ข้าวโพด

ข้าวโพด

ชื่อสมุนไพร : ข้าวโพด
ชื่ออื่น ๆ 
: ข้าวสาลี, สาลี(ภาคเหนือ), โพด(ภาคใต้), บือเคส่ะ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ข้าวแข่(เงี้ยว-ฉาน-แม่ฮ่องสอน), เง็กบี้, เง็กจกซู่ (จีน)
ชื่อสามัญ : Corn, Maize
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zea mays Linn.
ชื่อวงศ์ : GRAMINEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นข้าวโพด มีราก เป็นระบบรากฝอย (Fibrous root system) ประกอบด้วยรากที่พัฒนามาจากส่วนแรดิเคิล (Radicle) และรากที่แตกแขนงออก (lateral root) ลำต้น มีลักษณะค่อนข้างกลมมีสีเขียว หรือ สีม่วง และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นประมาณ 2.5-5.0 เซนติเมตร ตั้งตรงมีความสูงตั้งแต่ 30 เซนติเมตรขึ้นไป ประกอบด้วยข้อ (Node) และปล้อง (Internode) บริเวณข้อมีเนื้อเยื่อเจริญ (Growth ring) จุดกำเนิดราก (Root primordia) ตา (Bud) และรอยกาบใบ (Leaf scar) โดยปล้องที่อยู่เหนือตามักพบร่องตา (Bud groove)
  • ใบข้าวโพด จะเป็นเส้นตรงปลายของมันแหลมยาวประมาณ 30-100 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2-10 เซนติเมตร เส้นกลางของใบจะเห็นได้ชัด ตรงขอบใบจะมีขนอ่อน ๆ สีขาว
    ใบข้าวโพด ข้าวโพด
  • ดอกข้าวโพด ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน (Monoecious) ช่อดอกตัวผู้อยู่ที่ส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกตัวเมียจะอยู่ต่ำถัดลงมาออกระหว่างกาบของใบและลำต้น ดอกย่อยจะมีก้านเกสรตัวผู้ 9-10 อัน และมีอับเรณูสีเหลืองส้ม ยาวราว 5 มิลลิเมตร ยอดเกสรตัวเมียจะเป็นเส้นบาง ๆ คล้ายกับเส้นไหมยาวและยื่นพันออกมาเป็นจำนวนมาก
    ดอกข้าวโพด
  • ฝักข้าวโพด เกิดจากดอกตัวเมียที่เจริญเติบโตแล้ว ข้าวโพดต้นหนึ่งอาจให้ฝักมากกว่าหนึ่งฝักก็ได้ ฝักข้าวหุ้มด้วยกาบบางหลายชั้น ฝักอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีนวล เราเรียกว่า เปลือกข้าวโพด ฝักข้าวโพดจะประกอบด้วยซังข้าวโพด (cob) ซึ่งเป็นที่สำหรับให้ผลที่เราเรียกว่าเม็ดเกาะ
    ข้าวโพด ฝักข้าวโพด
  • เมล็ดข้าวโพด(ผล) ผลจะเป็นฝักทรงกระบอกยาว ในฝัก 1 ฝัก มีเม็ดเกาะอยู่ประมาณ 8 แถว แถวหนึ่ง ๆ จะมีเม็ดประมาณ 30 เม็ด และมีสีได้ต่าง ๆ กันเช่นสีนวล เหลือง ขาว หรือม่วงดำ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เมล็ด (เม็ด), ซัง, ราก, แป้ง, ยอดเกสรตัวเมีย (ไหมข้าวโพด) และซังข้าวโพด

สรรพคุณ ข้าวโพด :

