กระเบา
ชื่ออื่นๆ กระเบาตึก (เชมร – ตะวันออก), กระเบาน้ำ, กระเบาข้าวแข็ง, กระเบาข้าวเหนียว, กระเบาเบ้าแข็ง, กระเบาใหญ่, กาหลง, แก้วกาหลง (กลาง), กระตงดง (เชียงใหม่), กราเบา (เขมร), ดงกะเปา (ลำปาง), เบา (สุราษฎร์ธานี), กะเบาใหญ่ (นครราชสีมา), มะกูลอ (เหนือ), กูลา (ปัตตานี), หัวค่าง (ประจวบคีรีขันธ์), ตัวโอ่งจี๊ (จีน)
ส่วนที่ใช้ น้ำมันจากเมล็ด หรือเนื้อในเมล็ด
ขนาด 5 – 10 เมล็ด
วิธีใช้ กะเทาะเปลือกของเมล็ดออก ตำเนื้อในให้ละเอียด เติมน้ำมันพืชลงไปพอแฉะ ใช้ทาโรคผิวหนังได้ทุกชนิด
สะบ้า
ชื่ออื่นๆ ม๊อกแกมื่อ (ละว้า – เชียงใหม่), มะนิม, หมากงิม (ฉาน – เชียงใหม่), มะบ้า (ทั่วไป), คำต้น, มะบ้าหลวง (เหนือ), สะบ้ามอญ (กลาง), หมากหนิม (ฉาน – แม่ฮ่องสอน), เดื่อหมากป้าหนัง, สะบ้าแฝก, ม้าบ้า (กลาง), กาบ้า, อางแม่ละมุง (สุราษฎร์ธานี), สะบ้าแดง, สะบ้าหนัง (เหนือ)
ส่วนที่ใช้ เนื้อในเมล็ดของสะบ้า
ขนาด 1 เมล็ด
วิธีใช้ นำเอาเมล็ดสะบ้าแกะเปลือกแดงน้ำตาลออก เอาเนื้อสีขาวบดให้ละเอียดแล้วเติมน้ำมันมะพร้าวลงไปพอแฉะ ใช้ทาบริเวณที่เป็นโรคผิวหนัง
แห้วหมูเล็ก, กกดอกขาว
ชื่ออื่นๆ หญ้ากกดอกขาว (ก.ท.) หญ้าขนหมู (พายัพ), หญ้าก๊ดหมู, สลาบก๊ดหมู (ลำพูน), เฮียงหูจิ๋ว (แต้จิ๋ว)
ส่วนที่ใช้ เหง้าสด
ขนาด 2 – 3 เหง้า
วิธีใช้ ใช้เหง้าตำให้ละเอียดเติมน้ำมันพืช ทาบริเวณที่เป็น
พลูคาว
ชื่ออื่นๆ ผักก้านตอง (แม่ฮ่องสอน), ผักเข้าตอง, ผักคาวตอง (เหนือ), ผักคาวทอง, พลูแก (กลาง)
ส่วนที่ใช้ ใบสด
ขนาด 5 – 8 ใบ
วิธีใช้ ใช้ใบขยี้ทาบริเวณที่เป็นโรคผิวหนังวันละ 2 – 3 ครั้ง หลายๆ วันจนกว่าโรคผิวหนังจะหาย
น้ำนมราชสีห์ใหญ่
ชื่ออื่นๆ นมราชสีห์, ผักโขมแดง (กลาง), หญ้าน้ำหมึก (เหนือ), หญ้าหลังอึ่ง (ฉาน – แม่ฮ่องสอน)
ส่วนที่ใช้ ต้นสด
ขนาด 1 กำมือ
วิธีใช้ หั่นดองในเหล้าโรง 4 – 5 วัน นำน้ำที่แช่ทายริเวณที่เป็ฯบ่อยๆ จนกว่าจะหาย
ใบละบาท
ชื่ออื่นๆ ใบระบาด, ผักระบาด (กลาง), เมืองมอน
ส่วนที่ใช้ ใบสด
ขนาด 2 – 3 ใบ
วิธีใช้ นำใบมาล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด ใช้ทาบริเวณที่เป็นโรคผิวหนัง วันละ 2 – 3 ครั้ง ติดต่อกัน 3 – 4 วัน จะเห็นผล
เจตมูลเพลิงขาว
ชื่ออื่นๆ ตอชูวา, ตั้งชู้อ้วย (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), ปิดปิวขาว (เหนือ)
ส่วนที่ใช้ ราก
ขนาด 1 – 2 ราก
วิธีใช้ นำรากมาป่นให้ละเอียด ผสมน้ำมันพืชเล็กน้อย ทาบริเวณที่เป็น
ข้อควรระวัง เมื่อทาเจตมูลเพลิงขาวแล้วให้สังเกตุว่าโรคผิวหนังอาการดีขึ้นหรือไม่ ถ้ามีอาการพุพองมากขึ้น ให้รีบหยุดยา เพราะยาตัวนี้ถ้าใช้มากจะทำให้เป็นแผลพุพองได้
กรวยป่า
ชื่ออื่นๆ ก้วย (เหนือ), ขุนเหยิง, บุนเหยิง (สกลนคร), คอแลบ (นครราชสีมา), ตวย (เพชรบูรณ์), ตวยใหญ่, ตานเสี้ยน (พิษณุโลก), ผ่าสาม (นครพนม)
ส่วนที่ใช้ ใบสด
ขนาด 10 – 15 ใบ
วิธีใช้ นำมาบดให้ละเอียด เติมน้ำมันพืช ใช้ทาบริเวณที่เป็ฯโรคผิวหนัง
เลี่ยน
