งวงสุ่ม

งวงสุ่ม

ชื่อสมุนไพร : งวงสุ่ม ชื่ออื่นๆ : ตีนตั่ง, ติ่งตั่งตัวผู้ (เหนือ), งวงสุ่มขาว, เมี่ยงชนวนไฟ, สังขยาขาว (พล สท), งวงสุ่ม (ตะวันออกเฉียงเหนือ), งวงชุม (ขอนแก่น), มันเครือ (นครราชสีมา), ดวงสุ่ม (อุบลราชธานี), ดอกโรค (เลย), ข้าวตอกแตก (กลาง), เถาวัลย์นวล (ราชบุรี), ประโยค (ตราด), หน่วยสุด (ใต้), กรูด (สุราษฎร์ธานี), ตะกรูด (นครศรีธรรมราช), มันแดง (กาญจนบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calycopteris floribunda Lamk.
ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นข้าวตอกแตก เป็นไม้พุ่มเลื้อย ขนาดใหญ่ กิ่งอ่อนมักเป็นสันสี่เหลี่ยม มีขนสีน้ำตาลแกมแดงปกคลุม
  • ใบข้าวตอกแตก เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 2-7 เซนติเมตร ยาว 6-17 เซนติเมตร ใบด้านล่างมีขนสีน้ำตาลอ่อนแน่น ก้านใบยาว 1 เซนติเมตร
  • ดอกข้าวตอกแตก สีเขียวแกมเหลือง ออกเป็นช่อใหญ่ ยาว 10-40 เซนติเมตร ดอกย่อยมีกลีบรองดอก 5 กลีบ ส่วนโคนเชื่อมเป็นหลอด ปลายเป็นถ้วยมี 5 แฉก ภายในมีขน ยาว 4 มิลลิเมตร ไม่มีกลีบดอก เกสรผู้จำนวน 10 อัน เรียงเป็นสองวง วงละ 5 อัน
  • ผลข้าวตอกแตก รูปรีคล้ายเมล็ดข้าวเปลือก มีสันตามยาว 5 สัน ที่ปลายมีกลีบรองดอก เจริญเป็นปีก 5 ปีก มี 1 เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ราก

สรรพคุณ ข้าวตอกแตก :

  • ใบ รสเฝื่อน เจริญอาหาร สมาน ขับพยาธิ ระบายท้อง แก้ปวดท้อง จุกเสียด แก้บิด แก้ไข้ป่า แก้แผลเรื้อรัง นำใบตำให้ละเอียดผสมกับเนยทาแผล
  • ราก รสเฝื่อน แก้พิษงู ต้มน้ำดื่ม แก้กามโรค

นิเวศน์วิทยา : พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ และ ฝั่งน้ำทั่วไป.

Scroll to top