เผือก

เผือก

ชื่อสมุนไพร : เผือก
ชื่ออื่นๆ
: บอนหรือตุน(ภาคเหนือ), บอน(อีสาน), บอนเขียว, บอนจีนดำ, บอนท่า, บอนน้ำ(ภาคใต้), โอ่วไน, โอ่วถึง, โทวจือ(จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Colocasia esculenta (L.) Schott
ชื่อวงศ์ : ARACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นเผือก เป็นพืชล้มลุก คล้ายต้นบอน มีอายุสั้นฤดูเดียว แต่สามารถปลูกได้หลายรุ่น มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน จะเก็บสะสมอาหาร หัวมีลักษณะทรงกลมรี หัวเล็กหรือหัวใหญ่ ตามสายพันธุ์ มีเปลือกบางหรือมีขนขรุขระ ตามสายพันธุ์ มีสีน้ำตาลเข้ม มีเนื้อข้างในสีขาวนวล สีม่วง หรือสีขาวอมม่วง ตามสายพันธุ์ มีเนื้อแน่นฉ่ำน้ำ มีรสชาติกรอบมัน มีกลิ่นหอม มีก้านใบใหญ่ยาวอวบน้ำ มีสีเขียว แทงออกมาจากฐานลำต้น จะมีลูกเผือกเล็กๆ อยู่หลายหน่อออกแยกอยู่รอบๆ ต้นแม่ รากเผือก มีระบบรากฝอย จะมีรากแขนงเล็กๆ ออกรอบๆหัวแม่ จะขยายเป็นลูกเผือกเล็กๆ อยู่หลายหน่อออกแยกอยู่รอบๆต้นแม่ มีสีน้ำตาล
    เผือก เผือก
  • ใบเผือก เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ มีลักษณะรูปหัวใจ โคนใบกว้าง ปลายรี มีก้านใบใหญ่ยาวอวบน้ำ มีสีเขียว แทงออกมาจากดินจากฐานลำต้น
    บอน
  • ดอกเผือก ออกดอกเป็นช่อ มีลักษณะทรงกรวยยาว มีกาบใหญ่สีเหลือง มีก้านยาวใหญ่รองรับ มีดอกสีขาวครีม หรือสีเหลืองอ่อน ตามสายพันธุ์ เริ่มบานจากที่โคนก่อนแล้วไปที่ปลายยอด
  • ผลเผือก มีเนื้อเป็นแน่นอวบน้ำ มีลักษณะทรงกรวย มีเปลือกบาง ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีน้ำตาล มีเมล็ดเล็กๆอยู่ข้างใน
  • เมล็ดเผือก จะอยู่ภายในผล จะมีเมล็ดเล็กๆอยู่ข้างใน เมล็ดมีลักษณะเล็กๆ เมล็ดมีสีดำ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : หัว, ใบ

สรรพคุณ เผือก :

  • หัว  ใช้บำรุงกำลัง สำหรับผู้ที่ป่วย ผู้ที่ร่างกายอ่อนแรง ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ทำให้มีแรง ช่วยฟื้นฟูร่างกาย ลดไข้ ป้องกันฟันผุ เนื่องจากเผือกมีฟอสฟอรัสสูงมาก แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ท้องเสีย บำรุงลำไส้ได้ แก้ปวดเมื่อย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและกระดูก
  • ใบ นำใบมาต้มกับน้ำแล้วมาผสมกับน้ำใช้อาบแก้โรคผิวหนัง

[su_quote cite=”The Description”]ข้อควรระวัง
เผือกดิบกินไม่ได้มีพิษ มีแคลเซียมออกฟาเลต อาจทำให้แพ้เกิดอาการคันได้ ให้นำมาผ่านความร้อนให้สุกก่อน [/su_quote]

Scroll to top