สมุนไพรถ่ายพยาธิ

มะเกลือ

ชื่ออื่นๆ                 มะเกีย, มักเกลือ (ตราด), เกลือ, ผีเผา (เหนือ)

ส่วนที่ใช้               ผลสดโตเต็มที่

ขนาด                     จำนวนผลเท่าอายุ แต่ไม่เกิน 25 ผล

วิธีใช้                      ผลมะเกลือสด ไม่ช้ำไม่ดำ ไม่สุก จำนวนเท่าอายุคนไข้ แต่ไม่เกิน 25 ผล (คนไข้อายุ 40 ปี ใช้เพียง 25 ผล) ตำใส่กะทิคั้นเอาแต่น้ำกะทิช่วยกลบรสเฝื่อน ควรรับประทานขณะท้องว่าง

ได้ผลดี                   สำหรับการถ่ายพยาธิปากขอ พยาธิตัวตืด และพยาธิเข็มหมุด

ข้อควรระวัง          1. ห้ามใช้มนเด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบ หญิงที่ตั้งครรภ์ หรือหลังคลอดใหม่ๆ และผู้ป่วยโรคอื่นๆ

  1. ระวังอย่าให้เกินขนาด
  2. ถ้าเกิดอาการท้องเดินหลายๆ ครั้ง และมีอาการตามัวให้รีบพาไปหาหมอด่วน

มะหาด

ชื่ออื่นๆ                 หาด, หาดขนุน, กาแย, ตาแป, ตาแปง, หาดใบใหญ่ (ตรัง),

ปวกหาด  ได้จากการเอาแกนของมะหาดชนิดหนุ่งมาเคี่ยวด้วยน้ำจะมีฟองเกิดขึ้น ช้อนฟองขึ้นไว้ทำให้แห้ง จะได้มีผงสีเหลืองเรียก ฝุ่น หรือผงปวกหาด

ส่วนที่ใช้               ผงปวกหาด

ขนาด                     1 ช้อนโต๊ะปาดๆ หรือ 3 – 4 กรัม

วิธีใช้                      รับประทานกับน้ำมะนาว หรือใส่ผงปวกหาดลงในหลอดข้าวเหนียว รับประทานทั้งหลอดขณะท้องว่าง แลตามด้วยยาถ่าย เช่น ดีเกลือ 2 ช้อนโต๊ะ เมื่อรับประทานยาแล้ว 2 ชั่วโมง

ได้ผลดี                   สำหรับถ่ายพยาธิตัวตืด


ทับทิม

ชื่ออื่นๆ                 มะก๊อ (พะเยา), พอลา (หนองคาย), พิลาขาว, มะก่องแก้ว (น่าน), มะเก๊าะ (เหนือ), หมากจัง (ฉาน – แม่ฮ่องสอน), เซียะลิ้ว (จีน),

ส่วนที่ใช้               เปลือกสดของราก, ต้น ที่เก็บใหม่ๆ

ขนาด                     60 กรัม หรือ ½ กำมือ

วิธีใช้                      ใช้เปลือกสด เติมกานพลูหรือกระวานลงไปเล็กน้อย เพื่อแต่งรส ต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ½  ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ (30 ซีซี.) แล้วหลังจากนั้นประมาน 2 ชั่วโมง รับประทานยาถ่าย เช่น ดีเกลือ 2  ช้อนโต๊ะตาม ควรอดอาหารก่อนรับประทานยา

ได้ผลดี                   สำหรับถายพยาธตัวตืด, พยาธิตัวกลม


สะแกนา

ชื่ออื่นๆ                 สะแก, ไม้แพ่ง, แพ่ง (พายับ), ขอนแด่, จองแค่ (แพร่), แก (อีสาน), ซังแก (เขมร – ปราจีนบุรี), เดิมซังแก (เขมร – สุรินทร์)

