สมุนไพรขมเจริญอาหาร

มะระ

ชื่ออื่นๆ                 ผักเหย (ลงขลา), ผักไห (นครศรีธรรมราช), มะร้อยรู (กลาง), มะห่อย, มะไห่, มะนอย (เหนื), สุพะซู, สุพะเด (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), มะระเล็ก, มะระขี้นก (ทั่วไป), โกควยเกี๊ยะ (จีน)

ส่วนที่ใช้               เนื้อของผล

ขนาด                     ไม่จำกัด

วิธีใช้                      ใช้เป็นอาหาร ผักจิ้ม ต้ม แกง

มะระ มี 2 ชนิด

  1. มะระขี้นก คือมะระที่มีผลเล็กๆ สั้นป้อม ผลยาวประมาณ 2 -3 นิ้ว ผิวผลขรุขระ สีเขียวแก่
  2. มะระจีน ผลยาวใหญ่ สีขาวอมเขียว ผิวขรุขระร่องใหญ่ ผลยาวประมาณ 4 9 นิ้วฟุต แต่ที่งามๆ ยาวถึง 10 – 14 นิ้วฟุต

เจตมูลเพลิง

ชื่ออื่นๆ                 คุยวู่ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), ตั้งชู้โว้ (กระเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), พิดปิวแดง. ปิดปิวแดง (เหนือ), เจตมูลเพลิง, ไฟใต้ดิน (มลายู), อุบะกูจ๊ะ (ปัตตานี)

ส่วนที่ใช้               ราก

ขนาด                     –

วิธีใช้                      ใช้ผสมกับ ผลสมอพิเภก ดีปลี ขิง อย่างละเท่ากันๆ กัน บดเป็นผงรวมกัน รับประทานกับน้พร้อนครั้งละ 2.5 กรัม ประมาณ 1 ช้อนแกง


สะเดา

ชื่ออื่นๆ                 กะเดา (มลายู), จะตัง (ส่วย), สะเลี่ยม (เหนือ), กาเดา (นครพนม), เดา (ใต้)

ส่วนที่ใช้               ช่อดอกและยอดอ่อน, เปลือก

ขนาด                     ช่อดอกไม่จำกัด เปลือกสดประมาณ 1 ฝ่ามือ

วิธีใช้                      ช่อดอกลวกน้ำร้อนจิ้มน้ำปลาหวาน หรือน้ำพริก, เปลือกต้มน้ำ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ ½ ถ้วยแก้ว


สะเดาอินเดีย

ชื่ออื่นๆ                 ควินิน (ทั่วไป), สะเดา (กลาง), เดา (เหนือ)

ส่วนที่ใช้               ช่อดอกและยอดอ่อน, เปลือก

ขนาดและวิธีใช้   เช่นเดียวกับสะเดา

สะเดาอินเดียจะมีรสขมจัดกว่าสะเดา


คื่นช่าย

ชื่ออื่นๆ                 ผักข้าวปืน, ผักปืน, ผักบืม (เหนือ)

ส่วนที่ใช้               ทั้งต้นสด

ขนาด                     ไม่จำกัด

วิธีใช้                      ใช้เป็นอาหาร ผัด ที่สลัด และอื่นๆ


ฟ้าทะลาย

ชื่ออื่นๆ                 หญ้าก้นงู (สงขลา), น้ำลายพังพอน, คีปังสี, ชวงซิมน้อย, เจ้กเกี้ยงฮี่, โข่วเช่า, ซี้กังปี (จีน)

ส่วนที่ใช้               ทั้งต้น

ขนาด                     ต้นสด 8 – 10 กรัม ต้นแห้ง 3 กรัม

วิธีใช้                      ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาขมบำรุงหัวใจ


กระดอม

ชื่ออื่นๆ                 ขี้กาดง (สระบุรี), ผักแคบป่า (น่าน), มะนอยจา (เหนือ), มะนอยหก, มะนอยหกฟ้า (แม่ฮ่องสอน), กะดอง, กะดอม (ตะวันออก)

ส่วนที่ใช้               ผลแก่ยังไม่สุก

ขนาด                     ผลตากแห้ง 6 – 7 ผล, หรือผลสดไม่จำกัดจำนวน

วิธีใช้                      เอาผลแก่แต่ไม่สุก แคะเมล็ดออกนำมาลวงน้ำ 1 ครั้ง นำไปแกงคั่ว หรือถ้าจะใช้ผลแห้ง 6 – 7 ผลต้มน้ำรับประทานเติมเกลือเล็กน้อย เพื่อกลบรสขมจัด


