สมุนไพรแก้ไข้ ลดความร้อน

หญ้าใต้ใบ

ชื่ออื่นๆ                 หญ้าลูกใต้ใบ (กลาง), มะขามป้อมดิน (เหนือ, ลำพูน), ไฟเดือนห้า (ชลบุรี), หมากไข่หลัง (เลย), จูเกี๋ยเช้า (จีน),

ส่วนที่ใช้               ทั้งต้นสด

ขนาด                     ต้นสด 1 กำมือ

วิธีใช้                    ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ½ ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว


ลูกใต้ใบ

ชื่ออื่นๆ                 มะขามป้อมดิน (เหนือ), หญ้าใต้ใบ (นครสวรรค์, อ่างทอง, ชุมพร), หญ้าใต้ใบ (สุราษฏร์)

ส่วนที่ใช้               ทั้งต้นสด

ขนาดและวิธีใช้   เหมือนหญาใต้ใบ

 


บอระเพ็ด

ชื่ออื่นๆ                 จุ่งจริงตัวแม่, เจ็ดมุลย่าน, เจ็ดมูลหนาม, จุ่งจิง (เหนือ), เครือเขาฮ่อ (หนองคาย), ตัวเจดมูลย่าน, เถาหัวด้วน (สระบุรี), หางหนู (อุบล, สระบุรี)

ส่วนที่ใช้               เถาสด

ขนาด                     –

วิธีใช้                      ใช้ดองเหล้าความแรง 1 ใน 10 รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชาของยาที่เตรียมไว้


แคบ้าน

ชื่ออื่นๆ                 แค (กลาง), แคแดง (เชียงใหม่)

ส่วนที่ใช้               ยอดอ่อน

ขนาด                     ไม่จำกัด

วิธีใช้                      ลวกจิ้มน้ำพริก แก้ไข้หัวลม (หรือไข้อากาศเปลี่ยน)


หอม

ชื่ออื่นๆ                 ปะเซ่ส่า (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), ปะเซอก่อ (กะเหรี่ยง – ตาก), หอมแดง (กลาง), หอมไทย, หอมเล็ก, หอมหัว (กลาง), หอมบัว (เหนือ)

ส่วนที่ใช้               หัว

ขนาด                     3 – 4  หัว

วิธีใช้                      หัวหอมตำให้ละเอียด ผสมเหล้าโรง ทาตัวเด็ก ช่วยลดความร้อน


แห้วหมูเล็ก

ชื่ออื่นๆ                 หญ้ากกดอกขาว (ก.ท.) หญ้าขนหมู (พายัพ), หญ้าก๊ดหมู, สลาบก๊ดหมู (ลำพูน), เฮียงหูจิ๋ว (แต้จิ๋ว)

ส่วนที่ใช้               ทั้งต้นแห้ง

ขนาด                     15 – 20 กรัม

วิธีใช้                      ใช้ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานน้ำ ช่วยลดไข้ (เหมือนกับรับประทานโซเดียมซาลิไซเลท 0.3 กรัม)


สนุ่น

ชื่ออื่นๆ                 คล้าย (ปัตตานี), ไคร้นุ่น, ได้นุ่น, ไคร้บก, ตกไคร้บก (เหนือ), ไคร้ใหญ่ (ยะลา), งาลู (ปัตตานี), ตาลู, มาดาลู้ (มลายู – ยะลา), ตะหนุ่น (อยุธยา), สนุ่น, สนุ่นน้ำ (นครราชสีมา)

ส่วนที่ใช้               เปลือกต้น

ขนาด                     ประมาณ 2 ผ่ามือ

วิธีใช้                      ทำเป็นยาต้มแก้ไข้ รับประทาน 3 วันๆ ละ 2 ครั้ง ครั้งละ ครึ่งถ้วยแก้ว


พญาสัตบรรณ

ชื่ออื่นๆ                 กะโน๊ะ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), จะบัน (เขมร – ปราจีน), ชบา, ตีนเป็ด (กลาง), ตีนเป็ดขาว (ยะลา), บะซา, ปูลา, ปูและ (มลายู, ปัตตานี), ยางขาว (ลำปาง), สัตบรรณ (กลาง – จันทบุรี), หัสบรรณ (กาญจนบุรี)

ส่วนที่ใช้               เปลือกต้น

ขนาด                     1 ฝ่ามือ

วิธีใช้                      ต้มกับน้ำ แรง 1 ใน 20 รับปรัทานครั้งละ 4 – 5 ช้อนแกง


จันทน์แดง

ชื่ออื่นๆ                 จันทน์ผา, ลักกะจั่น, ลักกะจันทน์ (กลาง), จันทน์ ผาแดง (เหนือ)

ส่วนที่ใช้               แก่นซึ่งมีราลง จะมีลักษณะสีแดง กลิ่นหอม เนื้อไม้เเข็ง

ขนาด                     5 – 10 ชิ้น

วิธีใช้                      สับต้นกับน้ำ 6 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 4 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ ½ ถ้วยแก้ว


ฟ้าทะลายโจร

ชื่ออื่นๆ                 เหมือน 5.12

ส่วนที่ใช้               ทั้งต้นสดและแห้ง

ขนาด                     ผงแห้งบด 1 – 2 กรัม

ต้นสด 8 – 10 กรัม หรือหั่นแล้ว 1 กำมือ

วิธีใช้                      ผงแห้งใส่น้ำสุก 1 ถ้วย รับประทานวันละ 3 ครั้ง ต้นสดต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว รับประทาน 1 ครั้ง วันละ 3 ครั้ง


กรุงเขมา

ชื่ออื่นๆ                 ขงเขมา, พระพาย (เหนือ), วุ้นหมอน้อย (กลาง), สีพัน (เพชรบุรี), ก้นปิด (ใต้), จะกามินเยอะ (ยะลา), เปล้าเลือด (แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้               ราก

ขนาด                     2 หยิบมือ

วิธีใช้                      ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ ½ ถ้วยแก้วรับประทานครั้งเดียว รับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็นจนกว่าจะหาย


มะเดื่ออุทุมพร

ชื่ออื่นๆ                 เดื่อเกลี้ยง (กลาง, เหนือ), เดื่อน้ำ (ใต้), มะเดื่อ (ลำปาง)

ส่วนที่ใช้               รากแห้ง

ขนาด                     1 กำมือ หรือ 15 กรัม

วิธีใช้                      ต้มน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 แก้ว รับประทานเช้าเย็น

Scroll to top