เสนียด

เสนียด

ชื่อสมุนไพร : เสนียด
ชื่ออื่นๆ :
กุลาขาว, บัวฮาขาว, บัวลาขาว (ภาคเหนือ), กะเหนียด (ภาคใต้), โมรา, เสนียดโมรา (ภาคกลาง), โบราขาว (เชียงใหม่), หูหา , ฮูฮา (เลย), หูร่า (นครพนม), ชิตาโหระ (กะเหรี่ยง), จะลึ้ม (ปะหล่อง), จะเริมเผือก, จะเริมโหลง (ไทยใหญ่), เจี่ยกู่เฉ่า, ต้าปั๋วกู่ (จีน)
ชื่อสามัญ : Malabar Nut Tree, Adhatoda, Vasica , Adulsa
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Justicia adhatoda Linn.
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • เสนียด เป็นไม้พุ่ม มีความสูงของต้นประมาณ 1.5-5 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามากมายรอบ ๆ ต้นโดยมักจะเป็นแบบเป็นพุ่มทึบ ยอดกิ่งมีขนขึ้นเล็กน้อย
    เสนียด
  • ใบเสนียด เป็นใบเดี่ยวที่ค่อนข้างใหญ่มักจะออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ หรือเป็นรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบแหลมสอบหรือเรียวมนรี ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 9-16 เซนติเมตร พื้นใบเป็นสีเขียว มีขนอ่อน ๆ ปกคลุมอยู่ทั้งสองด้าน  ก้านใบยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร
    เสนียด
  • ดอกเสนียด ดอกออกเป็นช่อ จะออกตามง่ามใบที่ใกล้กับปลายยอด โดยช่อดอกจะรวมกันเป็นแท่ง ก้านช่อเสนียดดอกยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ดอกมีใบประดับสีเขียวหุ้มดอกเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ  ดอกย่อยของเสนียดกลีบดอกเป็นสีเขียว ดอกย่อยมีกลีบยาวประมาณ 1.2-1.4 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร กลีบดอกเป็นสีขาว มีเส้นสีม่วง ยาวได้ประมาณ 3 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายปากแยกแบ่งเป็นกลีบล่างและกลีบบน มี 2 กลีบ ส่วนบนมีรอยแยก 2 แฉกสีขาว ส่วนล่างมีรอยแยกเป็นแฉก 3 แฉกสีขาวปะม่วง ดอกมีเกสรเพศผู้ 2 อัน ยื่นออกมา ก้านเกสรเพศเมียจะสั้นกว่า เกสรเพศผู้เป็นเส้นกลมยาว ที่ปลายแยกเป็นแฉก 2 แฉก
  • ผลเสนียด ผลเป็นฝัก เมื่อแห้งแตกได้  ยาวได้ประมาณ 2 เซนติเมตร และมีขน ภายในพบเมล็ด 4 เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา :  : ก้าน, ใบ, ราก

สรรพคุณ เสนียด :

  • ก้าน, ใบ รสขมสุขุม ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบหลอดลม ขับเสมหะ แก้หอบหืด ไอ แก้ไข้ แก้ปวดบวม แก้กระดูกหัก เลือดคั่ง บวมเจ็บปวด ปวดข้อ บำรุงน้ำดี
  • ราก รสขมเฝื่อน ขับเสมหะ คลายกล้ามเนื้อเรียบ ฆ่าเชื้อโรค แก้ไข้ ขับพยาธิ แก้ปอดพิการ
Scroll to top