สมุนไพรห้ามเลือด ใส่แผลสด

หนุมานนั่งแท่น

ชื่ออื่นๆ                  หัวละมานนั่งแท่น (ประจวบคีรีขันธ์), ว่านเลือด

ส่วนที่ใช้                น้ำยางจากก้านใบ

ขนาด                     2 – 3 หยด

วิธีใช้                      กรีดหรือตัดก้านใบ ยางสีขาวใสจะไหลออกมา หยดลงในแผลสด เลือกจะหยุด ใช้ผ้าสะอาดพันอย่าให้ถูกน้ำ เลือดจะหยุดและแผลจะติดกันเร็ว


เสือหมอบ

ชื่ออื่นๆ                  ช้าผักคราด, ยี่สุ่นเถื่อน (สุราษฏร์ะานี), ชิโพกวย, ไช้ปู้กอ, เซโพกวย, บ่อโส่, เพาะจีแค (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), บ้านร้าง, ผักคราด (ราชบุรี), เบญจมาศ (ตราด), ฝรั่งรุกที่, ฝรั่งเหาะ (สุพรรณบุรี), พาทั้ง (ฉาน – เชียงใหม่), มนทน (เพชรบูรณ์), มุ้งกระต่าย (อุดรธานี), รำเคย  (ระยอง), สามเสือ (สิงห์บุรี), เส้โพกวย, หนองเส้งเปรง (กะเหรี่ยง – เชียงใหม่), หญ้าคาพั้ง (ฉาน – แม่ฮ่องสอน), หญ้าดงร้าง (สระบุรี), หญ้าดอกขาว (ทั่วไป), หญ้าฝรั่งเศส (จันทบุรี – ตราด), หญ้าพระศิริไอยสวรรคื, หมาหลง (ชลบุรี), หญ้าเมืองวาย, หญ้าเมืองฮ้าง (เหนือ), หญ้าลืมเมือง (หนองคาย), หญ้าเลาฮ้าง (ขอนแก่น), หญ้าเหม็น (ตะวันออกเฉียงเหนือ),

ส่วนที่ใช้                ใบสด

ขนาด                     2 – 5 ใบ

วิธีใช้                      ล้างใบให้สะอาด ขยี้หรือตำให้ละเอียด คั้นน้ำหยดใส่แผลหรือใช้พอก จะทำให้เลือดหยุด (เป็นยาห้ามเลือดของชาวไทยภูเขาเผ่าแม้ว)


สีเสียดลาว

ชื่ออื่นๆ                  สีเสียดเหนือ, สีเสียดไทย, สีเสียด, สีเสียดแก่น (ราชบุรี), สีเสียดเหลือง (เชียงใหม่), สะเจ (ฉาน – แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้                ยางจากแก่นลักษณะเป็นสีน้ำตาลดำ แข็ง เปราะ ได้จากเอาแก่นของสีเสียดลาว มาเคี่ยวกับน้ำทำให้ข้น เทลงพิมพ์แห้งจะเเข็งตัว

ขนาด                     1 ก้อนเท่าหัวแม่มือ

วิธีใช้                      ฝนกับน้ำสะอาดให้ข้นๆ หยดใส่แผลจะช่วยห้ามเลือด และเป็นยาสมานแผลไปในตัว


ฝรั่ง

ชื่ออื่นๆ                  จุ่มโป่ (สุราษฎร์), ชมพู่ (ปัตตานี), มะก่อย (เชียงใหม่), มะก้อยยา, มะมั่น (เหนือ), มะกา (แม่ฮ่องสอน), มะจีน (ตาก), มะยู, เตปันยา (นราธิวาส), ยะริง (ลาว้า – เชียงใหม่), ยามู, ย่ามู่ (แหลมลายู), สีดา (นครปฐม)

ส่วนที่ใช้                ใบ

ขนาด                     5 – 6 ใบ

วิธีใช้                      ใบสดล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด พอกแผลที่มีเลือดออก เลือดจะหยุด


แห้วหมู

ชื่ออื่นๆ                  หญ้าขนหมู (แม่ฮ่องสอน), หญ้าแห้วหมูใหญ่, หญ้าแห้วหมู

ส่วนที่ใช้                ต้นและใบ

ขนาด                     5 – 10 ต้น

วิธีใช้                      นำมาล้างให้สะอาด หั่นตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำปูนใส ใช้พอกแผลที่เลือดออก