  • เมล็ด ฝาดสมาน บำรุงหัวใจ ปอด ทำให้เจริญอาหาร มีรสชุ่ม ไม่มีพิษ สามารถใช้ต้มรับประทานมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ และใช้พอกแผลเพื่อทำให้เยื่ออ่อนนุ่มไม่ให้เกิดการระคายเคือง
  • ซัง มีรสชุ่ม บำรุงม้าม ขับปัสสาวะ รักษาบวมน้ำ รักษาบิดและท้องร่วง  รักษานิ่ว
  • ยอดเกสรตัวเมีย (ไหมข้าวโพด)  มีรสชุ่ม ช่วยขับปัสสาวะ ขับน้ำดี บำรุงตับ รักษาตับอักเสบเป็นดีซ่าน ไตอักเสบบวมน้ำ ความดันเลือดสูง นิ่วในถุงน้ำดี อาเจียนเป็นเลือด เบาหวาน โพรงจมูกอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ ฝีหลายหัวที่เต้านม เลือดกำเดาอักเสบ
  • ราก ใช้รักษานิ่ว และอาเจียนเป็นเลือด สามารถขับปัสสาวะได้
  • แป้ง แป้งข้าวโพดเปียกใช้เป็นอาหารที่ดีสำหรับบุคคลที่ฟื้นจากการเป็นไข้ แป้งข้าวโพดเป็นแป้งที่ย่อยง่าย เชื่อกันว่าขนมปังที่ทำจากแป้งข้าวโพดมีคุณค่าทางอาหารมากกว่าขนมปัง ที่ทำมาจากแป้งสาลี สมควรใช้กับบุคคลที่เป็รโรคเกี่ยวกับตับและไต น้ำมัน ประกอบด้วยกรดไขมันคือ กรดโอเลอิค (oleic) ร้อนละ 37 กรดลิโนเลอิค (linoleic) ร้อยละ 50 กรดปาล์มมิติค (plamitic) ร้อยละ 10 และกรดสเตียริค (stearic) ร้อยละ 3 น้ำมันข้าวโพดสามารถนำมาประกอบอาหาร ใช้เป็นตัวทำละลายของสาร ergosterol เอามาเติมไฮโดรเจน (hydrogenated) น้ำมันจะแข็งขึ้นนำมาทำเป็นเนยเทีนมใช้ทำขนมเค้กตามที่ต้องการให้เป็นมัน


ข้อมูลเพิ่มเติม :

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

  • ใช้ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้อาเจียนเป็นเลือด โดยใช้รากแห้ง 60-120 กรัม ต้มน้ำดื่ม
  • ขับปัสสาวะ โดยใช้ยอดเกสรตัวเมีย หรือ ซังข้าวโพด ต้มน้ำดื่มแทนน้ำชา
  • แก้บวมน้ำใช้ซังข้าวโพดแห้ง 60 กรัม กับ ฮวงเฮียงก้วย (ผลของ Liquidambar Taiwanial Hance) 30 กรัม ต้มน้ำดื่ม หรือ ใช้ไหมข้าวโพดแห้ง 60 กรัม ต้มน้ำดื่ม (ห้ามใส่เกลือแกง)
  • แก้เบาหวาน ใช้ยอดเกสรตัวเมียแห้ง 30 กรัม ต้มน้ำดื่ม
  • แก้ความดันสูง ใช้ยอดเกสรตัวเมียแห้ง เปลือกแตงโมแห้ง เปลือกกล้วยหอมแห้งต้มกับน้ำดื่ม
  • แก้ไตอักเสบ หรือ เริ่มเป็นนิ่วในไต ใช้ยอดเกสรตัวเมียพอประมาณ ต้มกับน้ำดื่ม
  • แก้ไอเป็นเลือด ตกเลือด ใช้ยอดเกสรตัวเมียต้มกับเนื้อสัตว์กิน
  • แก้ท้องร่วง โดยใช้ซังข้าวโพด เผาเป็นถ่าน บดผสมน้ำดื่ม
  • แก้ความจำเสื่อม ลืมง่าย โดยใช้เกสรตัวเมียแห้งใส่กล่องยาสูบจุดสูบ
  • แก้เป็นแผลที่ผิวหนังมีเลือดออกโดยใช้ซังข้าวโพดเผาเป็นเถ้า ผสมน้ำมันเมล็ดป่าน แล้วทาบริเวณที่เป็น
  • ใช้แก้นิ่ว โดยนำต้น หรือ ใบสด หรือ แห้งต้มน้ำดื่ม
  • ใช้ถอนพิษสำแดง ถอนพิษร้อน และพิษยา โดยนำซังมาต้มกับน้ำดื่ม
  • ช่วยระบบขับถ่าย ในข้าวโพดนั้นเต็มไปด้วยเส้นใยอาหารปริมาณสูงที่เป็นตัวช่วยประตุ้นการทำงานของลำไส้ให้บีบตัวได้ดีและยังช่วยให้เกิดอาการเหล่านี้น้อยลง เช่น อาการท้องผูก ริดสีดวง เป็นต้น นอกจากนี้มันยังช่วยให้ย่อยอาหารได้ดี รวมไปถึงการป้องกันระบบทางเดินอาหารอีกด้วย ซึ่งเหมาะสำหรับกลุ่มคนที่มีอาการถ่ายยาก ถ่ายไม่ปกติ ควรทานวันละ 1-2 ฝักเพื่อช่วยกระตุ้นให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น
  • ลดอาการบวมน้ำ หากทานข้าวโพดต้มเป็นประจำ สามารถลดอาการบวมน้ำได้และยังช่วยขับปัสสาวะ ปรับระดับคอลเลสเตอรอลในร่างกาย

