ตัวยาเรียกได้หลายชื่อ

ตัวยาที่เรียกได้ 2 ชื่อนี้ มิได้เป็นมาตรฐานเท่าใดนัก บางตำราก็เรียกไปอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่เหมือนกับตำราที่กล่าวไว้นี้ เพราะด้วยประเทศถิ่นที่อยู่นั้น เรียกกันตามที่อยู่ของตนไป เมื่อรวมความแล้วก็เป็นตัวยา อย่างเดียวกัน มีชื่อจะกล่าวดังต่อไปนี้

  1. ต้นทิ้งถ่อน    เรียกอีกชื่อว่า   พระยาฉัตรทัน
  2. ต้นตะโกนา    เรียกอีกชื่อว่า   พระยาช้างดำ
  3. หนาวเดือนห้า    เรียกอีกชื่อว่า   พระขรรค์ไชยศรี
  4. ร้อนเดือนห้า    เรียกอีกชื่อว่า   ต้นมะไฟเดือนห้า
  5. กระพังโหมใหญ่    เรียกอีกชื่อว่า   ตูดหมู
  6. กระพังโหมเล็ก    เรียกอีกชื่อว่า   ตูดหมา
  7. กระพังโหมน้อย    เรียกอีกชื่อว่า   ขี้หมาข้างรั้ว
  8. ผักบุ้ง    เรียกอีกชื่อว่า   ผักทอดยอด
  9. ผักกระเฉด    เรียกอีกชื่อว่า   ผักรู้นอน
  10. ต้นชิงชี่    เรียกอีกชื่อว่า   ปู่เจ้าสมิงกุย
  11. เถาหญ้านาง    เรียกอีกชื่อว่า   ปู่เจ้าเขาเขียว หรือ หญ้าภัคคีนี
  12. เท้ายายม่อม    เรียกอีกชื่อว่า   ประทุมราชา
  13. เจตมูลเพลิง    เรียกอีกชื่อว่า   ลุกใต้ดิน
  14. ต้นช้าพลู    เรียกอีกชื่อว่า   ผักอีไร
  15. เปรียงพระโค    เรียกอีกชื่อว่า   น้ำมันในไขข้อกระดูกโค
  16. ผักเป็ดอกินตีนท่า หรือหากินตีนท่า
  17. หยากไย่ไฟ, หญ้ายองไฟ    เรียกอีกชื่อว่า   อยู่หลังคา (นมจาก)
  18. ขี้ยาฝิ่น   เรียกอีกชื่อว่า   ขี้คารู
  19. สุรา   เรียกอีกชื่อว่า   กูอ้ายบ้า
  20. น้ำครำ   เรียกอีกชื่อว่า   น้ำไขเสนียด
  21. ต้นปีบ   เรียกอีกชื่อว่า   ก้องกลางดง
  22. ต้นชะเอม   เรียกอีกชื่อว่า   อ้อยสามสวน
  23. เถามะระขี้นก   เรียกอีกชื่อว่า   ผักไห
  24. เถาโคกกระสุน   เรียกอีกชื่อว่า   กาบินหนี
  25. ก้างปลา   เรียกอีกชื่อว่า   ปู่เจ้าคาคลอง
  26. เกลือกระดังมูตร   เรียกอีกชื่อว่า   เกลือเยี่ยว
  27. เถากระไดลิง   เรียกอีกชื่อว่า   กระไดวอก
  28. กำมะถันเหลือง   เรียกอีกชื่อว่า   สุพรรณถันเหลือง, มาดเหลือง
  29. กระบือเจ็ดตัว   เรียกอีกชื่อว่า   กระทู้เจ็ดแบก
  30. แก่นขนุน   เรียกอีกชื่อว่า   กรัก
  31. หญ้าพองลม   เรียกอีกชื่อว่า   ปู่เจ้าลอยท่า
  32. กำแพงเจ็ดชั้น   เรียกอีกชื่อว่า   ตะลุ่มนก
  33. กาสามปีก   เรียกอีกชื่อว่า   กาจับหลัก, หญ้าสองปล้อง
  34. กระเช้าผีมด   เรียกอีกชื่อว่า   หัวร้อยรู
  35. ต้นกำลังช้างเผือก   เรียกอีกชื่อว่า   พระยาข้างเผือก
  36. ต้นกำลังวัวเถลิง   เรียกอีกชื่อว่า   กำลังทรพี
  37. ต้นกำลังเสือโคร่ง   เรียกอีกชื่อว่า   กำลังพระยาเสือโคร่ง
  38. ต้นกำลังหนุมาน   เรียกอีกชื่อว่า   กำลังราชสีห์
  39. แก่นกำเกรา   เรียกอีกชื่อว่า    ตำเสา
  40. บัวบก   เรียกอีกชื่อว่า   ผักหนอก
  41. ขอบชะนางแดง   เรียกอีกชื่อว่า   หนอนตายอยากแดง
  42. ขอบชะนางขาว   เรียกอีกชื่อว่า   หนอนตายอยากขาว
  43. ดอกสลิด   เรียกอีกชื่อว่า   ดอกขจร
  44. ต้นกรรณิกา   เรียกอีกชื่อว่า   สุพันนิกา
  45. ดอกคำฝอย   เรียกอีกชื่อว่า   คำยอง
  46. ดอกคำไทย   เรียกอีกชื่อว่า   ดอกชาติ
  47. ฆ้องสามย่านตัวผู้ (นิลพัต)   เรียกอีกชื่อว่า   ต้นคว่ำตายหงายเป็น
  48. ต้นเหงือกปลาหมอ   เรียกอีกชื่อว่า   ต้นแก้มคอ
  49. ต้นฆ้องสามย่าน   เรียกอีกชื่อว่า   ส้มกระเช้า
  50. ต้นจามจุรี   เรียกอีกชื่อว่า   ก้ามกราม, ก้ามปู
  51. ต้นช้างงาเดียว   เรียกอีกชื่อว่า   หนามคาใบ
  52. ต้นตีนเป็ดเครือ   เรียกอีกชื่อว่า   เถาเอ็นอ่อน
  53. ต้นตีนเป็ดต้น   เรียกอีกชื่อว่า   พระยาสัตบัน
  54. ต้นตีนเป็นน้ำ   เรียกอีกชื่อว่า   พะเนียงน้ำ
  55. เม็ดเทียนขาว   เรียกอีกชื่อว่า   ยี่หร่า
  56. เทียนตาตั๊กแตน   เรียกอีกชื่อว่า   ผักชีลาว
  57. ต้นเทียนเยาวพาณี   เรียกอีกชื่อว่า   ผักชีกระเหรี่ยง
  58. ต้นโทงเทง    เรียกอีกชื่อว่า   โคมจีน, โคมญี่ปุ่น
  59. ต้นทองระอา    เรียกอีกชื่อว่า   ลิ้นงูเห่า
  60. ผักเสี้ยนผี    เรียกอีกชื่อว่า   ไปนิพพานไม่รู้กลับ
  61. หางไหลขาว   เรียกอีกชื่อว่า   โล่ติ๊น
  62. หางไหลแดง   เรียกอีกชื่อว่า   กะลำเพาะ
  63. สมออัพยา   เรียกอีกชื่อว่า   ลูกสมอไทย
  64. สมอร่องแร่ง คือลูกสมอชนิดหนึ่งก้านยาว ห้อยร่องแร่งอยู่
  65. บอระเพ็ดตัวผู้ คือ เถาชิงช้าชาลี แต่บอระเพ็ดตัวเมียคือเถาบอระเพ็ดที่มีตุ่ม
จุลพิกัด

