พรมมิ

พรมมิ

ชื่อสมุนไพร : พรมมิ
ชื่ออื่นๆ :
ผักมิ, ผักหมี่ หยดน้ำตา (ทั่วไป), พรมลี (ชุมพร) , Brahmi (ฮินดู-อินเดีย)
ชื่อสามัญ : Indian pennywort , Brahmi
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bacopa monnieri  Pennell.
ชื่อวงศ์ : SCROPHULARIOACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นพรมมิ พืชล้มลุกขนาดเล็ก สูง 10-40 เซนติเมตร ลำต้นเลื้อยทอดไปตามพื้นดินที่ชุ่มชื้น หรือมีน้ำขัง พรมมิแตกกิ่งก้านมาก งอกรากที่ข้อใกล้พื้นดิน ลำต้นเกลี้ยง อวบน้ำ

 

 

 

  • ใบพรมมิ เป็นใบเดี่ยวรูปไข่ค่อนข้างยาว โคนใบแคบ ปลายใบกว้างมนกลม แผ่นใบเรียบ โดยเฉพาะที่อยู่พรมมิเหนือน้ำ ใบจะหนาและเรียบเป็นมัน ขอบใบเรียบ ขนาดของแผ่นใบกว้าง  0.5-1 เซนติเมตร ยาว 1.5 เซนติเมตร ไม่มีก้านใบ แตกจากลำต้นแบบตรงกันข้าม

 

 

  • ดอกพรมมิ เป็นดอกเดี่ยวแบบสมบูรณ์เพศออกตามซอกใบ กลีบดอกขาว หรือสีครามอ่อน ตอนโคนติดกันพรมมิเป็นหลอด ตอนปลายแยกเป็น 5 กลีบ โดยแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนบนมี 2 กลีบ ส่วนล่างมี 3 กลีบ กลีบเลี้ยงสีเขียวมี 5 กลีบ แต่ละกลีบแยกจากกันแต่ซ้อนกันอยู่ กลีบเลี้ยงที่อยู่ด้านนอกมีขนาดใหญ่กว่ากลีบที่อยู่ด้านใน เกสรตัวผู้ติดกับกลีบดอกมี 4 อัน

 

  • ผลพรมมิ ผลแห้งแตกได้ รูปไข่ กว้าง 3 มิลลิเมตร ยาว 5 มิลลิเมตร

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น

สรรพคุณ พรมมิ :

  • ทั้งต้น รสเย็นหวาน ช่วยบำรุงประสาท แก้ลมบ้าหมู แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับปัสสาวะ ขับพยาธิ ขับเสมหะ แก้หืด และบำรุงหัวใจ
Scroll to top