คอนสวรรค์

คอนสวรรค์

ชื่อสมุนไพร : คอนสวรรค์
ชื่ออื่น ๆ
: สนก้างปลา, พันสวรรค์, เข็มแดง, แข้งสิงห์, ดาวนายร้อย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomea quamoclit Linn.
ชื่อวงศ์ : CONVOLVULACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • คอนสวรรค์ เป็นพรรณไม้เลื้อยล้มลุก มีอายุประมาณ 1 ปี ลำต้นเลื้อยพันกัน ลำต้นมีขนาดเล็กเรียวมีผิวเกลี้ยง เมื่อออกดอกแล้วเถาจะเหี่ยวเฉาตาย
  • ใบคอนสวรรค์ จะเป็นรูปไข่หรือเป็นรูปขอบขนานกัน และมีความกว้างประมาณ 1-6 ซม. ความยาวประมาณ1-9 ซม. ตรงขอบใบจักเป็นแฉกลีกเป็นแบบขนนก ข้างละประมาณ 9-19 แฉก แฉกนั้นอาจจะอยู่ ตรงข้ามกันหรือเรียงสบับกันส่วนก้านใบจะยาวประมาณ 8-40 มม. ตรงโคนก้านมักจะมีหูใบปลอม
  • ดอกคอนสวรรค์ เป็นช่อตามง่ามใบ โดยจะมีดอกอยู่ประมาณ 2-6 ดอก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1.5-14 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกยาวประมาณ 5-20 มิลลิเมตร เมื่อเป็นผลใหญ่ขึ้นจะเป็นรูปทรงกระบอก กลีบรองดอกมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานหรือเป็นรูปช้อนแกมขอบขนาน ปลายใบ คู่นอกนั้นยาวได้ประมาณ 4-4.5 มิลลิเมตร ส่วนคู่ในจะยาวน้อยกว่าเล็กน้อย ผิวเกลี้ยง กลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว มีความยาวได้ประมาณ 2-3 เซนติเมตร ปลายแยกออกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก กลีบดอกเป็นสีแดงเข้ม สีชมพู หรือบางทีเป็นสีขาว เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียจะโผล่พ้นกลีบดอก และเกสรเพศผู้จะมีขนอยู่ที่โคน ส่วนรังไข่จะมีลักษณะผิวเกลี้ยง
  • ผลคอนสวรรค์ มีลักษณะเป็นรูปไข่ มีความยาวได้ประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่ เมล็ดเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลดำ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, ใบ, เมล็ด

สรรพคุณ คอนสวรรค์ :

  • ทั้งต้น รสเย็น เป็นยาเย็น ใช้รักษาพิษงูกัด และเป็นยานัตถุ์ ยารุ
  • ใบ รสเย็น นำมาตำทำเป็นยาพอกริดสีดวงทวารที่มีเลือดออก รักษาสิวหัวช้าง หรือฝีฝักบัว
  • เมล็ด รสเฝื่อน ใช้เป็นยาระบายและเป็นยาบรรเทาอาการปวดท้อง

แหล่งที่พบ :  พบทั่วทุกภาคในเมืองไทย(ตามชายป่าหรือป่าโปร่งที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,200 เมตร) และเขตร้อนทั่วโลก

Scroll to top