แก้วลืมวาง

แก้วลืมวาง

ชื่อสมุนไพร : แก้วลืมวาง
ชื่ออื่นๆ
: ผีเสื้อ (กรุงเทพฯ), เก็งชุ้งล้อ (จีน-กรุงเทพฯ), ฉวีม่าย (จีนกลาง), สือจู๋ (จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dianthus chinensis Linn.
ชื่อวงศ์ : CARYOPHYLLACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นแก้วลืมวาง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 30-50 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านเป็นจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่อุดมสมบูรณ์ร่วนซุย
  • ใบแก้วลืมวาง ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน โคนใบเชื่อมติดกันเล็กน้อย ไม่มีก้านใบ ใบมีขนาดเล็ก ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกแคบ ปลายใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร
  • ดอกแก้วลืมวาง ออกดอกบริเวณปลายยอด มีประมาณ 1-3 ดอก ลักษณะของดอกมีกลีบรองกลีบดอก ยาวประมาณ 16-24 เซนติเมตร โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด หลอดยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร ส่วนปลายกลีบแยกออกจากกันเป็นแฉกแหลม ตั้งตรงมี 5 แฉก และกลีบดอกมีขนาดยาวประมาณ 1-25 มิลลิเมตร ขอบกลีบดอกหยักเป็นซี่ ๆ ห่างกัน มีทั้งสีแดงแกมขาว สีแดงม่วงอ่อน หรือสีแดงแกมสีแดงดำ กลางดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน ท่อเกสรเพศเมียแยกเป็นแฉก 2 แฉก
  • ผลแก้วลืมวาง ผลหุ้มอยู่ในโคนกลีบ ปลายผลหยักเป็นเลื่อย มี 4 ซีก สีแห้ง

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น

สรรพคุณ แก้วลืมวาง :

  • ทั้งต้น รสขม ใช้แก้โรคเรื้อน แผลเปื่อย และโรคมะเร็วผิวหนัง ขับปัสสาวะ เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อหัวใจ ไต กระเพาะปัสสาวะ และลำไส้เล็ก ใช้เป็นยาแก้ร้อนใน เป็นยาขับระดูของสตรี รักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะ หรือปัสสาวะเป็นเลือด
    ในจีนและอินโดจีน เป็นยาขับระดู ใช้กับบาดแผลและรักษาโรคโกโนเรีย ไม่ใช้กับหญิงมีครรภ์ เพราะจะทำให้แท้ง
ตำรับยาขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน
จะใช้แก้วลืมวาง, ผักกาดน้ำ, ชะเอม และรากต้นพุดตาน นำมาต้มกับน้ำรับประทาน
แก้แผลเน่าเปื่อย
แก้แผลเน่าเปื่อย ด้วยการใช้ต้นสดนำมาคั้นเอาน้ำล้างแผล
ยารักษาฝี
ยารักษาฝี ด้วยการใช้ต้นสดนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็นฝี
Exit mobile version