร้าย แก้ริดสีดวงทวาร 2)  พิกัดเทียนพิเศษ คือ กำหนดจำนวนเทียนพิเศษ 3 อย่าง คือ เทียนลวด หรือ เทียนหลอด เทียนขม เทียนแกลบ สรรพคุณ  แก้ลม  เสมกะดีละคนกัน  แก้พิษโลหิต  แก้ดีพิการ  แก้ลมขึ้นเบื้องสูง  ทำให้หูอื้อตาลาย  แก้ไข้  แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว  แก้ลม 3)  พิกัดบัวพิเศษ  คือ  จำกัดจำนวนดอกบัวพิเศษ  6  อย่าง คือ บัวหลวงแดง บัวหลวงขาว บัวสัตตบงกชแดง บัวสัตตบงกชขาว บัวเผื่อน บัวขม...Continue reading

มหาพิกัดตรี (ยา 3 สิ่ง)

มหาพิกัดตรี (ยา 3 สิ่ง)

มหาพิกัดตรี (ยา  3  สิ่ง) มหทพิกัดตรีผลา ตรีผลาเป็นพิกัดยาในคิมหันตฤดู (ฤดูร้อน) ถ้าจะใช้แก้ในสมุฏฐานต่างๆ จะใช้ส่วนของตัวยาในพิกัดแตกต่างกัน  ดังนี้ 1) มหาพิกัดตรีผลา ถ้าจะแก้เสมหะสมุฏฐาน มีส่วนและตัวยาดังนี้ ลูกสมอภิเภก              8        ส่วน     (ปิตตะ) ลูกสมอไทย               4        ส่วน     (วาตะ) ลูกมะขามป้อม            12      ส่วน     (เสมหะ) 2) มหาพิกัดตรีผลา ถ้าจะแก้ปิตตะสมุฏฐาน มีส่วนและตัวยาดังนี้ ลูกสมอภิเภก              12      ส่วน     (ปิตต) ลูกสมอไทย               8        ส่วน     (วาตะ) ลูกมะขามป้อม            4        ส่วน     (เสมหะ) 3) มหาพิกัดตรีผลา ถ้าจะแก้วาตะสมุฏฐาน มีส่วและตัวยาดังนี้ ลูกสมอภิเภก              4        ส่วน     (ปิตต) ลูกสมอไทย               12      ส่วน     (วาตะ) ลูกมะขามป้อม            8        ส่วน     (เสมหะ)...Continue reading

Scroll to top