หญ้าพันงูแดง

หญ้าพันงูแดง

ชื่อสมุนไพร : หญ้าพันงูแดง
ชื่ออื่น ๆ
: หญ้าพันงูเล็ก (นครราชสีมา), ควยงูน้อย หญ้าควยงู งูน้อย (ภาคเหนือ), พันงูแดง หญ้าพันธุ์งูแดง (ภาคกลาง), อั้งเกย ซั้งพี พีไห่ (จีนแต้จิ๋ว), เปยเซี่ยน (จีนกลาง)
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyathula prostrata (L.) Blume
ชื่อวงศ์ : AMARANTHACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นหญ้าพันงูแดง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีอายุปลายปี มีลำต้นสูงประมาณ 1-2.5 ฟุต ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อมีสีแดง ลำต้นเป็นเหลี่ยมมนสีแดง ผิวเปลือกลำต้นเรียบเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อยตามลำต้นหรือกิ่งก้าน เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามพื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ
    หญ้าพันงูแดง
  • ใบหญ้าพันงูแดง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร แผ่นใบมีสีเขียวอมแดง เส้นใบเป็นสีแดงเมื่อแก่
  • ดอกหญ้าพันงูแดง ดอกเป็นช่อตั้งออกที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบ ช่อดอกยาวประมาณ 7.5-18 นิ้ว ปลายช่อมีดอกออกเป็นกระจุกรวมกัน โคนช่อจะมีดอกห่างกัน รอบก้านช่อดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ดอกมีสีเขียวมีขนอ่อน ไม่มีกลีบ ดอกมีเกสรเป็นเส้นสีชมพู 9 เส้น
  • ผลหญ้าพันงูแดง ผลเป็นแห้ง ลักษณะของผลเป็นรูปสามเหลี่ยมผิวเรียบ ภายในผลมีเมล็ดสรน้ำตาลเป็นมัน ผลเป็นผลแห้งและแตกได้

ส่วนที่ใช้เป็นยา : : ทั้งต้น, ใบ, ดอก, ราก

สรรพคุณ หญ้าพันงูแดง :

  • ทั้งต้น รสจืด เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา แก้บิด ขับนิ่ว และขับโลหิตเป็นประจำเดือน เจริญไฟธาตุ แก้พิษฝี แก้ไข้ตรีโทษ แก้ไอ แก้เบื่อเมา ขับเสมหะ ตำพอกแก้โรคผิวหนัง แก้พิษตะขาบ แมลงป่อง
  • ใบ รสจืด แก้เม็ดยอดในคอ แก้คออักเสบ
  • ดอก รสจืด แก้เสมหะคั่งในทรวงอก ละลายก้อนนิ่ว
  • ราก รสจืด ปรุงเป็นยาต้มแก้บิด และใช้ปิดพอกบริเวณที่คันเนื่องจากถูกตะขาบกัด ใช้ทารอบคอแก้ไอ และทาท้องเมื่อเป็นพยาธิ

ในอินเดียใช้ทั้งต้นเป็นยาภายนอก แก้โรคผิวหนัง
ในมาเลเซียใช้เป็นยาทั้งภายใน และภายนอก กล่าวคือ ทั้งต้นต้มกิน แก้ไอ

Scroll to top