ชำมะนาด

ชำมะนาด

ชื่อสมุนไพร : ชำมะนาด
ชื่ออื่นๆ :
ชำมะนาดกลาง, ชมมะนาด, ดอกข้าวใหม่, อ้มส้าย, ชำปะนาด, หางเม้นเครือ, หญ้าช้างย้อย, อุ่มฟูม
ชื่อสามัญ : Bread flower
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vallaris glabra Ktze.
ชื่อวงศ์ :  APOCYNACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นชำมะนาด เป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นแข็งสีเขียวคล้ำตกกระ มีน้ำยางขาว
    ชำมะนาด
  • ใบชำมะนาด เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรีกว้างแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-15 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร
  • ดอกชำมะนาด ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมากคล้ายรูประฆังคว่ำ กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน กลีบดอกสีขาว โคนกลีบสีเขียวอ่อนเชื่อมติดกัน เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 1-2 ซม. มีกลิ่นหอมคล้ายข้าวใหม่ผสมใบเตย บาน 1-2 วันแล้วร่วง ออกดอกในช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย. ดอกดกช่วงเดือน เม.ย.
  • ผลชำมะนาด ผลสดมีเนื้อนิ่ม เมื่อแก่แตกออก เมล็ดขนาดเล็ก มีขนปุยที่ปลายช่วยให้ปลิวไปตามลม

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ยาง, ดอก

สรรพคุณ ชำมะนาด :

  • ยาง  รสร้อนเมา ใส่แผลสด ช่วยสมานแผลและห้ามเลือด
  • ดอก  รสเมาเบื่อร้อน ช่วยถ่ายน้ำเหลือง ทำให้อาเจียน มีฤทธิ์ถ่ายแรงมาก เป็นยาอันตราย

เอกสารอ้างอิง

  1. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม.  2542.  พจณานุกรมไม้ดอกไม้ประดับในเมืองไทย.  บริษัท รวมสาร (1977) จำกัด พิมพ์ครั้งที่ 5.  981 หน้า (218)
  2. ปิยะ เฉลิมกลิ่น.  2540.  ไม้ดอกหอม เล่ม 1.  สำนักพิมพ์บ้านและสวน. พิมพ์ครั้งที่ 5.  160 หน้า (85)
  3. ปิยะ เฉลิมกลิ่น และคณะ.  2546.  หอมกลิ่นดอกไม้เมืองไทย.  จัดพิมพ์โดยโครงการ BRT บริษัท จิรวัฒน์ เอ็กเพรส จำกัด กรุงเทพฯ.  336 หน้า (82)

 

Scroll to top