พยัพเมฆ
ชื่ออื่นๆ หญ้าหนวดแมว (กลาง, ตะวันออก, จันทบุรี), เงียวชิวเช้า (จีน)
ส่วนที่ใช้ ทั้งต้นสด
ขนาด 1 กำมือ
วิธีใช้ ทำยาชงดื่มต่างน้ำ เหมาะกับคนไข้ที่เป็นโรคบวมน้ำ จะทำให้รูปยาชงของต้นแห้งแรง 10% ก็ได้
หญ้าคา
ชื่ออื่นๆ เก้อฮี (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), ลาลาง (มลายู), ลาแล (ยะลา), คา, คาเหลือง
ส่วนที่ใช้ ราก เหง้า
ขนาด 1 กำมือ
วิธีใช้ ต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้ผัดรับประทาน
คื่นฉ้าย
ชื่ออื่นๆ ผักข้าวปืน, ผักปืน, ผักบืม (เหนือ)
ส่วนที่ใช้ ต้นสด
ขนาด 1 กำมือ
วิธีใช้ ต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้ผัดรับประทาน
กระเจี๊ยบแดง
ชื่ออื่นๆ กระเจี๊ยบ, กระเจี๊ยบเปรี้ยว (กลาง), ผักเก็งเค็ง, ส้มเก็งเค็ง (เหนือ), ส้มตะแลงแคง (ตาก), ส้มปู (ฉาน – แม่ฮ่องสอน),
ส่วนที่ใช้ กลีบของผล
ขนาด ไม่จำกัด
วิธีใช้ ใช้ต้มกับน้ำดื่ม หรือทำเป็นเครื่องดื่มที่เรียกว่า “น้ำกระเจี๊ยบ”
สับปะรด
ชื่ออื่นๆ ขนุนทอง, ยานัด, ย่านนัด (มลายู), เนะซะ (กะเหรี่ยง – ตาก), แนะ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), บ่อถนัด (เชียงใหม่), มะขะนขัด, มานัด (เหนือ), ม้าเนื่อ (เขมร), ลิงทอง (เพชรบูรณ์), สับปะรดลาย (กรุงเทพฯ), หมากเก็ง (ฉาน – แม่ฮ่องสอน), มะลิ สงขลา)
ส่วนที่ใช้ เหง้าสด
ขนาด 1 – 2 เหง้า
วิธีใช้ ต้มกับน้ำดื่มครั้งละ ½ ถ้วยแก้ว
ตะไคร้
ชื่ออื่นๆ คาหอม (ฉาน – แม่ฮ่องสอน), ไคร (มลายู), จะไคร (เหนือ), เชิดเกรย, เหลอะกราย (เขมร – สุรินทร์), ห่อวอตะโป (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), หัวสิงไค (เขมร – ปราจีนบุรี)
ส่วนที่ใช้ รากสด
ขนาด 1 กำมือ
วิธีใช้ รากตะไคร้ต้มกับน้ำ ดื่มบ่อยๆ
โคกกระสุน
ชื่ออื่นๆ หนามกระสุน (ลำปาง), หรามดิน (ตาก)
ส่วนที่ใช้ ทั้งต้น
ขนาด –
วิธีใช้ ต้มกับน้ำ ความแรง 10% รับประทานครั้งละ ½ ถ้วยแก้ว
หญ้าใต้ใบ
ชื่ออื่นๆ หญ้าลูกใต้ใบ (กลาง), มะขามป้อมดิน (เหนือ, ลำพูน), ไฟเดือนห้า (ชลบุรี), หมากไข่หลัง (เลย), จูเกี๋ยเช้า (จีน),
ส่วนที่ใช้ ทั้งต้นสด
ขนาด 1 กำมือ
วิธีใช้ ต้มกับน้ำดื่ม 2 ถ้วยแก้ว ดื่มแต่น้ำครั้งละครึ่งเเก้ว
เตยหอม
ชื่ออื่นๆ ปาแนะวองิง (นราธิวาส), หวานข้าวไหม้ (กลาง), ปาแบ๊ะออริง (ใต้), พังลั้ง (จีน)
ส่วนที่ใช้ ต้น ราก
ขนาด ใช้ต้น 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ
วิธีใช้ ต้มกับน้ำดื่ม
แห้วหมู
ชื่ออื่นๆ หญ้าขนหมู (แม่ฮ่องสอน), หญ้าแห้วหมูใหญ่, หญ้าแห้วหมู
ส่วนที่ใช้ หัวใต้ดิน
ขนาด 5 – 7 หัว
วิธีใช้ บดให้ละเอียด คลุกกับน้ำผึ้งกลืนเป็นยาลูกกลอน รับประทาน 1 ครั้ง
หญ้าถอดปล้อง
ชื่ออื่นๆ หญ้าสองปล้อง (ภาคกลาง), หญ้าถอดบ้อง, หญ้าหูหนวก (เหนือ), เครื่อเซาะปอยวา, แยปอ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน),
ส่วนที่ใช้ ทั้งต้น
