อวบดำ

อวบดำ

ชื่อสมุนไพร : อวบดำ
ชื่ออื่นๆ
: เกลื่อน (สุราษฎร์ธานี), ตาไชใบใหญ่ (ตรัง), อวบดํา (ชุมพร), พลู่มะลี (เขมร-สุรินทร์), โว่โพ้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chionanthus ramiflorus Roxb.
ชื่อวงศ์ : OLEACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นอวบดำ เป็นไม้พุ่มผลัดใบขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร เปลือกต้นเรียบเป็นสีขาวอมน้ำตาล เกลี้ยงหรือแตกระแหงเล็กน้อย ส่วนกิ่งก้านเรียวเล็กและลู่ลงเล็กน้อย กิ่งอ่อนมีสีน้ำตาล
    อวบดำ
  • ใบอวบดำ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบหรือเป็นรูปลิ่ม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-18 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบเกลี้ยงทั้งหลังใบและท้องใบ เนื้อใบหนาและเหนียวคล้ายแผ่นหนัง หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม มีเส้นใบข้าง 8-12 คู่ ก้านใบเกลี้ยง ยาวได้ประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร
    ใบอวบดำ
  • ดอกอวบดำ ออกดอกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงหลวม ๆ โดยจะออกตามซอกใบหรือกิ่งก้าน ช่อดอกยาวได้ประมาณ 3-15 เซนติเมตร แขนงข้างของช่อด้านล่างยาวอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของความยาวของช่อหลัก ดอกอวบดำนั้นมีขนาดเล็กเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ดอกมีกลิ่นหอมเอียน ๆ มีดอกย่อยประมาณ 40-100 ดอก ดอกย่อยจะมีขนาดประมาณ 0.3-0.7 เซนติเมตร กลีบดอกมีอย่างละ 4 กลีบ ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ยาวได้เป็น 2 เท่าของหลอดกลีบ ส่วนกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียว มี 4 กลีบ ขนาดประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร พูกลีบลึก โคนกลีบติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกตื้น ๆ ดอกมีเกสรเพศผู้ 2 อัน ขนาดสั้นกว่าหลอดกลีบ อับเรณูมีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร ลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปขอบขนาน ไม่มีก้านชู กลม มีติ่งที่ปลาย ปลายเกสรเพศเมีย เป็น 2 พู จาง ๆ ก้านชูสั้น ส่วนก้านดอกย่อยนั้นยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร
    อวบดำ
  • ผลอวบดำ ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปมนรีหรือรูปไข่กลับ มีขนาดกว้างประมาณ 0.5-2.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ มีชั้นกลีบเลี้ยงรองรับ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เนื้อผลบาง เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ ชั้นหุ้มเมล็ดแข็ง ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด
    อวบดำ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก

สรรพคุณ อวบดำ :

  • ราก เป็นยารักษาโรคมุตกิด โรคระดูขาวของสตรี ช่วยรักษาภาวะมีบุตรยากในสตรีเนื่องจากรอบเดือนผิดปกติ  ต้มน้ำอมช่วยให้ฟันทน เคี้ยวอมเพื่ออดบุหรี่
Scroll to top