กานพลู

ชื่อสมุนไพร : กานพลู
ชื่ออื่น ๆ
:  ดอกจันทร์ (เชียงใหม่), จันจี่ (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ : clove
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium aromaticum (L.) Merr.& L.M.Perry
ชื่อวงศ์ MYYRTACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นกานพลู เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ สูง 5-15 เมตร เรือนยอดทึบ เป็นรูปกรวยคว่ำ แตกกิ่งต่ำ ลำต้นตั้งตรง เปลือกเรียบมีสีน้ำตาลอ่อน มีต่อมน้ามันมาก
    กานพลู
  • ใบกานพลู ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม มีก้านใบเล็กเรียว ยาว 1-3 เซนติเมตร รูปใบขอบขนานแกมรูปไข่กลับ กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 6-13 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม ขอบเรียบ โคนสอบเป็นรูปลิ่ม แผ่นใบด้านบนเป็นมัน ตอนล่างของใบมีต่อมจำนวนมาก ใบมีเส้นใบจำนวนมาก
  • ดอกกานพลู ดอกออกเป็นช่อดอกสั้นๆ แทงออกบริเวณปลายยอดหรือง่ามใบบริเวณยอด ดอกแตกแขนงออกเป็นกระจุก 3 ช่อ มีจำนวน 6-20 ดอก ดอกมีใบประดับรูปสามเหลี่ยม ยาว 2-3 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยง 4 กลีบ สีเขียวอมเหลือง และมีสีแดงประปราย โคนติดกันเป็นหลอดยาว 5-7 มิลลิเมตร กลีบดอก 4 กลีบ กลีบดอกมีรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ ยาว 7-8 มิลลิเมตร มีต่อมน้ำมันมาก กลีบดอกมักร่วงง่าย ด้านในมีเกสรเพศผู้ ก้านชูเกสรยาว 3-7 มิลลิเมตร ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร ยอดเกสรตัวเมียแบ่งเป็น 2 พู มีรังไข่ 2-3 ห้อง แต่ละห้องมีไข่จำนวนมาก
  • ผลกานพลู มีสีน้ำตาลเข้ม ผลของมันมีขนาดยาวประมาณ 1 เซนติเมตร และมีขนาดยาวประมาณ 1 เซนติเมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.3-0.4 เซนติเมตร

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ดอกกานพลูแห้งที่ยังมิได้สกัดเอาน้ำมันออก และมีกลิ่นหอมจัด

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา : เก็บดอกตูมช่วงที่เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดง ช่วงเดือนมิถุนายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์

รสและสรรพคุณยาไทย : รสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม ช่วยขับลม

วิธีใช้ กานพลู :

  1. รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และแน่นจุกเสียด
    ดอกแห้งของกานพลู โดยใช้ดอกแห้ง 5-8 ดอก (0.12-0.6 กรัม) ต้มน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง ชงเป็นน้ำชาดื่ม
  2. ดอกกานพลูยังช่วยป้องกันไม่ให้เด็กอ่อนท้องขึ้น ท้องเฟ้อได้ โดยใช้ดอกแห้ง 1-3 ดอกแช่ไว้ในกระติกน้ำร้อนที่ใช้ชงนมให้เด็กอ่อน
Scroll to top