ขนาด 1 กำมือ
วิธีใช้ ต้มกับน้ำดื่ม
ไมยราบ
ชื่ออื่นๆ ไมยราบ, ระงับ (ไทย), หงับพระพาย (ชุมพร), กระทืบยอด, หนามหญ้าราบ (จันทบุรี), กะหงับ (ใต้), ก้านของ (นครศรีธรรมราช), นาหมื่นบ่ะ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), หญ้าบันยอด, หญ้าจิยอบ, หญ้าพันยอด (เหนือ), กาเสดโคก (หนองคาย)
ส่วนที่ใช้ ทั้งต้นสด
ขนาด 1 กำมือ
วิธีใช้ ต้มกับน้ำดื่ม
หญ้าไทร
ชื่ออื่นๆ หญ้าคมบาง (นครศรีธรรมราช), หญ้าทราย (กลาง)
ส่วนที่ใช้ ทั้งต้น
ขนาด 1 กำมือ
วิธีใช้ ต้มกับน้ำดื่ม
ขี้เหล็ก
ชื่ออื่นๆ ขี้เหล้กใหญ่ (ไทย), ขี้เหล็กบ้าน, ขี้เหล็กหลวง, ขี้เหล็กกินดอก (พายัพ), ยะหา (ปัตตานี), ขี้เหล็กเผือก (เชียงใหม่),
ส่วนที่ใช้ ทั้งต้น
ขนาด 1 กำมือ
วิธีใช้ ต้มกับน้ำดื่ม
ชุมเห็ดเทศ
ชื่ออื่นๆ ชุดเห็ดเขาควาย, ชุมเห็ดนา, ชุมเห็ดเล็ก (ไทย), พรมดาน (สุโขทัย),
เล็บมื่น, เล็บมื่นน้อย (พายัพ – อีสาน)
ส่วนที่ใช้ ต้น ราก
ขนาด ใช้ 1 ต้น ถ้ารากใช้ 2 ราก
วิธีใช้ ต้มกับน้ำดื่ม
ผักกาดน้ำ
ชื่ออื่นๆ หมอน้อย (กท.), หญ้าเอ็นยืด (เหนือ), ชีแต้เช้า, เชียแต้เช้า เจียเจ้ยเช้า, เชียเจ้นเช้า (จีน)
ส่วนที่ใช้ ทั้งต้นสด
ขนาด 1 กำมือ
วิธีใช้ ต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ ½ ถ้วยแก้ว
หญ้างวงช้าง
ชื่ออื่นๆ กุนอกาโม (ปัตตานี), หญ้างวงช้างน้อย (พายัพ), หวายงวงวช้าง (ศรีราชา), ผักเเพวขาว (กาญจนบุรี), ไต่ป๋วยเอี๊ยว, เฉี่ยผี่เช่า, เงียวป๋วยเช่า (จีน)
ส่วนที่ใช้ ทั้งต้นสด
ขนาด 30 – 60 กรัม ต้นสด หรือ 1 ต้นที่ออกดอก
วิธีใช้ สับต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ ½ ถ้วยแก้ว
ข้าวโพด
ชื่ออื่นๆ ข้าวสาลี, สาลี (เหนือ), บือคะเส่ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), ข้าวแข่ (ฉาน – แม่ฮ่องสอน), โพด (ใต้)
ส่วนที่ใช้ หนวดข้าวโพด (เกษรตัวเมียของขาวโพด)
ขนาด 4 กรัม
วิธีใช้ นำหนวดข้าวโพดมาต้มกับน้ำ 1 แก้ว เคี่ยวไปอ่อนๆ ให้เหลือ ครึ่งแก้วรับประทาน 1 ครั้ง รับประทานไปเรื่อยๆ เช่นน้ำชา
ขลู่
ชื่ออื่นๆ ขลู (ใต้), หนาดงั่ว, หนวดงิ้ว, หนวดวัว (อุดร)
ส่วนที่ใช้ ทั้งต้นสดหรือแห้ง
ขนาด ไม่จำกัด
วิธีใช้ คั่วให้เหลือง ใช้ชงน้ำดื่มเช่นน้ำชา
เถาวัลย์เปรียง
ชื่ออื่นๆ เครือเขาหนัง, เถาสตาปลา (นครราชสีมา), พานไสน (ชุมพร)
ส่วนที่ใช้ เถาสดหรือแห้ง
ขนาด 2 หยิบมือ
วิธีใช้ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว ให้เหลือ 1 ½ ถ้วยแก้ว ดื่มเช้าเย็น ครั้งละครึ่งแก้ว
ข้อควรระวังการใช้สมุนไพรเป็นยาขับปัสสาวะ ให้ระวังในผู้ป่วยที่เป็นโรคไต เนื่องจากใน
สมุนไพรบางชนิดมาสารโปรแตสเซียมสูง เช่น ในต้นหญ้าหนวดแมว ซึ่งถ้าไตไม่ปกติจะไม่
สามารถขับถ่ายสารโปรแตสเซียมซึ่งมีปริมาณสูงออกจากร่างกายให้ปริมาณโปรแตสเซียมอยู่ใน
ภาวะปกติได้ ถ้าเป็นเช่นนี้จะ ทำให้เกิดโทษต่อร่างกายอย่างร้ายแรง