จุลพิกัด

จุลพิกัด จุลพิกัด คือ จำกัดตัวยาน้อยอย่าง หรือพิกัดที่เรียกชื่อตรงตามตัวยา มักจะเป็นตัวยาอย่างเดียวกัน หรือส่วนมากมีตัวยาเพียง 2 อย่างเท่านั้น แต่เป็นตัวยาชนิดเดียวกัน ต่างกันที่ขนาด ต่างกันที่สี ต่างกันที่รส ต่างกันที่ชนิด (เพศผู้ – เพศเมีย) ต่างกันจากถิ่นที่เกิด ตัวอย่างเช่น พวกที่ต่างกันที่ขนาด 1 กระพังโหมทั้ง 2 คือ กระพังโหมน้อย กระพังโหมใหญ่ 2 ข่าทั้ง 2 คือ ข่าเล็ก ข่าใหญ่ 3 ตับเต่าทั้ง 2 คือ ตับเต่าน้อย ตับเต่าใหญ่ 5 เปล้าทั้ง 2 คือ เปล้าน้อย เปล้าใหญ่ 5 เร่วทั้ง 2 คือ เร่วน้อย เร่วใหญ่ 6 ส้มกุ้งทั้ง 2 คือ ส้มกุ้งน้อย...Continue reading

