ผู้เป็นเภสัชกรจะต้องรู้จักการชั่งตัวยา โดยใช้มาตราต่างๆ เพื่อให้การปรุงยาเป็นไปตามตำรับยา หรือใบสั่งยา และการชั่งแบบโบราณ หมอนิยมใช้เครื่องหมาย “ตีนกา” บอกน้ำหนัก วางไว้ท้ายชื่อตัวยานั้น
เครื่องหมายตีนกา
เป็นเครื่องหมายที่หมอโบราณนิยมใช้บอกขนาดของตัวยาในใบสั่งยา มีลักษณะคล้ายเครื่องหมาย กากบาท ตำแหน่งต่างๆในเครื่องหมายจะบอกถึงมาตรา
ตัวอย่างการอ่านค่าเครื่องหมายตีนกา อ่านได้ดังนี้ คือ 1 ชั่ง 2 ตำลึง 3 บาท 5 สตางค์ 4 เฟื้อง 6 ไพ
มาตราชั่ง แบบโบราณ
4 ไพ = 1 เฟื้อง
2 เฟื้อง = 1 สลึง
4 สลึง = 1 บาท
4 บาท = 1 ตำลึง
20 ตำลึง = 1 ชั่ง
50 ชั่ง = 1 หาบ
1 ชั่ง = 80 บาท
1 บาท = 15 กรัม (เมตริก)
1 หาบ = 50 ชั่ง = 60,000 กรัม (60 ก.ก.)
มาตราชั่งเปรียบเทียบ ไทย – สากล (เมตริก)
1 หุน เท่ากับ 0.375 กรัม
1 ฬส ” 0.1171875 ”
1 อัฐ ” 0.234375 ”
1 ไพ ” 0.46875 ”
1 เฟื้อง ” 0.875 ”
1 สลึง ” 3.750 ”
1 บาท ” 15 ”
1 ตำลึง ” 60 ”
1 ชั่ง ” 1,200 ”
1 หาบ ” 60,000 กรัม หรือเท่ากับ 60 กิโลกรัม
มาตรา สำหรับตวงของเหลว
1 ทะนาน จุ เท่ากับ 1 ลิตร เท่ากับ 1,000 ซี.ซี. หรือเท่ากับ 1 กิโลกรัม
1/2 ทะนาน จุ 1/2 ลิตร 500 ซี.ซี.
15 หยด จุ ประมาณ 1 ซี.ซี.
1 ช้อนกาแฟ จุ ประมาณ 4 ซี.ซี.
1 ช้อนหวาน จุ ประมาณ 8 ซี.ซี.
1 ช้อนคาว จุ ประมาณ 15 ซี.ซี.
1 ถ้วยชา จุ ประมาณ 30 ซี.ซี.
มาตราวัด แบบโบราณ
คำว่า องคุลี ท่านหมายเอา 1 ข้อของนิ้วกลาง ตามมาตรา ดังนี้ คือ
2 เมล็ดงา เป็น 1 เมล็ดข้าวเปลือก
4 เมล็ดข้าวเปลือก เป็น 1 องคุลี (วัดตามยาว)
15 องคุลี เป็น 1 ชั้นฉาย
คำว่า กล่ำ ท่านเทียบมาจาก เมล็ดมะกล่ำตาช้าง ตามมาตราดังนี้ คือ
2 เมล็ดงา เป็น 1 เมล็ดข้าวเปลือก
4 เมล็ดข้าวเปลือก ” 1 กล่อม
2 กล่อม ” 1 กล่ำ เท่ากับ ครึ่งไพ
2 กล่ำ ” 1 ไพ
4 ไพ ” 1 เฟื้อง
2 เฟื้อง ” 1 สลึง
4 สลึง ” 1 บาท
4 บาท ” 1 ตำลึง
20 ตำลึง ” 1 ชั่ง
20 ชั่ง ” 1 ดุล
20 ดุล ” 1 ภารา
คำว่า หยิบมือ กำมือ กอบมือ เทียบไว้ดังนี้ คือ
150 เมล็ดข้าวเปลือก เป็น 1 หยิบมือ
4 หยิบมือ ” 1 กำมือ
4 กำมือ ” 1 ฟายมือ
2 ฟายมือ ” 1 กอบมือ
3 กอบมือ ” 1 ทะนาน
20 ทะนาน ” 1 สัด
40 สัด ” 1 บั้น
2 บั้น ” 1 เกวียน