ชะเอมเถา

ชะเอมเถา

ชื่อสมุนไพร : ชะเอมเถา
ชื่ออื่นๆ
: ขมเหลือง (เชียงใหม่), ข้าวสาร, เครือเขาขม-หลวง, ป้างไม้ (ลำปาง), อ้อยสามสวน,  อ้อยแสน-สวน (ภาคเหนือ), ชะเอมป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Myriopteron extensum (Wight) K.Schum.
ชื่อวงศ์ : ASCLEPIADACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นชะเอมเถา ไม้เลื้อยเนื้ออ่อน เลื้อยได้ไกล 5-10 เมตร
  • ใบชะเอมเถา เดี่ยว รูปรี รูปไข่แกมรูปรีหรือค่อนข้างกลม ขนาด 5-7 x 8-12 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลมหรือยาวคล้ายหาง โคนมนหรือแหลม ขอบเรียบ เส้นแขนงใบเห็นเด่นชัดทั้งสองด้าน
  • ดอกชะเอมเถา ออกเป็นช่อแยกแขนงหลวมๆ ตามซอกใบ ช่อดอกยาว 5-20 เซนติเมตร ดอกย่อยเล็ก กลีบรองดอกเล็กมาก กลีบดอก 5 กลีบ รูปใบหอก เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 0.8-1 เซนติเมตร ออกดอกเดือนกันยายนถึงตุลาคม
  • ผลชะเอมเถา เป็นฝักคู่รูปกระสวยหรือรูปไข่เบี้ยว ขนาด 2-4 x 5-8 เซนติเมตร ฝักเรียงในระนาบเดียวกัน เปลือกผลลักษณะเป็นพูหลายพูขนานกันจากขั้วผลไปยังปลายผล เมื่อแก่จะแห้งแตกตามรอยตะเข็บเพียงด้านเดียว เมล็ดรูปไข่หรือรูปรี มีพู่ขน

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก เถา

สรรพคุณ ชะเอมเถา  :

  • ราก รักษาวัณโรคและแก้ไอ
  • เถา รสหวาน ทำให้ชุ่มคอและแก้เจ็บคอ บำรุงผิวหนัง แก้คอแห้ง   แก้ดีและโลหิตพิการ ขับเสมหะ แก้กระหายน้ำ ลดอาการไอ
  • ใบ ยอดอ่อน ฝักอ่อน รับประทานสุกเป็นผัก มีรสหวานจัด

[su_quote cite=”The Description”]ยอดอ่อน ใบอ่อน ผลอ่อน ใช้ลวกจิ้มน้ำพริก มีรสหวาน หรือจะแกง ผัด ก็ได้ แม้แต่เถาก็มีรสหวานเช่นกัน[/su_quote]

Scroll to top