พิกัดยา 2 สิ่ง

พิกัดยา 2 สิ่ง 1)  พิกัดทเวคันธา  (ทเวสุคนธ์)  คือ  จำกัดจำนวนตัวยาที่มีกลิ่นหอม 2 อย่างคือ รากบุนนาค ขับลมในลำไส้ รากมะซาง แก้โลหิต  แก้กำเดา 2)  พิกัดทเวติคันธา คือ  จำกัดจำนวนตัวยาที่มีกลิ่นหอม  3  อย่างในยา 2 สิ่ง คือ ดอกบุนนาค บำรุงโลหิตแก้กลิ่นเหม็นสาบสางในร่างกาย แก่นบุนนาค แก้รัตตะปิตตะโรค รากบุนนาค ขับลมในลำไส้ ดอกมะซาง ทำใจให้ชุ่มชื่นชูกำลัง แก่นมะซาง แก้คุดทะราด  แก้เสมหะ  แก้ไข้สัมประชวร รากมะซาง แก้โลหิต แก้กำเดาContinue reading

พิกัดยา 3 สิ่ง

พิกัดยา  3  สิ่ง คือ การจำกัดจำนวนตัวยา 3 อย่าง 1)  พิกัดตรีผลา คือ จำกัดจำนวนผลไม้ 3 อย่าง คือ ลูกสมอพิเภก ลูกสมอไทย ลูกมะขามป้อม สรรพคุณ  แก้ปิตตะวาตะ  สมหะในกองธาตุ  ฤดู  อายุ  และกองสมุฏฐาน 2)  พิกัดตรีกฏุก  คือ จำกัดจำนวนตัวยาที่มีรสเผ็ดร้อน  3  อย่าง คือ เหง้าขิงแห้ง เมล็ดพริกไทย ดอกดีปลี สรรพคุณ แก้วาตะเสมหะ ปิดตะวาตะในกองธาตุ ฤดู อายุ และกองสมุฏฐาน 3)   พิกัดตรีสาร  คือ จำนวนตัวยาที่ให้คุณในฤดูหนาว  3  อย่าง คือ รากเจตมูลเพลิง เถาสะค้าน รากช้าพลู สรรพคุณ แก้วาตะเสมหะ ปิดตะวาตะในกองธาตุ ฤดู อายุ  และกองสมุฏฐาน...Continue reading

พิกัดยา 4 สิ่ง

พิกัดยา 4 สิ่ง

พิกัดยา  4  สิ่ง 1)  พิกัดจตุกาลธาตุ   คือ  จำนวนตัวยาแก้ธาตุตามเวลา  4  อย่าง  คือ หัวว่านน้ำ รากเจตมูลเพลิง รากแคแตร รากนมสวรรค์ สรรพคุณ  แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ แก้จุกเสียด แก้เสมหะ แก้โลหิตในท้อง ขับลมในท้อง แก้ไข้ 2) พิกัดจตุทิพคันธา  คือ  จำนวนยาที่มีกลิ่นหอมดังกลิ่นทิพย์  4  อย่าง คือ รากมะกล่ำเครือ รากชะเอมเทศ ดอกพิกุล เหง้าขิงแครง สรรพคุณ  บำรุงธาตุ  บำรุงหัวใจ  แก้เสมหะ  แก้ลมปั่นป่วน  แก้พรรดึก 3) พิกัดจตุผลาธิตะ  คือ  จำนวนผลไม้ให้คุณ  4  อย่าง คือ ลูกสมอไทย ลูกสมอภิเภก ลูกมะขามป้อม ลูกสมอเทศ สรรพคุณ  ถ่ายไข้  ถ่ายลมแก้โรคตา  บำรุงธาตุ  ผายธาตุ ...Continue reading

