สมุนไพรแก้ไข้มาลาเรีย

ฮ่อมคำ

ชื่ออื่นๆ                 ฮ่อมดง (เหนือ), ยายคลังใหญ่ (นครศรีธรรมราช)

ส่วนที่ใช้               ทั้งต้น

ขนาด                     5 – 10  กรัม

วิธีใช้                      ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ½ ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ ½ ถ้วยแก้ว ต้องรับประทานติดต่อกันประมาณ 1 สัปดาห์

ข้อควรระวัง          พิษข้างเคียง มีอาการคลื่อนไส้ อาเจียน ห้ามใช้ในสตรีกำลังตั้งครรภ์, คนชราที่ไม่แข็งแรง


ซินโคน่า

ชื่ออื่นๆ                 ควินนิน, ควินิน

ส่วนที่ใช้               เปลือกของต้นแห้ง

ขนาด                     1 กรัม หรือประมาณ 1 ชิ้น ขนาดกว้าง 1 องคุลี ยาว 1 องคุลี

วิธีใช้                      ต้มน้ำรับประทาน 1 ครั้ง ต้องรับประทานติดต่อกันจนกว่าจะหาย (วันละ 2 ครั้งก่อนไข้จับ 1 ชั่วโมง)


น้ำนมราชสีห์เล็ก

ชื่ออื่นๆ                 นมราชสีห์เล็ก (ไทย), เซียวปวยเอี่ยงเช่า, หยูจั๊ยเช่า, นีเกี๋ยเช่า (จีน)

ส่วนที่ใช้               ทั้งต้นสด

ขนาด                     120 กรัม (1 กำมือ)

วิธีใช้                      ต้มกับน้ำ เติมน้ำตาลทรายแดง รับประทานครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว ก่อนไข้จับ 1 – 2 ชั่วโมง ต้องรับประทานติดต่อกัน 5 – 7 วัน


มะฮอกกานี

ชื่ออื่นๆ                 มะฮอกกานีใบเล็ก

ส่วนที่ใช้               เปลือก ต้น เมล็ด

ขนาด                     1 – 1.5 กรัม

วิธีใช้                      ใช้ต้มน้ำรับประทาน 2 ครั้ง ต้องรับประทานติดต่อกันจนกว่าจะหาย


กอมขม

ชื่ออื่นๆ                 ดีงูต้น (พิษณุโลก), กะลำเพราะต้น, หมาชล (ชลบุรี), ดำ (นครศรีธรรมราช), ตะพ้านก้น, กอมขมดำ, หมากกอม (เหนือ), เนียปะโจะ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), มะปอจอ (กะเหรี่ยง – เหนือ), หงีน้ำ, หยีน้ำใบเล็ก (ตรัง), หมักกอม (ฉาน – เชียงใหม่)

ส่วนที่ใช้               เนื้อไม้

ขนาด                     1 กำมือ

วิธีใช้                      ต้มกับน้ำ 6 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 3 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ ¼ ถ้วยแก้ว ควรรับประทานอย่างน้อย 1 สัปดาห์


โด่ไม่รู้ล้ม

ชื่ออื่นๆ                 ขี้ไฟนกคุ่ม (เลย), คิวไฟนกคุ่ม (ชัยภูมิ), เคยโป้, หญ้าไก่นกคุ่ม, หญ้าปราบ, หญ้ากราบ, หญ้าสามสิบสองราก, หนาดผา (แพร่), ตะซีโกวะ, ตะสิโกระ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), หญ้าไฟนกคุ่มหนาดผา (กะเหรี่ยง), หนาดมีแคลน (สุราษฏร์ธานี), งู่เต้ยโปว, พู่กงเอ็ง (จีน)

ส่วนที่ใช้               ทั้งต้นสด

ขนาด                     1 กำมือ

วิธีใช้                      ต้มกับน้ำใช้ดื่มต่างน้ำ


ปลาไหลเผือก

ชื่ออื่นๆ                 กรุงบาดาล (สุราฏร์ธานี), คะนาง, ชะนาง (ตราด), ตรึงบาดาล (ปัตตานี), ตุวุเบ๊าะมิง, ตูวุวอมิง (นราธิวาส), ตุงสอ, แฮพันชั้น (เหนือ), เพียก (ใต้), หยิบบ่ถอง, หยิบไม่ถึง, เอียนดอน (ตะวันออกเฮียงเหนือ), ไหลเผือก (ตรัง)

ส่วนที่ใช้               ราก

ขนาด

วิธีใช้                      นำรากมาสับต้มกับน้ำให้ได้ความแรง 1 ใน 10 รับประทาน    ครั้งละ 4 ช้อนแกง ติดต่อกันจนกว่าจะหาย


ประทัดใหญ่

ชื่ออื่นๆ                 ปิง, ประทัด, ประทัดจีน, ประทัดทอง (ก.ท.)

ส่วนที่ใช้               ราก เนื้อไม้

ขนาด                     0.5 กรัม

วิธีใช้                      ต้มเนื้อไม้ 4 กรัม ด้วยน้ำ  4 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ ¼ ถ้วยแก้ว วันละ 2 ครั้ง


สะเดาอินเดีย

ชื่ออื่นๆ                 ควินิน

ส่วนที่ใช้               เปลือกต้น, ใบ

ขนาด                     เปลือกสด 1 ฝ่ามือ, ใบสด 2 กำมือ

วิธีใช้                      ต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ ½ ถ้วยแก้ว เช้าเย็นจนกว่าจะหายไข้


คนทีเขมา

ชื่ออื่นๆ                 กูนิง

ส่วนที่ใช้               รากและต้น

ขนาด                     10 – 30 กรัม, ครึ่งกำมือ

วิธีใช้                      ต้มกับน้ำเติมลูกใต้ใบครึ่งกำมือ เกลือ 2 ช้อนชา น้ำ 4 ถ้วย ต้มให้เหลือ 2 ถ้วย รับประทานครั้งละ ½ ถ้วย เช้าเย็ยจนกว่าจะหายไข้

Scroll to top