มะแว้งต้น

ชื่ออื่นๆ                 มะแว้งขม, มะแคว้ง, มะแคว้งขม, มะแคว้งคม, มะแคว้งดำ (เหนือ), มะแว้ง (กลาง), แว้งคม (สงขลา – สุราษฏร์ธานี), สะกั้งแค (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), หมากแฮ้งคง (ฉาน – แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้               ผลโตเต็มที่

ขนาด                     10 – 20 ผล

วิธีใช้                      รับประทานเป็นอาหารกับน้ำพริก


มะแว้งเครือ

ชื่ออื่นๆ                 มะแว้ง

ส่วนที่ใช้               ผลโตเต็มที่แต่ยังสุก

ขนาดและวิธีใช้   เช่นเดียวกับมะแว้งต้น


ขิง

ชื่ออื่นๆ                 ขิงบ้าน, ขิงเผือก (เชียงใหม่)

ส่วนที่ใช้               เหง้าสด หรือผงแห้ง

ขนาด                     เหง้าสดประมาณ 1 องคุลี, ถ้าผงแห้งใช้ ½ ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 0.6 กรัม

วิธีใช้                      ผงแห้งชงกับน้ำดื่ม เหง้าสดต้มน้ำ หรือใช้ปรุงอาหาร เช่น ผัด, หรือรับประทานสดๆ เช่น กับลาบ กับแหนม และอื่นๆ


 บอระเพ็ด

ชื่ออื่นๆ                 จุ่งจริงตัวแม่, เจ็ดมุลย่าน, เจ็ดมูลหนาม, จุ่งจิง (เหนือ), เครือเขาฮ่อ (หนองคาย), ตัวเจดมูลย่าน, เถาหัวด้วน (สระบุรี), หางหนู (อุบล, สระบุรี)

ส่วนที่ใช้               เถาสด เถาแห้ง

ขนาด                     เถาสด และแห้ง ½ องคุลี

วิธีใช้                      ทำเป็นทิงเจอร์ความแรง 1 ใน 10 รับประทานครั้งละ 2 ช้อนชา หรือ 1 ช้อนแกง


เจตพังคี

ชื่ออื่นๆ                 เจตพังคี (เชียงใหม่), ตองตาพราน (สระบุรี), ตะะเกีย, เปล้าเงิน, หนาดตะกั่ว (นครราชสีมา), ใบหลังขาว, พังคี, ปังคี, ป่านดงเหลือง (กลาง), เปล้าน้ำเงิน (มลายู), มนเขา (สุราษฏร์ธานี), สมี (ประจวบคีรีขันธ์)

ส่วนที่ใช้               ราก

ขนาด                     –

วิธีใช้                      ใช้รวมกับไพล กะทือบ้าน กระเทียม ขิง พริกไทย, ดีปลี, รากเจตมูลเพลิงแดง และรากเจตพังคี อย่างละเท่าๆ กัน บดให้เป็นผง รับประทานกับน้ำตาลทรายแดง ใช้รับประทานครั้งละ 1- 2 เม็ด ขนาดเม็ดพุทรา


พญาสัตบรรณ

ชื่ออื่นๆ                 กะโน๊ะ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), จะบัน (เขมร – ปราจีน), ชบา, ตีนเป็ด (กลาง), ตีนเป็ดขาว (ยะลา), บะซา, ปูลา, ปูและ (มลายู, ปัตตานี), ยางขาว (ลำปาง), สัตบรรณ (กลาง – จันทบุรี), หัสบรรณ (กาญจนบุรี)

ส่วนที่ใช้               เปลือก

ขนาด                     –

วิธีใช้                      เปลือกบดเป็นผง แล้วทำเป็นยาชง ใช้ความแรง 1 ใน 30 ใช้รับประทานครั้งละ 1 – 2 ช้อนแกง


กรรณิการ์

ชื่ออื่นๆ                 กณิการ์, กรณิการ์ (กลาง), กันลิกา

ส่วนที่ใช้               ใบสด

ขนาด                     1 กำมือ

วิธีใช้                      ตำใบสด เติมน้ำคั้นเอาเเต่น้ำ 1 ถ้วยแก้ว แบ่งรับประทาน 4 ครั้ง ถ้ารับประทานมากจะเป็นยาระบาย


ประทัดใหญ่   

ชื่ออื่นๆ                 ปิง, ประทัด, ประทัดจีน, ประทัดทอง (ก.ท.)

ส่วนที่ใช้               เนื้อไม้

ขนาด                     0.5 กรัม ประมาณ 4 – 5 ชิ้น

วิธีใช้                      ชงน้ำเดือด ½ ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งเดียว

Scroll to top