พิกัดยา 5 สิ่ง

พิกัดยา  5  สิ่ง 1) พิกัดเบญจกูล  คือ  จำกัดจำนวนตระกูลยา (เครื่องยา) ที่มีรสร้อน 5 อย่าง คือ ดอกดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง เหง้าขิงแห้ง สรรพคุณ  กระจายกองลมและโลหิต แก้คูถเสมหะ แก้ลมพานไส้ บำรุงกองธาตุทั้ง 4 2)  พิกัดเบญจอมฤต  คือ  จำกัดตัวยาดังน้ำทิพย์ 5 อย่าง คือ น้ำนมสด น้ำนมส้ม น้ำอ้อย น้ำผึ้ง น้ำมันเนย สรรพคุณ   บำรุงกำลัง  บำรุงธาตุไฟ  ขับลมให้แล่น ทั่วกาย  แก้ไข้ตรีโทษ  ผายธาตุ  แก้กำเดาและลม  กระจายเสมหะ 3)  พิกัดเบญจผลธาตุ  คือ  จำกักจำนวนตัวยาที่แก้ผลธาตุได้  5  อย่าง คือ หัวกกลังกา หัวเต่าเกียด หัวแห้วหมู หัวหญ้าชันกาด...Continue reading

พิกัดยา 7 สิ่ง

พิกัดยา  7  สิ่ง 1) พิกัดสัตตะเขา  คือ  กำหนดจำนวนเขาสัตว์  7  อย่าง  คือ เขาวัว เขาควาย เขากระทิง เขากวาง เขาแพะ เขาแกะ เขาเลียงผา สรรพคุณ  ดับพิษ ถอนพิษ ถอนพิษผิดสำแดง แก้พิษไข้ร้อน ไข้พิษไข้กาฬ 2) พิกัดสัตตะปะระเหมะ คือ จำกัดจำนวนตัวยาแก้เมือกมัน  เสมหะมีกลิ่น 7 อย่าง คือ ต้นตำแยตัวผู้ ต้นตำแยตัวเมีย ต้นก้นปิด ลูกกระวาน โกฐกระดูก ลูกรักเทศ ตรีผลาวะสัง สรรพคุณ  ชำระมลทินโทษให้ตก  แก้อุจจาระธาตุลามก  ชำระเมือกมันในลำไส้ แก้ปะระเมหะ  20 ประการ 3) พิกัดสัตตะโลหะ  คือ  จำกัดจำนวนตัวยาที่มีชื่อเป็นทอง  7  อย่าง คือ รากทองกวาว รากทองหลางหนาม รากทองหลางใบมน...Continue reading

พิกัดยา 9 สิ่ง

พิกัดยา 9 สิ่ง 1)  พิกัดเนาวหอย  คือ  จำกัดจำนวนหอย 9 อย่าง คือ เปลือกหอยกาบ เปลือกหอยขม เปลือกหอยแครง เปลือกหอยนางรม เปลือกหอยพิมพการัง เปลือกหอยตาวัว เปลือกหอยจุ๊บแจง เปลือกหอยมุก เลือกหอยสังข์ สรรพคุณ  ขับลมในลำไส้  และล้างลำไส้ แก้โรคกระษัย  แก้ไตพิการ  ขับนิ่ว  ขับปัสสาวะ บำรุงกระดูก 2)  พิกัดเนาวเขี้ยว  คือ  จำกัดจำนวนเขี้ยวสัตว์ 9 อย่าง คือ เขี้ยวหมูป่า เขี้ยวหมาป่า เขี้ยวหมี เขี้ยวเสือ เขี้ยวช้าง (งาช้าง) เขี้ยวแรด เขี้ยวเลียงผา เขี้ยวจระเข้ไข้กาฬ เขี้ยวปลาพะยูน สรรพคุณ  รสจืด  คาวเย็น  ใช้ดับพิษในกระดูก  ในข้อในเส้นเอ็น  รวมถึงการบวมภายนอก  แก้พิษร้อน  ถอนพิษไข้  ดับพิษ  แก้ไข้พิษ  ไข้กาฬตักศิลา...Continue reading