ส่วนที่ใช่               เมล็ดในผลของสะแกนาที่แก่และแห้ง

ขนาด                     ในเด็ก 1 ช้อนชา หรือ 15 – 20 เมล็ด

วิธีใช้                      เอาเมล็ดในสะแกนาหั่นทอดกับไข่ให้เด็กอายุประมาน 5 – 7 ขวบบรับประทาน

ได้ผลดี                   สำหรับถ่ายพยาธิไส้เดือนในเด็ก


เล็บมือนาง

ชื่ออื่นๆ                 จะมั่ง, จ๊ามั่ง, มะจีมั่ง (พายัพ), ไม้หม่อง (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), อาดอลิง (มลายู – ยะลา)

ส่วนที่ใช้               เมล็ดในของผลเล็บมือนางที่แก่และแห้ง

ขนาด                     4 – 5 เมล็ด 4 – 6 กรัม

วิธีใช้                      เมล็ดในหั่นทอดกับไข่ให้เด็กอายุประมาน 5 – 6 ขวบรับประทาน

ได้ผลดี                   สำหรับถ่ายพยาธิไส้เดือนในเด็ก


เห็ดจิก

ชื่ออื่นๆ                 เห็ดตีนตุ๊กแก

ลักษณะ                 เป็นเห็ดสีขาวดอกเล็กขึ้นตามต้นไม้ เช่น ต้นกระโดน, ต้นจิก, หรือตามขอนไม้

ส่วนที่ใช้               ทั้งดอกเห็ด

ขนาด                     10 – 15 กรัม

วิธีใช้                      ทางเหนือและทางตะวันออกใช้เป็นอาหาร โดยแกงคั่วรับประทาน ทางอีสานในจังหวัดอุดรธานีมีขายในร้านขายยาไทยทั่วๆ ไป


ส้มกุ้ง

ชื่ออื่นๆ                 –

ลักษณะ                 เป็นไม้เถา

ส่วนที่ใช้               ผลแห้ง

ขนาด                     1 กำมือ

วิธีใช้                      ใช้ผลต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว เติมเหลือเล็กน้อย ดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว


มะขาม

ชื่ออื่นๆ                 ม่องโคลัง (กะเหรี่ยง – กาญจนบุรี), กำเปียล (เขมร – สุรินทร์), ตะลูบ (นครราชสีมา), ขาม (ใต้)

ส่วนที่ใช้               เมล็ดในที่กระเทาะเปลือกออกแล้ว (ต้องคั่วก่อน จึงจะกระเทาะเปลือกออก)

ขนาด                     20 – 25 เมล็ด

วิธีใช้                      เอาเมล็ดในที่มีสีขาว ต้มกับน้ำ ใส่เกลือเล็กน้อย รับประทานเนื้อทั้งหมด 1 ครั้ง หรือคั่วให้เหลือเนื้อในเหลือง กระเทาะเปลือกแช่น้ำให้นิ่มเคี้ยวเช่นถั่ว

ได้ผลดี                   สำหรับการถ่ายพยาธิตัวกลม, พยาธิเส้นด้าย


ฟักทอง

ชื่ออื่นๆ                 มะฟักแกว (เหนือ), มะน้ำแก้ว (เลย), หมักคี้ส่า, เหลืองเคส่า (กะเหรี่ยง –

เเม่ฮ่องสอน), หมักอื้อ (ปราจีนบุรี), หมากฟักเหลือง (ฉาน – แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้               ใช้เนื้อในเมล็ดแก่และสด

ขนาด                     40 – 70 กรัม (ประมาณ 50 – 90 เมล็ดสด)

วิธีใช้                      นำเนื้อในเมล็ดฟักทองสดบดให้ละเอียด เติมน้ำเชื่อมเล็กน้อย เติมน้ำให้ได้ประมาณ 2 แก้ว รับประทาน 2 – 3 ครั้ง ทิ้งระยะให้ห่างกันครั้งละ 2 – 3 ชั่วโมง เมื่อรับประทานน้ำเมล็ดฟักทองหมด 2 ชั่วโมง ให้กินดีเกลือตาม 2 ช้อนโต๊ะ รับประทานยาขณะท้องว่าง