ชื่ออื่นๆ เฮี่ยน, เคี่ยน, เกรียน (เหนือ)
ส่วนที่ใช้ ดอกและผลสด
ขนาด ดอก 1 ช่อเล็กๆ, ผล 5 – 7 ผล
วิธีใช้ เอาดอกหรือผลตำให้ละเอียด เติมน้ำมันพืช แล้วใช้ทาบริเวณที่เป็นโรคผิวหนังวันละ 2 – 3 ครั้ง ติดต่อกันจนกว่าจะหาย
สะเดาอินเดีย
ชื่ออื่นๆ ควินิน (ทั่วไป), สะเดา (กลาง), เดา (เหนือ)
ส่วนที่ใช้ เมล็ดที่โตเต็มที่
ขนาด 2 กำมือ
วิธีใช้ เอาเมล็ดสะเดามาตำหรือบีบ จะได้น้ำมันจากเมล็ด ใช้ทาแก้โรคผิวหนัง ทาบ่อยๆ จนกว่าจะหาย
ขมิ้นชัน
ชื่ออื่นๆ ขมิ้น (ทั่วไป), ขมิ้นแกง, ขมิ้นหยอก, ขมิ้นหัว (เชียงใหม่), ขี้มิ้น, หมิ้น (มลายู),
ตายอ (กะเหรี่ยง – กำแพงเพชร), สะยอ (กะเหรี่ยง – แม่อ่องสอน)
ส่วนที่ใช้ เหง้าแห้ง
ขนาด ไม่จำกัด
วิธีใช้ เหง้าขมิ้นมาทำให้แห้ง ป่นให้เป็นผงละเอียด ใช้ทาบริเวณที่เป็นเม็ดผื่นคัน โดยเฉาะในเด็กจะนิยมใช้มันมาก
สำมะงา
ชื่ออื่นๆ เขี้ยวงู (ประจวบคีรีขันธ์), สัมเนรา (ระยอง), สักขรีย่าน (ชุมพร), สัมปันงา, สำมะสีงา, สำมะดีงา, สำปะงา, สำลีงา (กลาง, ตะวันออก), เช่าอึ้งเต็ง (จีน)
ส่วนที่ใช้ ทั้งกิ่งและใบสด
ขนาด 3 – 4 กำมือ
วิธีใช้ สับเป็นท่อนๆ ต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน ใช้ติดต่อกัน 3 – 4 ครั้ง
เหงือปลาหมอ
ชื่ออื่นๆ แก้มหอม (กระบี่), จะเกร็ง, นางเกร็ง, อีเกร็ง (กลาง)
ส่วนที่ใช้ ใบ และต้นสด
ขนาด 3 – 4 กำมือ
วิธีใช้ นำต้นสดมาสับ ต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน ใช้ติดต่อกัน 3 – 4 ครั้ง
ขันทองพยาบาท
ชื่ออื่นๆ กระดูก, ยายปลวก (ใต้), ขนุนแดง (เพชรบูรณ์), ขอบนางนั่ง (ตรัง), ขัณฑสกร, ช้องรำพัน, สลอดน้ำ (จันทบุรี), ขันทอง (พิจิตร), มะดูก, หมากดูก (กลาง), ข้าวตาก (กาญจนบุรี), ขุนทอง, คุณทอง (ประจวบคีรีขันธ์), โจ่ง, เจิ่ง (ส่วน – สุรินทร์), ดูกไทร, ดูกไส, ดูกไม้, เหมือดโรค (เลย), ดูกหิน (สระบุรี), ดูกไหล (นครราชสีมา), ทุเรียนป่า, ไฟ, ป่าช้าหมอง, ยางปลอก, ฮ่อสะพานควาย (แพร่), มะดูกดง (ปราจีนบุรี), มะดูกเลื่อม (เหนือ), เหล่บ่อ (กะเหรี่ยง – แพร่)
ส่วนที่ใช้ เนื้อไม้
ขนาด 1 ท่อน
วิธีใช้ สับเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มน้ำอาบแก้คัน ใช้ติดต่อกันหลายๆ วัน
ยาสูบ
ชื่ออื่นๆ จะวั้ว (เขมร – สุรินทร์), ยาฉุน, ยาเส้น
ส่วนที่ใช้ ใบยาที่แก่และแห้ง (ยาสุล, ยาฉุนหรือยาตั้ง)
ขนาด 1 ขยุ้มมือ
วิธีใช้ นำมาตำให้เป็นผง ผสมกับผงขมิ้นชันแห้งเท่าๆ กัน เติมน้ำมันมะพร้าว เคี่ยวไฟอ่อนๆ ใช้ทาบริเวณที่เป็นผื่นคันเหมาะกับคนที่แพ้ยุง หรือริ้น
ข้อควรระวัง สำหรับโรคผิวหนัง หิด เหา กลากเกลื้อน เหล่านี้ ข้อที่ควรระทักระวังคือ ความสะอาด จะต้องรักษาความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า เครื่องนอน ที่พักอาศัยให้สะอาดอยู่เสมอ ถ้าสิ่งที่กล่าวข้างต้นนี้สกปรก เมื่อรักษาโรคผิวหนังนี้หายแล้ว ก็อาจจะกลับเป็นได้อีก การติดต่อ อย่าใช้ของร่วมกับบุคคลอื่นๆ และอย่าพยายามใกล้ หรือเสียดสีกับบุคคลที่เป็นโรคเหล่านี้