สมุนไพรรักษาเหา

ยาใช้ภายนอก

น้อยหน่า

ชื่ออื่นๆ                 เตียบ (เขมร), น้อยแน่ (ใต้), มะนอแน่, มะแน่ (เหนือ), มะออจ้า, มะโอจ่า (ฉาน – เหนือ), ลาหนัง (ปัตตานี), หน่อเกล๊าะแซ (ฉาน – แม่ฮ่องสอน), หมักเขียบ, มะเขียบ (ตะวันออกเฉียงเหนือ)

ส่วนที่ใช้               ใบสด เมล็ดในสด

ขนาด                     ใบสด 8 – 12  ใบ เมล็ดที่กะเทาะเปลือกแล้ว ตำให้ละเอียด 4 – 5 ช้อนแกง

วิธีใช้                      ใบสด หรือเมล็ดในที่กะเทาะเปลือกเเล้ว ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันถั่ว พอเปียกเล็กน้อย (แฉะๆ) ชะโลมบนเส้นผมที่เป็นเหา ทิ้งไว้ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง สระออกให้หมด ทำเช่นนี้ติดต่อกัน 2 – 3 วัน ตัวหัวเเละไข่จะฝ่อหมด หรืออาจจะใช้ความแรงของใบสดหรือเมล็ดน้อยหน้ากับน้ำมันมะพร้าว ความแรง 1 : 2


ยาสูบ

ชื่ออื่นๆ                 จะวั้ว (เขมร – สุรินทร์), ยาฉุน, ยาเส้น

ส่วนที่ใช้               ยาฉุนหรือยาตั้ง (ใบยาสูบแก่ตากแห้ง)

ขนาด                     1 หยิบมือ

วิธีใช้                      ใช้ยาฉุนผสมกับน้ำมันก๊าดประมาณ 3 – 4 ช้อนแกง ชะโลมทั้งน้ำและยาเส้นบนผมทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง แล้วสระใช้สะอาด ทพติดต่อกัน 3 – 4 วัน


หนอนตายอยาก

ชื่ออื่นๆ                 กะเพียด (ชลบุรี), หนอนตายอยากเล็ก (ไทย), โป่งมดง่าม (สระบุรี), กะเพียดหนู (ตะวันออก)

ส่วนที่ใช้               รากสด

ขนาด                     3 – 4 รากสด

วิธีใช้                      ล้างน้ำให้สะอาด ตำผสมน้ำชะโลมเส้นผม ทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง จึงสรออกให้สะอาด ทำติดต่อกัน 2 – 3 วัน


ขอบชะนาง

ชื่ออื่นๆ                 ตาสีเพาะเกล, ตาสียาเก้อ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), เปลือกมืนดิน (แม่ฮ่องสอน), หญ้าหนอนตาย (เหนือ), ขอบชะนางขาว, หนอนขาว, หนอนตายอยากขาว, ขอบชะนางแดง, หนอนแดง (ภาคกลาง)

ส่วนที่ใช้               ทั้งต้นสด

ขนาด                     2 – 3 ต้นกลาง

วิธีใช้                      ขอบชะนางขาวและแดงนี้ เป็นพืชชนิดเดียวกัน แต่ถ้าต้นถูกแดดจัดจะทำให้ต้นและใบมีสีแดง นำต้นสดตำ ผสมน้ำมันมะพร้าว 3 – 4 ช้อนแกง ชะโลมบนผมทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง แล้วสระออกให้สะอาด ทำติดต่อกัน 3 – 4 วัน


หางไหล

ชื่ออื่นๆ                 กะลำเพาะ (เพชรบุรี), เครือไหลน้ำ, หางไหลแดง, ไหลน้ำ (เหนือ), โพตาโกส้า (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), อวดน้ำ สุราษฎร์ธานี), โล่ติ๊น

ส่วนที่ใช้               เถาสด

ขนาด                     ยาว 2 – 3 นิ้วฟุต (แล้วแต่ความใหญ่ของต้น)

วิธีใช้                      ตำเถาให้ละเอียด ผสมน้ำมันพืช ชะโลมบนเส้นผม ทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง จึงสระให้สะอาด ควรสระติดต่อกัน 2 – 3 วัน


เลี่ยน

ชื่ออื่นๆ                 เฮี่ยน, เคี่ยน, เกรียน (เหนือ)

ส่วนที่ใช้               เปลือกต้น ลูกที่โตเต็มที่สดๆ

ขนาด                     10 – 15 ผล เปลือกประมาณครึ่งผ่ามือ

วิธีใช้                      นำเปลืออกหรือลูกโขลกให้ละเอียด เติมน้ำมันมะพร้าว 3 – 4 ช้อนแกง ชะโลมผมที่เป็นเหา ทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง แล้วสระให้สะอาด สระติดต่อกัน 2 – 3 วัน


ผักเสี้ยน

ชื่ออื่นๆ                 ผักส้มเสี้ยน (เหนือ), ผักเสี้ยนขาว (กลาง), ผักเสี้ยนไทย, ผักเสี้ยนตัวผู้, ผักเสี้ยนดอง

ส่วนที่ใช้               เมล็ดของฝักแก่และสด

ขนาด                     2 ช้อนแกง

วิธีใช้                      ตำให้ละเอียด เติมน้ำมันพืช ชะโลมผม สระให้สะอาดเช่นเดียวกับสมุนไพรตัวอื่นๆ

ข้อควรระวัง

  1. การใช้ขนาดของสมุนไพร ขึ้นอยู่กับผมยาวผมสั้น ถ้าผมยาวต้องใช้ขนาดเพิ่มขึ้น ผมน้อยอาจต้องใช้ลดลง น้ำมันพืชก็เช่นเดียวกัน
  2. การชะโลมผมระวังอย่าให้เข้าตา (ถ้าเข้าตาให้รีบล้างออก)
  3. อย่าชะโลมยาไว้ค้างคืน
  4. การสระต้องสระให้สะอาดจริงๆ
Scroll to top