กระแตไต่ไม้

กระแตไต่ไม้

ชื่ออื่นๆ : กระแตไต่ไม้, ฮำฮอก (อุบลราชธานี), ใบหูช้าง, สไบนาง (กาญจนบุรี), กูดขาฮอก, กูดอ้อม, กูดไม้ (เหนือ), กระปรอกว่าว (ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี), หัวว่าว (ประจวบคีรีขันธ์), หว่าว (ปน), สะโมง, กาบหูช้าง, หัวว่าว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Drynaria quercifolia (L.) J.Sm.
ชื่อวงศ์ : Polypodiaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นกระแตไต่ไม้ เป็นไม้ล้มลุกจำพวกเฟิร์น เลื้อยเกาะ บนต้นไม้หรือก้อนหิน ที่มีร่มเงาหรือแสงแดด ลำต้นทอดนอนยาวได้ถึง 1 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร เหง้าหัวกลม ยาว ปกคลุมด้วยเกล็ดสีน้ำตาลเข้มมีขนยาวสีน้ำตาลปกคลุมคล้ายกำมะหยี่ เนื้อในสีขาวและเขียว
    กระแตไต่ไม้ กระแตไต่ไม้
  • ใบกระแตไต่ไม้ เป็นใบเดี่ยว มีสองชนิด คือใบที่ไม่สร้างสปอร์ ประกบต้นตั้งเฉียงกับลำต้น รูปไข่ ไม่มีก้านใบ กว้างประมาณ 20 เซนติเมตร ยาวได้ถึง 32 เซนติเมตร ขอบใบเว้าเป็นแฉกตื้นๆหุ้มอยู่บริเวณเหง้า ฐานใบรูปกระแตไต่ไม้หัวใจ ปลายใบมนหรือแหลม ผิวของใบอ่อนมีขนรูปดาว และใบที่สร้างสปอร์ จะอยู่สูงกว่าใบที่ไม่สร้างสปอร์ และชี้ขึ้นด้านบน แผ่นใบรูปขอบขนาน หรือรูปหอก กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ยาวได้ถึง 80 เซนติเมตร ขอบใบเว้าลึก เกือบถึงเส้นกลางใบ คล้ายใบสาเก เป็นพู เรียงตัวแบบขนนก เนื้อใบเหนียว สีเขียวหม่น เป็นมัน ก้านใบยาว 15-25 เซนติเมตร โคนก้านใบมีเกล็ดสีน้ำตาลดำ ฐานใบรูปลิ่ม ปลายใบเรียวแหลม กลุ่มอับสปอร์รูปกลมหรือรูปขอบขนาน เรียงเป็นสองแถวอยู่ระหว่างเส้นใบย่อย แอนนูลัส ประกอบด้วยเซลล์เพียงแถวเดียว เรียงตัวในแนวตั้ง ไม่มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์ พบเกาะอยู่ตามต้นไม้ หรือตามโขดหินในที่มีร่มเงา หรือตามชายป่า



ส่วนที่ใช้เป็นยา  : ส่วนหัว, ใบ

สรรพคุณ กระแตไต่ไม้ :

  • ส่วนหัวของกระแตไต่ไม้ ปรุงเป็นยาต้มรับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะพิการและกระปริกระปรอย ขับระดูขาว แก้เบาหวาน แก้ไตพิการ เป็นยาคุมธาตุ เป็นยาเบื่อพยาธิ
  • ใบ ตำพอกแผล แก้แผลเรื้อรังและแผลพุพอง
Scroll to top