กระเม็ง

ชื่ออื่นๆ                  กระเม็งตัวเมีย, กาเม็งกระเม็ง (ไทย), ล้อม, หญ้าสับ, ห้อมเกี้ยว (เหนือ), ใบลบ (ใต้), บักอังน้อย, เฮ็กบักเช่า (จีน)

ส่วนที่ใช้                ต้นใบสด

ขนาด                     1 ต้น

วิธีใช้                      ล้างต้นใบให้สะอาด หั่นตำให้สะอาด จะผสมน้ำใสเล็กน้อยก็ได้ แล้วนำมาพอกแผลที่เลือดออก เลือดจะหยุด


บัวบก

ชื่ออื่นๆ                  ผักแว่น (จันทบุรี, ใต้), ปะหนะเอขาเด๊าะ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), ผักหนอก (เหนือ), แจ๊ะเเซะเข่า (จีน)

ส่วนที่ใช้                ทั้งต้นสด

ขนาด                     20 – 30 ใบ

วิธีใช้                      ล้างใบให้สะอาด ตำพอกแผลสด ช่วยห้ามเลือดและรักษาแผลให้หายเร็ว


หมากดิบน้ำค้าง

ชื่ออื่นๆ                  ผักขวง, สะเดาดิน (กรุงเทพฯ), แป๊ะฮวยเกี๋ย, จูเกี๋ยเช้า (จีน)

ส่วนที่ใช้                ต้นสด

ขนาด                     3 – 4 ต้น

วิธีใช้                      นำมาล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด ผสมเหล้าโรงเล็กน้อยพอกที่แผล รักษาแผลให้หายเร็วขึ้น


มะนาว

ชื่ออื่นๆ                  โกรยชะม้า (เขมร – สุรินทร์), ปะนอเกล, มะนอเกละ, มะเน้าดีเล (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), ปะโหน่งกลยาน (กะเกรี่ยง – กาญจนบุรี), ส้มมะนาว (ทั่วไป), ลีนาปีห์ (มลายู), หมากฟ้า (ฉาน – แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้                น้ำในผล

ขนาด                     ครึ่งช้อนชา หรือ ½ ช้อนแกง

วิธีใช้                      แผลถูกมีดบาด  เลือดไม่หยุด บีบน้ำมะนาวลงไป 3 – 4 หยดเลือดจะหยุด


เบญกานี

ชื่ออื่นๆ                  ลูกเบญกานี

ส่วนที่ใช้                ยางจากลำต้น (จะออกจากลำต้น เมื่อมีแมลงชนิดหนึ่งไปรบกวน และเมื่อทิ้งไว้จะแห้งเป็นก้อนกลมๆ สีเหลืองนวล)

ขนาด                     1 ลูก

วิธีใช้                      ฝนเบญกานีกับน้ำฝนให้ข้นๆ ทาบริเวณแผลสด จะช่วยสมานแผล


ว่านไก่น้อย

ชื่ออื่นๆ                  ละอองไฟฟ้า (กลาง), หัสแดง (นครราชสีมา), กูดผีป่า, กูดพาน (เหนือ), กูดเสือ, โพสี (ปัตตานี), ขนไก่น้อย (เลย), แตดลิง (ตราด), นิลโพสี (สงขลา)

ส่วนที่ใช้                ขนที่สะอาดบนต้นอ่อน

ขนาด                     1 กระจุกของขน

วิธีใช้                      เช็ดเลือดที่บาดแผลสดให้แห้ง รีบเอาขนสีทองที่สะอาดปิดลงไปบนปากแผล จะช่วยห้ามเลือด


ฤาษีผสมแล้ว

ชื่ออื่นๆ                  ฤาสีผสม

ส่วนที่ใช้                ใบสด

ขนาด                     3 – 4 ใบ

วิธีใช้                      นำใบฤาษีผสมแล้วที่สะอาด ตำให้ละเอียดด้วยภาชนะที่สะอาด ใช้พอกที่แผลสด เลือดจะหยุด


ข้อควรระวัง         การใช้สมุนไพร ในการตำพอกหรือบีบน้ำใส่ในแผลสด ให้ระวังในการเตรียมยาต้องสะอาด และห้ามแผลถูกน้ำ ถ้าเป็นยาพอกให้เปลี่ยนทุกๆ วัน

Scroll to top