สมุนไพรแก้ริดสีดวง

เพ็ชสังฆาต

ชื่ออื่นๆ                 ขั่นข้อ (ราชบุรี), สันชะอวด (กรุงเทพฯ), สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์), สันชะคาด, แป๊ะฮวยหันขัดเช้า (จีน)

ส่วนที่ใช้               เถาสด

ขนาด                     2 – 3 องคุลีต่อ 1 มื้อ

วิธีใช้                      รับประทานสดๆ ถ้าเคี้ยวจะคันปากคันคอ เพราะในสมุนไพรนี้จะมีสารที่เป็นผลึกรูปเข็มอยู่มาก เป็นสารชนิดเดียวกันกับที่พบในต้นบอน ต้นเผือก การรับประทานจึงใช้สอดไส้ลงในกล้วยสุก หรือมะขาม แล้วกลืนลงไป รับประทาน 10 – 15 วัน จะเห็นผล


อัคคีทวาร

ชื่ออื่นๆ                 แข้งม้า (เชียงราย), ควิโด, ตือซือซาฉ้อง, เตอสีพ่ะดู่,ยาแก้ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), คุ้ยโดโจ (กะเหรี่ยง – กำแพงเพชร), แคว้งค่า (เหนือ), ชะรักป่า, หมอกนางต๊ะ, หลัวสามเกียน (เชียงใหม่), ห่อคำ, หมักก้านต่อ, หูแวง, ฮังตอ (เลย), มักแค้งย่า (ปราจีนบุรี), ตรีชะวา (กลาง), ดั่งต่อ, ปอสามเกี๋ยน, สามสุม (เหนือ), พรายสะเรียง, สะเม่าใหญ่ (นครราชสีมา), อัคคี (สุราษฎร์ธานี)

ส่วนที่ใช้               ใบ ราก

ขนาด                     ราก 1 – 2 องคุลี ใบ 10 – 20 ใบ

วิธีใช้                      รากใช้ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้นๆ ทาริดสีดวงทวาร ใบนำมาตากแห้งบดให้เป็นผง แล้วคลุกับน้ำผึ้งรวง ทำเป็นเม็ดขนาดเมล็ดพุทรา รับประทานครั้งละ 2 – 4 เม็ด ทุกๆ วัน ติดต่อกัน 7- 10 วัน


สิงหโมรา

ชื่ออื่นๆ                 ผักหนามฝรั่ง, ว่างสิงหโมรา (ภาคกลาง)

ส่วนที่ใช้               ดอกสด

ขนาด                     2 – 4 ดอก

วิธีใช้                      เอาดอกสดปิ้งไปให้เหลือง นำไปดองกับเหล้าโรง ใช้รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยตะไล เช้าเย็น รับประทาน 10 – 15 วัน ควรเห็นผล


กระชาย

ชื่ออื่นๆ                 กะแอน, ระแอน (เหนือ), จี๊ปู่, ซีพู (ฉาน – แม่ฮ่องสอน), เป๊าะซอเราะ, เป่าสี่ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ)

ส่วนที่ใช้               เหง้าสด

ขนาด                     60 กรัม ประมาณ 6 – 8 เหง้า

วิธีใช้                      เอากระชาย เนื้อมะขามเปียก 60 กรัม (ประมาณ 3 หัวแม่มือ) เกลือแกง 3 ช้อนแกง ตำแล้วนำไปต้มกับน้ำ 6 แก้ว เคี่ยวให้เหลือ 2 แก้ว รับประทานครั้งละ ½ แก้ว ก่อนนอน รับประทานติดต่อกันประมาณ 1 เดือน ริดสีดวงทวารควรจะหาย


ข้อควรระวังของผู้ที่เป็นริดสีดวงทวาร

  • ต้องไม่ให้ท้องผูกถ้าท้องผูกต้องพยายาม
  • ดื่มน้ำมากๆ
  • รับประทานอาหารที่มีกากมากๆ
  • รับประทานผลไม้ เช่น มะละกอสุก กล้วยน้ำว้าสุก เป็นประจำ
  • ต้องหัดนิสัยให้ถ่ายอุจจาระเป็นเวลา
Scroll to top