ชื่อสมุนไพร : สีเสียดเปลือก
ชื่ออื่นๆ : สีเสียด(กลาง), สีเสียดอ้ม(ภาคอีสาน), เบ้
ชื่อสามัญ : Burmese mahogany
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pentace burmanica Kurz.
ชื่อวงศ์ : TILIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- สีเสียดเปลือก เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-25 เมตร ลำต้นแตกกิ่งต่ำ เรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ
- ใบสีเสียดเปลือก ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่หรือรูปขอบขนาน ขอบใบเว้าเป็นคลื่น ปลายใบแหลม โคนใบมักจะเว้าเล็กน้อย
- ดอกสีเสียดเปลือก สีขาว ออกเป็นช่อแตกแขนงสั้นๆ ตามปลายกิ่งและซอกใบ
- ผลสีเสียดเปลือก ผลแห้ง มีปีกด้านข้างเป็นครีบแผ่กว้าง 5 ครีบ
ส่วนที่ใช้เป็นยา : : เปลือกต้น, ผล
สรรพคุณ สีเสียดเปลือก :
- เปลือกต้น รสฝาดหวาน ต้มรับประทานแก้บิด ท้องร่วง แก้อติสาร อมเคี้ยวแก้แผลในปากคอ ฆ่าเชื้อโรคในปาก ฝนทาสมานแผล แก้แผลเน่าเปื่อยพุพอง
- ผล แก้ไอ แก้เจ็บ ขับเสมหะ
สถานภาพ : พืชหายาก สมัยก่อนมีการเก็บหาเปลือกเป็นการค้า โดยนำเปลือกมาเคี้ยวกับหมาก ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ประโยชน์ด้านสมุนไพร เปลือกต้น แก้ท้องเดิน แก้บิด ปวดเบ่ง แก้อาเจียน กินกับหมากแก้ปูนกัดปาก
เขตกระจายพันธุ์และถิ่นกำเนิด : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย พบสีเสียดเปลือกในป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง ต่างประเทศพบที่อินเดีย พม่า และกัมพูชา ขึ้นตามป่าดิบแล้ง ระดับความสูง 50-800 เมตร ออกดอกและผลเดือน ธันวาคม – เมษายน เป็นผลเดือน มกราคม- กุมภาพันธ์