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ในการใช้น้ำมันข้าวโพด ซึ่งเป็นน้ำมันที่มี polyunsaturated fatty acids สูง ควรปกป้องไม้ให้น้ำมันเสียสภาพจากการถูกออกซิไดซ์ โดยต้องเก็บในที่เย็น ไม่มีความชื้นสูง และต้องปิดสนิทเพื่อไม้ให้สัมผัสกับออกซิเจน และเมื่อนำมาใช้ประกอบอาหารไม่ควรใช้ความร้อนสูง ส่วนการนำเมล็ดข้าวโพดมาใช้นั้นข้าวโพด ที่ถูกความชื้นแล้วเกิดเชื้อรา จะทำให้เกิดอะฟลาทอกซิน ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดมะเร็งได้ดังนั้นก่อนจะนำมาใช้บริดภคควรตรวจเช็คดูให้ละเอียด

ข้าวโพด เป็นหนึ่งในธัญพืชที่คนไทยคุ้นเคย และบริโภคกันอยู่เป็นประจำส่งผลให้มีการนำข้าวโพดมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง อาทิเช่น ใช้รับประทานเป็นอาหารนิยมรับประทานฝักสดข้าวโพดโดยการต้ม หรือ เผาให้สุก ส่วนฝักอ่อนนิยมนำมาปรุงอาหาร และยังมีการนำมาบรรจุกระป๋องส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ส่วนในต่างประเทศนิยมนำเมล็ดข้าวโพดมาบดให้ละเอียดแล้วมาทำอาหาร หรือ ใช้ทำขนมปัง และยังมีการนำข้าวโพดมาเป็นอาหารสัตว์ เนื่องจากเมล็ดข้าวโพดเป็นแป้ง และโปรตีนซึ่งในปัจจุบันมีการนำเมล็ดข้าวโพดจำนวนมากไปใช้ในการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ หมู เป็ด และโคนม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำข้าวโพดมาใช้เป็นวัตถุดิบ ในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเมล็ดข้าวโพดสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมได้หลายประเภท ทั้งอุตสาหกรรมอาหาร เช่น แป้ง น้ำตาล น้ำมัน น้ำเชื่อม น้ำส้ม รวมถึงอุตสาหกรรมต่างๆ อีกเช่น สิ่งทอ พลาสติก เชื้อดพลิง ฟิล์ม เป็นต้น ในส่วนฝักของใบ และลำต้น ก็มีการนำไปใช้ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ กระดาษ ปุ๋ย และฉนวนไฟฟ้า อีกด้วย

Scroll to top