ได้ผลดี                   สำหรับถ่ายพยาธิตัวตืด


หมาก

ชื่ออื่นๆ                 เค็ด, พลา, สะลา (เขมร), เซียด (นครราชสีมา), แซ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน),

บีแน (มาเลย์), มะ (ตราด), สีซะ (กะเหรี่ยงเหนือ), หมากเมีย (กลาง), หมากมู้ (ฉาน – แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้               เนื้อในหมากสง

ขนาด                     เด็กต่ำกว่า 12 ขวบ ใช้ไม่เกิน 30 กรัม ( 2 – 3 เมล็ด) เด็กเกิน 12 ขวบ ใช้ 50 – 60 กรัม ( 5 – 6 เมล็ด) ผู้ใหญ่ใช้ 80 – 90 กรัม ( 8 – 10 เมล็ด)

วิธีใช้                      ใช้เนื้อในของหมากสงต้มกับน้ำ  1 – 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวเล็กน้อย รับประทานขณะท้องว่าง ถ้าไม่ถ่ายภายใน 9 – 10 ชั่วโมง ต้องใช้ยาถ่ายตาม เช่น ดีเกลือ 2 ช้อนโต๊ะ


มะระไทย

ชื่ออื่นๆ                 มะระขี้นก

ส่วนที่ใช้               ใบสด

ขนาด                     20 – 30 ใบ

วิธีใช้                      หั่นใบชงด้วยน้ำร้อนเติมเกลือเล็กน้อยช่วยกลบรสชม

ได้ผลดี                   สำหรับพยาธิเข็มหมุด


ตานหม่อน

ชื่ออื่นๆ                 ช้าหมักหลอด (หนองคาย), ตามค้อน (สุราษฎร์), ตาหม่น (นครศรีธรรมราช)

ส่วนที่ใช้               ราก, ต้นสด

ขนาด                     รากสด 1 กำมือ

วิธีใช้                      นำมาต้มน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 แก้ว ดื่มครั้งเดียวเมื่อท้องว่าง หลังจากนั้น 2 ชั่วโมง รับประทานยาถ่ายตาม


กระเทียม

ชื่ออื่นๆ                 หอมเทียม (พายัพ), เทียม, หัวเทียม (ใต้, ปัตตานี)

ส่วนที่ใช้               หัวสด

ขนาด                     5 – 7  กลีบ

วิธีใช้                      ปอกเปลือกออก ตำให้แหลก เติมน้ำอุ่น 1 แก้วใช้สบู่สวนอุจจาระละลายน้ำประมาณครึ่งแก้ว ผสมกับน้ำกระเทียมสวนเข้าทางทวารหนักช้าๆ ให้คนไข้อดกลั้นไว้ได้นานที่สุด ทำเช่นนี้ สองหรือสามครั้งในสองหรือสามวัน


มะกายคัด

ชื่ออื่นๆ                 กายขัดหิน, ขี้เนื้อ (เชียงใหม่), กือบอซาบอเส่ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), ขางปอย, ซาดป่า (นครพนม), ขี้เต่า (สุราษฎร์), คำแดง, คำแสด, ทองทวย, มะคาย, แสด (กลาง), ทองขาว (เลย), แทงทวย (ราชบุรี), มินยะ, มายา (ยะลา), ลายตัวผู้ (จันทบุรี), สากกะเบือละว้า (สุโขทัย)

ส่วนที่ใช้               ขนจากผล

ขนาด                     7.5 กรัม ประมาณ 1 ช้อนชา

วิธีใช้                      ใส่ในหลอดข้าวเหนียว รับประมานขณะท้องว่าง ไม่ต้องรับประทานยาถ่ายตามเพราะว่ายาตัวนี้มีฤทธิ์เป็นยาถ่าย

ได้ผลดี                   สำหรับการถ่ายพยาธิตัวตืด ตัวกลม และเส้นด้าย

Scroll to top