น้อยโหน่ง

น้อยโหน่ง

อยโหน่ง อยู่ในวงศ์กระดังงา สกุลเดียวกับ น้อยหน่า  เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีดอกคล้ายดอกของน้อยหน่า แต่ผลมีขนาดโตกว่า เปลือกบางแต่เหนียว ค่อนข้างเรียบ ไม่นูนเป็นตา ๆ สีเขียวจาง ๆ ปนสีแดงเรื่อ ๆ

น้อยโหน่ง

น้อยโหน่ง

ชื่ออื่น ๆ : มะโหน่ง, มะเหนีงแฮ้(ภาคเหนือ), น้อยหน่า(ปัตตานี), เร็งนา(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), น้อยหนัง(ภาคใต้), มะดาก(แพร่), หมากอ้อ(แม่ฮ่องสอน), หนอนลาว(อุบลราชธานี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Annona reticulata Linn.
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE

เนื้อในผลหนาสีขาว รสชาติหวานแต่ไม่เท่าน้อยหน่า มีเมล็ดมาก มีคุณค่าทางอาหาร คือ วิตามินเอมากกว่าน้อยหน่า นอกจากนี้แล้วยังมีสรรพคุณทางยา คือ ผลทั้งดิบและสุกแก้ท้องร่วง โรคบิด โรคซาง ลมจุกเสียด แก้พยาธิในท้อง และพยาธิผิวหนัง, รากใช้แก้เหงือกบวม รักษาโรคเรื้อน เปลือกและต้นแก้บิด ท้องเสีย เป็นยาห้ามเลือดและสมานแผล, ใบใช้ฆ่าพยาธิผิวหนัง แก้บวมและฟกช้ำ เมล็ดใช้เป็นยาสมานแผล นอกจากนี้แล้วทั้งผลดิบและใบสดยังสามารถใช้ต้มเอาน้ำทำเป็นสีย้อมผ้าให้สีดำและสีน้ำเงินที่สวยงามและติดทนนานอีกด้วย

น้อยโหน่ง จะนิยมรับประทานน้อยกว่าน้อยหน่าเนื่องจากผลมีกลิ่นฉุน ยังมีชื่อเรียกต่างกันไปตามภาษาถิ่นในแต่ละภาคอีกด้วย เช่น มะโหน่ง หรือ มะเนียงแฮ้ง (ภาคเหนือ), น้อยหนัง (ภาคใต้) เป็นต้น

ทั้งน้อยโหน่งและน้อยหน่า มิใช่พืชพื้นเมืองของไทยหรือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เป็นพืชพื้นเมืองของภูมิภาคอเมริกากลาง เชื่อว่าถูกเข้านำมาครั้งแรกในสมัยอยุธยา แต่ปัจจุบัน สามารถพบน้อยโหน่งและน้อยหน่าได้ทั่วไปทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ไต้หวัน, อินเดีย, ออสเตรเลีย และแอฟริกาตะวันตก

ลักษณะของน้อยโหน่ง :

  • ต้นน้อยโหน่ง เป็นไม้ยืนต้น ที่มีลำต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาโค้งคด เปลือกของต้นอ่อนจะเป็นสีน้ำตาลกระขาว พอแก่เป็นสีเทา ลำต้นสูงประมาณ 6-7 เมตร
  • ใบน้อยโหน่ง ออกใบเดี่ยว เรียงสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปหอกขอบขนาน ปลายใบแหลมและเป็นติ่งแหลม ขอบใบเรียบ มีสีเขียวเป็นมันแต่ด้านใต้ใบสีจะอ่อนกว่าด้านบน ขนาดของใบกว้างประมาณ 2-2.5 นิ้วยาว 5-7 นิ้ว
  • ดอกน้อยโหน่ง ออกเป็นช่อ และบางทีก็เป็นดอกเดี่ยว ๆ ช่อหนึ่งจะมีดอกอยู่ประมาณ 1-3 ดอก ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับใบ ดอกมีสีเหลืองอมเขียว มี 2 ชั้น ๆ ละ 3 กลีบชั้นในกลีบดอกจะเล็กกว่าชั้นนอก ก้านดอกจะห้อยลงยาวประมาณ 2 นิ้ว
  • ผลน้อยโหน่ง ขนาดของผลจะมีขนาดใหญ่กว่าน้อยหน่า ผลรูปกลมหรือรูปทรงหัวใจ ผิวเปลือกบางเรียบน้อยโหน่งแต่เหนียว ไม่มีตาโปนออกมาตามเปลือกเหมือนน้อยหน่า ผลดิบเปลือกมีสีเขียวจางๆปนแดงเรื่อๆ แต่เมื่อสุกจะเป็นสีแดงอมน้ำตาลเข้ม เนื้อข้างในผลหนามีสีขาว มีเมล็ดจำนวนมาก และมีรสหวานแต่ไม่เท่าน้อยหน่า โดยน้อยโหน่งจะได้รับความนิยมในการรับประทานน้อยกว่าน้อยหน่า เนื่องจากผลน้อยโหน่งมีกลิ่นฉุนนั่นเอง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to top