เปราะหอม

เปราะหอม

ชื่อสมุนไพร :  เปราะหอม
ชื่ออื่นๆ : 
ว่านเปราะหอมแดง, เปราะหอมขาว, ว่านหอม, หอมเปราะ, ว่านตีนดิน(เหนือ), ว่านนกยูง, ว่านหาวนอน, ว่านแผ่นดินเย็น(เชียงใหม่), ซู(แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ : Sand Ginger, Aromatic Ginger, Resurrection Lily
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  
Kaempferia galanga Linn.
วงศ์ :   ZINGIBERACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นเปราะหอม เป็นพืชล้มลุก มีอายุราวหนึ่งปี ทั้งเปราะหอมขาวและเปราะหอมแดง เป็นไม้ลงหัวจำพวกเปราะหอมมหากาฬ มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน หรือที่เรียกว่า “เหง้า” เนื้อภายในของเหง้ามีสีเหลืองอ่อนและมีสีเหลืองเข้มตามขอบนอก และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวเหลืองเข้มตามขอบนอก มีกลิ่มหอมเฉพาะตัว

 

 

  • ใบเปราะหอม เป็นใบเดี่ยว แทงขึ้นจากเหง้าใต้ดิน 2-3 ใบ แผ่ราบไปตามพื้นดิน หรือวางตัวอยู่ในแนวราบเปราะหอมเหนือพื้นดินเล็กน้อย ใบมีรูปร่างค่อนข้างกลมหรือรูปไข่ป้อม ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย มีขนอ่อนบริเวณท้องใบ บางครั้งอาจพบขอบใบมีสีแดงคล้ำ เนื้อใบค่อนข้างหนา ตัวใบมีขนาดกว้าง 5-10 ซม. ยาว 7-15 ซม. ก้านใบเป็นกาบยาว 1-3 ซม.ดอกออกรวมกันเป็นช่อ ยาว 2-4 ซม.มี 4-12
  • ดอกเปราะหอม ออกดอกรวมเป็นช่อ มีความยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร มีดอกประมาณ 4-12 ดอก โดยออกดอกตรงกลางระหว่างใบ ดอกมีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูแต้มด้วยสีม่วง ในแต่ละดอกจะมีกลีบประดับ 2 กลีบรองรับอยู่

 

 

  • ผลเปราะหอม เป็นผลแห้ง แตกได้ พบมากทางเหนือ

***ใบอ่อนม้วนเป็นกระบอกออกมาแล้วแผ่ราบบนหน้าดิน ต้นหนึ่งๆ มักมี 1 – 2 ใบ ใบมีรูปร่างทรงกลมโตยาว ประมาณ 5 – 10 ซม. หน้าใบเขียว เปราะหอมแดงจะมีท้องใบสีแดง เปราะหอมขาวจะมีท้องใบสีขาว มีกลิ่นหอม หัวกลมเหมือนหัวกระชาย ใบงอกงามในหน้าฝน และจะแห้งไปในหน้าแล้ง

ส่วนที่ใช้เป็นยา :  ใบ, ดอก, ต้น, หัวสดหรือแห้ง

สรรพคุณ เปราะหอม : เปราะหอมขาว

  • ดอก  แก้เด็กนอนสะดุ้งผวา ร้องไห้ตาเหลือก ตาช้อนดูหลังคา
  • ต้น ขับเลือดเน่าของสตรี
  • ใบ  ใช้ปรุงเป็นผักรับประทานได้
  • หัว แก้โลหิต ซึ่งเจือด้วยลมพิษ ปรุงเป็นเครื่องเทศสำหรับแกง สุมศีรษะเด็ก แก้หวัด คัดจมูก รับประทานขับลมในลำไส้

สรรพคุณ เปราะหอมแดง

  • ใบ  แก้เกลื้อนช้าง
  • ดอก  แก้โรคตา
  • ต้น แก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ
  • หัว ขับเลือด และหนองให้ตก แก้ลมพิษ แก้ผื่นคัน แก้ไอ แก้บาดแผล
  • หัวและใบ  ใช้ในการปรุงเป็นอาหารได้
Scroll to top