พิกัดยา  10  สิ่ง

พิกัดยา  10  สิ่ง 1) พิกัดทศกุลาผล  คือ  กำหนดจำนวนยาเป็นตระกูล  10  อย่าง คือ ลูกผักชีทั้ง 2    (ผักชีล้อม – ผักชีลา) ลูกเร่วทั้ง   2    (เร่วน้อย – เร่วใหญ่) ชะเอมทั้ง  2     (ชะเอมไทย – ชะเอมเทศ) ลำพันทั้ง   2    (ลำพันแดง – ลำพันขาว) อบเชยทั้ง  2    (อบเชยไทย – อบเชยเทศ) สรรพคุณ แก้ไข้เพื่อดีและเสหะ ขับลมในลำไส้ บำรุงธาตุ บำรุงปอด แก้รัตตะปิตตะโรค  แก้ลมอัมพฤกษ์อัมพาต  บำรุงกำลัง  แก้ไข้  บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น 2)  พิกัดทศมูลใหญ่  คือ  กำหนดจำนวนรากไม้ 10 อย่าง คือ (รวมเบญจมูลน้อย และเบญจมูลใหญ่เข้าด้วยกัน) หญ้าเกล็ดหอยน้อย หญ้าเกล็ดหอยใหญ่...Continue reading

พิกัดพิเศษ

พิกัดพิเศษ

พิกัดพิเศษ 1)  พิกัดโกฐพิเศษ  คือ  กำหนดจำนวนโกฐพิเศษ  3  อย่าง คือ โกฐกะกลิ้ง โกฐกักกรา โกฐน้ำเต้า สรรพคุณ  แก้โรคในปากในคอ ขับพยาธิ แก้พิษสัตว์กัดต่อย แก้ไข้ในกองอติสาร  ขับลมในลำไส้ แก้หนองใน ขับระดูร้าย แก้ริดสีดวงทวาร 2)  พิกัดเทียนพิเศษ คือ กำหนดจำนวนเทียนพิเศษ 3 อย่าง คือ เทียนลวด หรือ เทียนหลอด เทียนขม เทียนแกลบ สรรพคุณ  แก้ลม  เสมกะดีละคนกัน  แก้พิษโลหิต  แก้ดีพิการ  แก้ลมขึ้นเบื้องสูง  ทำให้หูอื้อตาลาย  แก้ไข้  แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว  แก้ลม 3)  พิกัดบัวพิเศษ  คือ  จำกัดจำนวนดอกบัวพิเศษ  6  อย่าง คือ บัวหลวงแดง บัวหลวงขาว บัวสัตตบงกชแดง บัวสัตตบงกชขาว บัวเผื่อน บัวขม...Continue reading

มหาพิกัดตรี (ยา 3 สิ่ง)

มหาพิกัดตรี (ยา 3 สิ่ง)

มหาพิกัดตรี (ยา  3  สิ่ง) มหทพิกัดตรีผลา ตรีผลาเป็นพิกัดยาในคิมหันตฤดู (ฤดูร้อน) ถ้าจะใช้แก้ในสมุฏฐานต่างๆ จะใช้ส่วนของตัวยาในพิกัดแตกต่างกัน  ดังนี้ 1) มหาพิกัดตรีผลา ถ้าจะแก้เสมหะสมุฏฐาน มีส่วนและตัวยาดังนี้ ลูกสมอภิเภก              8        ส่วน     (ปิตตะ) ลูกสมอไทย               4        ส่วน     (วาตะ) ลูกมะขามป้อม            12      ส่วน     (เสมหะ) 2) มหาพิกัดตรีผลา ถ้าจะแก้ปิตตะสมุฏฐาน มีส่วนและตัวยาดังนี้ ลูกสมอภิเภก              12      ส่วน     (ปิตต) ลูกสมอไทย               8        ส่วน     (วาตะ) ลูกมะขามป้อม            4        ส่วน     (เสมหะ) 3) มหาพิกัดตรีผลา ถ้าจะแก้วาตะสมุฏฐาน มีส่วและตัวยาดังนี้ ลูกสมอภิเภก              4        ส่วน     (ปิตต) ลูกสมอไทย               12      ส่วน     (วาตะ) ลูกมะขามป้อม            8        ส่วน     (เสมหะ)...Continue reading

Scroll to top