สมุนไพรถอนพิษ รักษาแผลน้ำร้อนลวก

ช้าแป้น

ชื่ออื่นๆ                 ขากะอ้าย, ขาตาย, หูควาย (ใต้), ฉับแป้ง (สุโขทัย), ดับยาง (กลาง), ฝ่าแป้ง (เหนือ), มะเขือดง (ขอนแก่น), มั่งพะไป, ลิ้มเม่วแจ้อ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), สะแป้ง (สิงห์บุรี), ส่างโมง (เลย)

ส่วนที่ใช้               ใบสด

ขนาด                     3 – 5 ใบ

วิธีใช้                      ลางใบให้สะอาด ตำให้ละเอียด พอกแผลน้ำร้อนลวก


หญ้าดับไฟ

ชื่ออื่นๆ                 หญ้าดับไฟ (กรุงเทพฯ), กิมฮวยโพเช้า, โหวเช้า (จีน)

ส่วนที่ใช้               ใบและต้นสด

ขนาด                     1 – 2 กิ่ง

วิธีใช้                      ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมพิมเสน 3 – 4 เกล็ด พอกแผลไฟไหม้ จะช่วยดับพิษร้อน


ชา

ชื่ออื่นๆ                 เมี่ยง, เมี่ยงป่า (เหนือ)

ส่วนที่ใช้               กากของใบชาที่ใช้แล้ว

ขนาด                     1 กำมือ

วิธีใช้                      นำกากชาพอกบริเวณแผลไฟไหม้ เพื่อถอนพิษปวดแสบ ปวดร้อน


ผักบุ้งไทย

ชื่ออื่นๆ                 กำจร (ฉาน – แม่ฮ่องสอน), ผักทอดยอด (กลาง), โหนเดาะ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), เอ้งไฉ่, คังชิมไฉ่, บ่อซิมไฉ่, ติ่งติ่งไฉ่ (จีนแต่จิ๋ว)

ส่วนที่ใช้               ทั้งต้นสด

ขนาด                     2 – 3 ต้น

วิธีใช้                      ให้เอาผักบุ้งทั้งต้นล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำตาลโตลดเล็กน้อย ใช้ทาหรือพอกบริเวณที่ถูกน้ำร้อนลวก อาการปวดแสบปวดร้อนจะทุเลา


บัวบก

ชื่ออื่นๆ                 ผักแว่น (จันทบุรี, ใต้), ปะหนะเอขาเด๊าะ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), ผักหนอก (เหนือ), แจ๊ะเเซะเข่า (จีน)

ส่วนที่ใช้               ทั้งต้นสด

ขนาด                     2 – 3 ต้น

วิธีใช้                      ล้างน้ำมห้สะอาด ตำให้ละเอียด พอกแผลไฟไหม้ ช่วยลดอาการปวดแลบปวดร้อน


ยาสูบ

ชื่ออื่นๆ                 จะวั้ว (เขมร – สุรินทร์), ยาฉุน, ยาเส้น

ส่วนที่ใช่               ยาเส้นหรือยาตั้ง (ซึ่งได้จากใบชาที่แก่)

ขนาด                     1 หยิบมือ

วิธีใช้                      ใช้คลุกกับน้ำมันมะพร้าว ปิดบริเวณที่ถูกน้ำร้อนลวก จะช่วยถอนพิษ


ชัน

ชื่ออื่นๆ                 กาตีล (เขมร – ปราจีนบุรี), ขะยาง (นครราชสีมา), เคาะ (กะเหรี่ยง – เชียงใหม่), จ้อง, จะเดียล (เขมร), ชันนา, ยางตัง (ชุมพร), ทองสลัก (สะว้า), ยาง, ยางขาว, ยางนา, ยางแม่น้ำ, ยางหยวก (ทั่วไป), ยางกุง (เลย), ยางควาย (หนองคาย), ยางเนิบ (จันทบุรี), ราลอย (ส่วน – สุรินทร์, ลอยด์ (นครพนม)

ส่วนที่ใช้               ชันจากต้นยาง

ขนาด                     1 หยิบมือ

วิธีใช้                      ตำชันยาเรือให้ละเอียด เติมน้ำมันมะพร้าว และน้ำปูนใสอย่างละเท่าๆ กัน คนให้เข้ากัน ผสมอย่าให้เหลว ใช้ทาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ดับพิษไฟ


แตงโม

ชื่ออื่นๆ                 มะเต้า (เหนือ), แต่เต้าส่า (กะเหรี่ยง – เม่ฮ่องสอน), อุลัก (เขมร – บุรีรัมย์),

แตงจีน (ใต้)

ส่วนที่ใช้               เนื้อแตงโมคั้นเอาแต่น้ำ

ขนาด                     ไม่จำกัด

วิธีใช้                      กรองเอาน้ำแตงโมที่คั้นใส่ขวด แล้วปิดฝาทิ้งไว้ 2 – 3 เดือน น้ำที่หมักจะมีรสเปรี้ยว ใช้สำลีชุบน้ำแตงโมที่หมักไว้ปิดบริเวณที่ถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกเปลี่ยนสำลีวันละ 3 – 4 ครั้ง (ก่อนจะใส่ยาให้ใช้น้ำเกลือเย็นๆ ที่สะอาดชะล้างแผล ให้สะอาดเสียก่อน) แผลจะหายในไม่ช้า


พุดตาล

ชื่ออื่นๆ                 บลีมิง (นราธิวาส), หลิงปลิง (ใต้)

ส่วนที่ใช้               ใบสด

ขนาด                     3 – 4 ใบ

วิธีใช้                      ใบสดล้างน้ำให้สะอาด ตำใหเละเอียด แล้วผสมกับน้ำมันพืช ใช้ทาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก


ว่านหางจรเข้

ชื่ออื่นๆ                 ว่านไฟไหม้ (เหนือ), ว่านหางจระเข้, หางตะเข้ (กลาง), นำเต๊ก (จีน)

ส่วนที่ใช้               เมือกจากใบสด

ขนาด                     แล้วแต่ขนาดของแผล

วิธีใช้                      ใช้เมือกจากใบสดทาแผลให้เปียกอยู่ตลอดเวลา ทาตลอด 2 สันแรก แผลจะหายรวดเร็ว อาการปวดก็จะไม่มี แผลเป็นจะมีน้อยมาก


ข้อควรระวัง 

  • อย่าให้ถูกน้ำ
  • ความสะอาดต้องระวังให้มาก ถ้ามีเชื้อโรคเข้าจะทำให้รักษาได้ยากมาก
Scroll to top