แสยก

แสยก

ชื่อสมุนไพร : แสยก
ชื่ออื่นๆ :
 ว่านจะเข็บ, กะแหยก, มหาประสาน, ย่าง, แสยกสามสี, เคียะไก่ให้, ตาสี่กะมอ, นางกวัก, ว่านสลี
ชื่อสามัญ : Slipper flower, Redbird Cactus, Jew-Bush
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pedilanthus tithymaloides (L.) Poit.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นแสยก เป็นพรรณไม้พุ่ม ที่มีความสูงของต้นประมาณ 60-100 เซนติเมตร ลำต้นกลมและคดงอ หรือหักงอไปมาทำให้เป็นรูปซิกแซก ลำต้นเป็นสีเขียว ผิวเรียบ เนื้ออ่อนนิ่มและฉ่ำน้ำ ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-12 มิลลิเมตร ภายในมียางสีขาวคล้ายกับน้ำนม
    แสยก
  • ใบแสยก เดี่ยวเรียงสลับกันซ้ายขวาในระนาบเดียวกัน รูปไข่ ฐานใบกลม มน หรือแหลม ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่น ปลายใบมนหรือแหลม เส้นใบมองเห็นไม่ชัด เนื้อใบหนา ด้านล่างมีขนอ่อน เส้นเล็ก ปกคลุมบาง ๆ
    แสยก
  • ดอกแสยก สีแดง ออกเป็นช่อตามลำต้น ที่ยอดและตามกิ่งแขนงสั้น ๆ ใกล้ยอด ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ก้านช่อยาว 3 – 20 มิลลิเมตร มีขน ช่อดอกยาว 1 – 2.5 เซนติเมตร. ดอกมีลักษณะคล้ายรองเท้าหรือเรือ มี 5 กลีบ เรียงเป็นสองชั้น ชั้นในมี 3 กลีบ สั้น และแคบกว่ากลีบชั้นนอก มีขนละเอียด
    แสยก
  • ผลแสยก เป็นชนิดแห้งแล้วแตก.

ส่วนที่ใช้เป็นยา :  : ทั้งต้น, ยาง

สรรพคุณ แสยก :

  • ทั้งต้น รสเมาเบื่อเอียน ยอดสดตำพอกสมานแผล ห้ามเลือดดีมาก แก้โรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ถ้าทุบใส่บ่อปลาจะตายหมด ทุบทิ้งลงในวังจระเข้ จระเข้จะหนีหมด
  • ยาง รสร้อนเมา ทากัดหูด รับประทานทำให้อาเจียน
Scroll to top