พรมมิแดง

พรมมิแดง

ชื่อสมุนไพร : พรมมิแดง
ชื่ออื่นๆ
: อือล้งไฉ่, อุยลักก๊วยโชะ(จีน), ผักเบี้ย(ภาคกลาง-ราชบุรี), พรมมิแดง(ประจวบฯ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trianthema triquetra var. triquetra Rottl. ex Willd.
ชื่อวงศ์ : AIZOACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นพรมมิแดง เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเตี้ย และจะแตกกิ่งก้านสาขาตามบริเวณโคนต้น ส่วนกิ่งที่แตกออกมานั้นจะทอดเลื้อยไปกับพื้นดิน
    พรมมิแดง
  • ใบพรมมิแดง จะออกตรงข้ามกัน มีลักษณะเป็นรูปใบเรียวแคบ ใบจะมีความยาวประมาณ 0.15-0.7 ซม. และกว้างประมาณ 0.05-0.2 ซม. ก้านใบสั้น ส่วนโคนก้านใบจะแผ่ออกเป็นกาบ
  • ดอกพรมมิแดง จะออกเป็นกระจุก ตามง่ามใบ กลีบดอกมีประมาณ 5 กลีบ เกสร : เกสรตัวผู้จะมีอยู่ ถ อัน จะอยู่สลับกันกลีบดอก
  • ผลพรมมิแดง ผลนั้นจะออกเป็นฝัก และมีขนาดเล็ก ฝักนั้นยาวประมาณ 3 มม. ภายในจะมีเมล็ดประมาณ 2 เม็ด มีลักษณะเป็นรูปไต และเป็นสีดำ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, ใบ, ดอก

สรรพคุณ พรมมิแดง :

  • ทั้งต้น จะมีรสเย็น และขมเล็กน้อย ใช้เป็นยาขับเลือด ใช้ดับพิษไข้หัว เช่น รักษาไข้อาการกระหายน้ำ อาการร้อนใน เป็นฝีดาด ส่วนมากจะใช้ปรุงเป็นยาเขียวดับพิษร้อนทั้งปวง
  • ใบ ใช้เป็นยาขับเสมหะ
  • ดอก  ใช้รักษาโรคเลือดประจำเดือนที่จางใส
Scroll to top