ว่านกีบแรด
ชื่ออื่นๆ กีบลมม้า (เหนือ), กีบแรด (แพร่), ดูกู (ใต้), ว่านกีบม้า (กลาง)
ส่วนที่ใช้ เหง้าสด
ขนาด โตขนาดหัวแม่มือ
วิธีใช้ ใช้เหง้าสดฝนกับน้ำฝนให้ข้นๆ ทาบริเวณที่เป็นแผลในปาก ทาบ่อยๆ
หญ้างวงช้าง
ชื่ออื่นๆ กุนอกาโม (ปัตตานี), ฝักแพวขาว (กาญจนบุรี), หญ้างวงเช้า(กลาง), หนามงวงช้าง, หญ้างวงช้างน้อย (เหนือ), ไต่บ๋วยเอี๊ยว, เฉี่ยผี่เช่า, เงียวบ๋วยเช่า (จีน)
ส่วนที่ใช้ ใบสด
ขนาด 10 – 15 ใบ
วิธีใช้ ล้างใบให้สะอาด นำมาตำให้ละเอียด เติมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาเเต่น้ำ ใชอมบ้วนปากวันละ 3 – 4 ครั้ง 2 – 3 วัน ควรเป็นผล
โทงเทง
ชื่ออื่นๆ ต้อมต๊อก, บาตอมต๊อก (เชียงใหม่), ปุงปิง (ปัตตานี), หญ้าถงเถง (อ่างทอง), โคมจีน, เผาะแผะ, ทุ้งทิ้ง, ทุงทิง, มะก่องเข้า, ตะเงหลั่งเช้า, เตงหลั่งเช้า, เที่ยงเพ้าเช้า (จีน)
ส่วนที่ใช้ เยื่อหุ้มผลแห้ง
ขนาด 10 กรัม
วิธีใช้ นำเยื่อหุ้มผลแห้งที่เอาเมล็ดออกแล้วหนัก 10 กรัม เปลือกส้ม 6 กรัม ต้มกับน้ำ ผสมน้ำตาลกรวดพอหวานเล็กน้อย ใช้ดื่มต่างน้ำ
แตงโม
ชื่ออื่นๆ แต่เต้าส่า (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), แตงจีน (ใต้), มะเต้า (เหนือ), อุลัก (เขมร – บุรีรัมย์)
ส่วนที่ใช้ น้ำคั้นจากผล
ขนาด ใช้รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยแกว
วิธีใช้ นำแตงโมมาคั้นเอาเเต่น้ำ ใช้ดื่มครั้ลงละ 1 ถ้วยแก้ว วันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น เป็นเวลา 3 – 4 วัน แผลในปากจะหาย
หว้า
ชื่ออื่นๆ ห้าขี้แพะ (เชียงราย)
ส่วนที่ใช้ เปลือกต้นสด
ขนาด 1 กำมือ
วิธีใช้ สับเปลือกต้นต้มกับน้ำ 1 ½ ถ้วยแก้ว เติมเกลือครึ่งช้อนชาเคี่ยวให้เหลือครึ่งถ้วย อมกลั้วคอบ่อยๆ 5 – 6 ครั้ง ปากจะหายเปื่อย
ส้มกบ
ชื่ออื่นๆ ผักแว่น (กลาง), สังส้ม (แพร่), ส้มดิน, หญ้าตานทราง (แม่ฮ่องสอน), ส้มสังกำ, ส้มสามตา (เชียงใหม่)
ส่วนที่ใช้ ทั้งต้นสด
ขนาด 5 – 10 ต้นสด 30 – 40 กรัม
วิธีใช้ ตำ คั้นเอาน้ำอมกลั้วคอ ทำ 4- 5 ครั้ง ก็จะหาย