หญ้าแพรก

หญ้าแพรก

ชื่อสมุนไพร : หญ้าแพรก
ชื่ออื่น
 : หญ้าแผด (ภาคเหนือ), หญ้าเป็ด (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), หนอเก่เค (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ทิซั่วเช่า (จีน),
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cynodon dactylon (L.) Pers.
ชื่อวงศ์ : POACEAE (GRAMINEAE)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นหญ้าแพรก อายุหลายปี ทอดลำไปกับพื้น แล้วตั้งขึ้น ลำแข็ง ผิวเกลี้ยง สูง 5-20 เซนติเมตร
  • ใบหญ้าแพรก กาบใบ เนื้อบาง โอบลำแบบหลวม ๆ ขอบแผ่เป็นแผ่นบาง ผิวเกลี้ยง แผ่นใบ เนื้อบางอ่อนนุ่ม ฐานกว้าง กว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร ยาว 0.5-1 เซนติเมตร ปลายแหลม ลิ้นใบ เป็นเยื่อบาง สูง 0.2-0.3 มิลลิเมตร ปลายมีขนสีขาว ด้านข้างและด้านหลังมีขนอ่อนนุ่มคล้ายไหม
    หญ้าแพรก
  • ดอกหญ้าแพรก ช่อดอก แบบกระจะเรียงบนก้านย่อยแบบนิ้วมือ จำนวน 3-6 ช่อ แกนช่อดอกเป็นสามเหลี่ยม ขอบมีหนามสากมือเรียงไปจนถึงปลาย  ช่อดอกย่อย แบบเดี่ยว แบนทางด้านข้างเรียงทางด้านเดียวบนแกนจำนวน 2 แถว กาบช่อย่อยล่าง เป็นเยื่อบางแบนทางด้าน ข้างยาว 1.2-1.3 มิลลิเมตร เส้นภายใน 1 เส้น สันมีขนเรียงกันไปจนถึงปลาย กาบช่อย่อยบน เป็นเยื่อบาง ยาว 1-1.2 มิลลิเมตร  กาบบน เป็นเยื่อโปร่งบาง ยาว 2-2.2 มิลลิเมตร เส้นภายใน 3 เส้น สันของเส้นกลางมีขนอ่อนนุ่มเป็นแผงเรียงไปจนถึงปลาย ปลายแหลม กาบล่าง เป็นเยื่อบางเส้นภายใน 2 เส้น ขอบแผ่เป็นเยื่อบาง ยาว 1.8-2 มิลลิเมตร ปลายแหลม กลีบเกล็ดรูปกรวยปลายตัดเฉียงยาว 0.2-0.3 มิลลิเมตร อับเรณู ยาวประมาณ 1.2 มิลลิเมตร สีเขียวอ่อน รังไข่กลม ยาว 0.2-0.3 มิลลิเมตร ยอดเกสรเพศเมีย สีชมพู

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, ราก

สรรพคุณ หญ้าแพรก :

  • ทั้งต้น รสขมเย็น ตำกับสุราพอกหรือทาแก้พิษอักเสบ ปวด บวม ต้มดื่มแก้ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้หัว เหือดหัด สุกใส ดำแดง เป็นต้น แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ตกโลหิตระดูมากเกินไป แก้อาเจียนเป็นเลือด ขับลมแก้อัมพาต ปวดเมื่อยตามกระดูก แก้โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ แก้ริดสีดวงทวาร
  • ราก รสขมเย็น ต้มหรือบดปั้นเม็ดรับประทาน แก้โรคแผลหนองเรื้อรัง แก้กามโรคระยะออกดอกขับปัสสาวะ แก้นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ แก้ริดสีดวงทวารที่มีเลือดออก แก้บวมน้ำ
Scroll to top