ชา

ชา

ชื่อสมุนไพร : ชา
ชื่ออื่น ๆ 
: เมี่ยง, เมี่ยงป่า(ไทยภาคเหนือ-พายัพ), เมี่ยง, เมี่ยงป่า (ไทยภาคเหนือ-พายัพ,ไทยภาคกลาง)
ชื่อสามัญ : Tea, Thea
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Camellia sinensis Ktze.
วงศ์ : THEACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นชา เป็นพรรณไม้ขนาดย่อมจนถึงขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 1-6 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก ตามกิ่งอ่อนมีขนปกคลุม
  • ใบชา เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของเป็นรูปหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นจักเล็กๆ หรือเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นสีเขียวอ่อน แผ่นใบหนาและเหนียว เรียบเป็นมัน คล้ายใบข่อยแต่จะยาวและใหญ่กว่า เส้นใบเป็นตาข่าย ส่วนก้านใบสั้น
  • ดอกชา ออกดอกเป็นช่อหรือออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ลักษณะของดอกคล้ายกับดอกส้มเขียวหวาน โดยดอกชาจะมีลักษณะใหญ่สีสวย ดอกเป็นสีขาวนวล และมีกลิ่นหอม ในช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 1-4 ดอก กลีบดอกมี 5 กลีบ ส่วนกลีบเลี้ยงมี 2 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่กลางดอกจำนวนมาก
  • ผลชา เป็นผลแบบแคปซูล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-4 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกออก ในหนึ่งผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 1-3 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยมแบน หรือค่อนข้างกลม ผิวเมล็ดเรียบ เป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำหรือสีน้ำตาลอมแดง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-14 มิลลิเมตร

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ใบอ่อน, กากชา, กากเมล็ด, กิ่ง, ใบ

สรรพคุณ ชา :

  • ใบชา รสฝาด รมแก้หืด ชงแก่ ๆ รับประทาน แก้พิษของยาอันตราย สมานแผล
    นำมาต้มเคี่ยวเอาน้ำกิน มีฤทธิ์ช่วยกระตุ้น ทำให้กระชุ่มกระชวย ไม่ง่วง
    กากใบชา ใช้โขลกหิดพอกแผลถูกไฟไหม้ ถูกน้ำร้อนลวก
    และยังมีฤทธิ์ฝาดสมานใช้รักษาอาการท้องร่วง ร้อนในกระหายน้ำ และรักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้ดี บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น
    นอกจากนี้ใบยังใช้ใส่ลงโลงศพ เพื่อดูดกลิ่นเหม็นจากศพ
  • ใบอ่อนชา จะมีรสฝาด หอม หวาน ใช้ยำกินอร่อยมาก นอกจากนี้แล้ว ยังนำมาปรุงแต่งและอบกลิ่นเป็นใบชา
  • กากเมล็ดชา จะมีสารชาโปนีน (saponin) มีคุณสมบัติล้างสิ่งต่าง ๆ ได้สะอาดดีมาก และยังใช้สระผมล้างสิ่งสกปรกออกจากผม นอกจากนั้นแล้วน้ำมันที่ติดกากเมล็ดยังช่วยทำให้เส้นผมชุ่มชื้นเป็นมันอีกด้วย
  • กิ่งและใบชา นำมาชงแก่ ๆ ใช้รักษาอาการพิษของยาอันตรายที่เป็นแอลกอฮอล์ต่าง ๆ และยังใช้ทำน้ำยาสมานของกรดแทนนิค ใส่แผลไหม้พอง

[su_quote cite=”The Description”]ใบอ่อนที่นำมาปรุงแต่งอบกลิ่นใบชา ยังส่งไปขายเป็นสินค้าตามต่างประเทศ ในประเทศไทยเราเรียกว่าต้นเมี่ยง ส่วนมากทางภาคเหนือเป็นที่รู้จักกันมานาน ใบเมี่ยงนี้นำมานึ่งแล้วหมักกับเกลือ ทำเป็นคำ ๆ ใช้อม ทำให้คอชุ่มรักษาอาการกระหายน้ำได้ดีมาก การเก็บใบชา มักจะเก็บแต่ใบอ่อน ๆ แรกผลิออกเป็น 3 ใบเท่านั้น ส่วนการเก็บเมี่ยงนี้มักจะเก็บทั้งใบอ่อนและใบขนาดกลางเท่านั้น[/su_quote]
[su_quote cite=”The Description”]ใบชายังใช้ใส่ลงโลงศพ เพื่อดูดกลิ่นเหม็นจากศพ[/su_quote]
[su_quote cite=”The Description”]ใบอ่อนชา จะมีรสฝาด หอม หวาน ใช้ยำกินอร่อยมาก [/su_quote]
[su_quote cite=”The Description”]ใบชา ยังนำมาปรุงแต่งและอบกลิ่นเป็นใบชา[/su_quote]
[su_quote cite=”The Description”]กากเมล็ด จะมีสารชาโปนีน (saponin) มีคุณสมบัติล้างสิ่งต่าง ๆ ได้สะอาดดีมาก และยังใช้สระผมล้างสิ่งสกปรกออกจากผม นอกจากนั้นแล้วน้ำมันที่ติดกากเมล็ดยังช่วยทำให้เส้นผมชุ่มชื้นเป็นมันอีกด้วย[/su_quote]
[su_quote cite=”The Description”]กิ่งและใบชา นำมาชงแก่ ๆ ใช้รักษาอาการพิษของยาอันตรายที่เป็นแอลกอฮอล์ต่าง ๆ และยังใช้ทำน้ำยาสมานของกรดแทนนิค ใส่แผลไหม้พอง[/su_quote]

Scroll to top