สมุนไพรแก้ไอขับเสมหะ

กระเทียม

ชื่ออื่นๆ                 หอมเทียม (พายัพ), เทียม, หัวเทียม (ใต้, ปัตตานี)

ส่วนที่ใช้               หัว

ขนาด                     1 – 2 กลีบ

วิธีใช้                      โขนกให้ละเอียด เติมน้ำส้มสายชูประมาณ 2 – 3 ช้อนแกง คั้นเอาแต่น้ำรับประทาน


มะนาว

ชื่ออื่นๆ                 โกรยชะม้า (เขมร – สุรินทร์), ปะนอเกล, มะนอเกละ, มะเน้าดีเล (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), ปะโหน่งกลยาน (กะเกรี่ยง – กาญจนบุรี), ส้มมะนาว (ทั่วไป), ลีนาปีห์ (มลายู), หมากฟ้า (ฉาน – แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้               น้ำในผลที่โตเต็มที่ เมล็ดมะนาว

ขนาด                     น้ำมะนาว 2 – 3 ช้อนแกง เมล็ด 10 – 20 เมล็ด

วิธีใช้                      น้ำมะนาวเติมเกลือเล้กน้อย จิบจะช่วยให้เสมหะถูกขับออกดีและเสียงดี ถ้าเป็นเมล็ดเอาไปคั่วให้เหลือง บดให้ละเอียดเติมพิมเสน 2 – 5 เกล็ด ชงน้ำร้อนรับประทาน เป็นยาขับเสมหะ


มะแว้งต้น

ชื่ออื่นๆ                 มะแว้งขม, มะแคว้ง, มะแคว้งขม, มะแคว้งคม, มะแคว้งดำ (เหนือ), มะแว้ง (กลาง), แว้งคม (สงขลา – สุราษฏร์ธานี), สะกั้งแค (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), หมากแฮ้งคง (ฉาน – แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้               ผลแก่

ขนาด                     ในเด็ก 2 – 3 ผล ผู้ใหญ่ 10 – 20 ผล

วิธีใช้                      ในเด็กใช้เป็นน้ำกระสายยากวาดแก้ไอขับเสมหะ ผู้ใหญ่ใช้รับประทาน เป็นทั้งยาขมเจริญอาหารและแก้ไอ


มะแว้งเครือ

ชื่ออื่นๆ                 มะแว้ง

ส่วนที่ใช้               ผลแก่

ขนาด                     ในเด็ก 2 – 3 ผล ผู้ใหญ่ 10 – 20 ผล

วิธีใช้                      ในเด็กใช้เป็นน้ำกระสายยากวาดแก้ไอขับเสมหะ ผู้ใหญ่ใช้รับประทาน เป็นทั้งยาขมเจริญอาหารและแก้ไอ


ตำแยแมว

ชื่ออื่นๆ                 ตำแยตัวผู้ (ภาคกลาง), หานแมว (เหนือ)

ส่วนที่ใช้               ทั้งต้นสด

ขนาด                     1 กำมือ

วิธีใช้                      ใช้ทั้งตนสับ ต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยตะไล เช้า – เย็น

ข้อควรระวัง          ถ้ารับประทานยานี้เกินขนาด จะทำให้อาเจียน


เสนียด

ชื่ออื่นๆ                 กระเหนียด (คาบสมุทร), กุลาขาว, บัวลาขาว, บัวฮาขาว (เหนือ), โมราขาว, โมราดำ, โบราขาว (เชียงใหม่), โมรา, เสนียดโมรา (กลาง), หูรา (นครพนม), หูหา (เลย)

ส่วนที่ใช้               ใบสด

ขนาด                     4 – 5 ใบสด ยาต้มใช้ 1 กำมือ

วิธีใช้                      น้ำคั้นจากใบสดประมาน 1 – 2 ช้อนแกง ผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำคั้นจากขิงสด รับประทานแก้ไอ ถ้าทำเป็นยาต้มใช้ใบสด 1 กำมือ ต้มกับพริกไทย 10 – 20 เมล็ด ใส่น้ำ 3 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือครึ่งถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1 – 2 ช้อนแกง


ผักเบี้ยใหญ่

ชื่ออื่นๆ                 ผักตากโค้ง (นครราชสีมา), ผักเบี้ยดอกเหลือง, ผักอีหลู (ฉาน – แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้               ต้นสด

ขนาด                     1 กำมือ

วิธีใช้                      ตำต้นสด คั้นเอาแต่น้ำ เติมน้ำผึ้ง 1 ช้อน รับประทาน 1 ครั้ง จะระงับอาการไอ ถ้ายังไม่ค่อยยังชั่วใช้ติดต่อกันได้ 5 – 6 ครั้ง


ยูคาลิป

ชื่ออื่นๆ                 น้ำมันเขียว

ส่วนที่ใช้               น้ำมันที่กลั่นได้จากใบสด

ขนาด                     น้ำมัน 0.5 มิลลิลิตร (8 หยด)

วิธีใช้                      ใช้รับประทาน หรือทำยาอม

ข้อควรระวัง          อย่าใช้เกินขนาดจะรัคายเคืองต่อทางเดินอาหาร


เสม็ดขาว

ชื่ออื่นๆ                 กือแล (ปัตตานี), เม็ด, เหม็ด (มลายู), เสม็ด (ทั่วไป)

ส่วนที่ใช้               น้ำมันที่กลั่นจากใบสด

ขนาด                     น้ำมัน 0.3 มิลลิลิตร (6 หยด)

วิธีใช้                      รับประทาน หรือทำเป็นลูกกวาดอม


ชะเอมไทย

ชื่ออื่นๆ                 ชะเอมป่า (กลาง), ตาลอ้อย (ตราด), เพาะซูโพ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), เซเบี๊ยดกาชา, ย่านงาย (ตรัง), ส้มป่อยหวาน (เหนือ), อ้อนช้าง (สงขลา, นราธิวาส), ดอกกั๋น (ชุมพร)

ส่วนที่ใช้               ราก

ขนาด                     รากยาว 2 – 4 นิ้ว

วิธีใช้                      ต้มกับน้ำรับประทานเช้าเย็น ถ้าไม่ค่อยยังชั่วรับประทานติดต่อกัน 2 – 4 วัน


ดีปลี

ชื่ออื่นๆ                 ประดงข้อ, ปานนุ, พิษพญาไฟ (ไทย), ปิ๊กฮวด (จีนแต้จิ๋ว),

ส่วนที่ใช้               ผลโตเต็มที่

ขนาด                     ½ – 1 ผล

วิธีใช้                      ฝนกับน้ำมะนาวแทรกเกลือ 2 – 3 เม็ด ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อ

Scroll to top