สมุนไพรรักษาโรคหืด

ไพล

ชื่ออื่นๆ                 ปูลอย, ปูเลย (เหนือ), ว่านไฟ (กลาง), มิ้นสะล่าง (ฉาน – แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้               เหง้า

ขนาด                     –

วิธีใช้                      ใช้เหง้าไพลแห้ง 5 ส่วน พริกไทย ดีปลีอย่างละ 2 ส่วน กานพลู และพิเสนอย่างละ ½ ส่วน บดผสมรวมกัน ใช้ผง 1 ช้อนชา ชงน้ำรับประทาน หรือปั้นลูกกลอนด้วยน้ำผึ้ง ครั้งละ 2 ลูกขนาดเท่าเมล็ดพุทรา ต้องรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน กว่าอาการจะดีขึ้น


หนุมานประสานกาย

ชื่ออื่นๆ                 ว่านอ้อยช้าง (เลย), ชิดฮะลั้ง (จีน)

ส่วนที่ใช้               ใบสด

ขนาด                     ใบเล็กๆ 9 ใบ

วิธีใช้                      ต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น เป็นเวลา 49 วัน หืดควรจะหาย

ขอควรระวัง          ถ้ารับประทานแล้ว มีอาการใจสั่นให้หยุดยา


บวบเหลี่ยม

ชื่ออื่นๆ                 กะตอรอ (ปัตตานี), เดเรเนอมู, เดเรส่า (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), บวบหวาน (แม่ฮ่องสอน), มะนอย, หมักน้อย (เชียงใหม่), มะนอยข้อง, มะนอยงู, มะนอยเหลี่ยมฐ มะนอยจ๋า (เหนือ),

ส่วนที่ใช้               เมล็ดจากผลแก่จัด

ขนาด                     30 – 50 เมล็ด (หรือใช้เท่าอายุเเต่ไม่เกิน 50 เมล็ด)

วิธีใช้                      ใช้เมล็ดแก่จัด 30 – 50 เมล็ด รวมกับพริกไทย 7 เมล็ด ตำผสมกับเหล้าพอปั้นเป็นลูกกลอนได้ รับประทานสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 4 สัปดาห์ติดต่อกัน

ข้อควรระวัง          ห้ามใช้กับเด็กและคนที่ไม่แข็งแรง หรือผู้สูงอายุ เพราะจะแพ้แรง เนื่องจากจะอาเจียนมาก ถ้าถ่ายมากต้องหยุดยา


ลำโพง

ชื่ออื่นๆ                 มะเขือบ้า (เหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ), มั่งโต๊ะโล๊ะ (จีน), ละอังกะ (ส่วย – สุรินทร์), ลำโพงขาว (กลาง), เลี๊ยก (เขมร – สุรินทร์), เล่าเอี้ยงฮวย (จีน)

ส่วนที่ใช้               ใบแห้ง ดอกแห้ง

ขนาด                     ใบแห้ง 1 – 3 ใบ ดอกแห้ง 1 ดอก

วิธีใช้                      มวนบุหรี่สูบ

ข้อควรระวัง          อย่าใช้มากเพราะเป็นพิษ


ปีป

ชื่ออื่นๆ                 กะซะลอง (เหนือ), เต็กพองโพ่ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), กาดสะลอง (พายัพ)

ส่วนที่ใช้               ดอกแห้ง

ขนาด                     6 – 7 ดอก

วิธีใช้                      มวนเป็นบุหรี่สูบ


เสนียด

ชื่ออื่นๆ                 กระเหนียด (คาบสมุทร), กุลาขาว, บัวลาขาว, บัวฮาขาว (เหนือ), โมราขาว, โมราดำ, โบราขาว (เชียงใหม่), โมรา, เสนียดโมรา (กลาง), หูรา (นครพนม), หูหา (เลย)

ส่วนที่ใช้               ราก ใบ ดอก

ขนาด                     ใบแห้ง 2 – 3 ใบ

วิธีใช้                      ใบแหงสูบแก้หืด ทำยาชงความแรง 1: 10 รับประทานครั้งละ 2 – 4 ช้อนแกง (15 – 30 มิลลิลิตร) ถ้าทำยาดองเหล้า ความแรง 1 ใน 10 รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา


โทงเทง

ชื่ออื่นๆ                 ปุงปิง (นครศรีธรรมราช), หญ้าต้อมต๊อก, บ่าตอมต๊อก (เชียงใหม่), หญ้าถุงแถง(อ่างทอง), โคมจีน, เผาะเเผะ, ทุ้งทิ้ง, ทุงทิง, มะก่องเข้า, เตงหลั่งเช่า, เทียงเพ้าเช่า (จีน)

ส่วนที่ใช้               ทั้งต้นแห้ง

ขนาด                     –

วิธีใช้                      ต้นแห้ง ½ กิโลกรัม ต้มกับน้ำเติมน้ำตาลกรวดลงไปให้หวานรับประทานครั้งละ ¼ ถ้วยแก้ว วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร เป็นเวลา 10 วัน หยุดยา 3 วัน รับประทานต่ออีก 10 วัน พักอีก 3 วัน แล้วรับประทานต่อไปอีก 10 วัน หอบหืดจะได้ผลดี


หญ้าคา

ชื่ออื่นๆ                 เก้อฮี (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), ลาลาง (มลายู), ลาแล (ยะลา), คา, คาเหลือง

ส่วนที่ใช้               รากสด

ขนาด                     1 กำมือ

วิธีใช้                      รากสดหญ้าคา 1 กำมือ ผสมกับเปลือกต้นหม่อนครึ่งกำมือกับรากชะเอมจีนยาว 4 องคุลี ใส่น้ำ 4 แก้วต้มให้เหลือครึ่งเดียว รับประทานครั้งละ 1 แก้ว

Scroll to top