ช้อยนางรำ

ช้อยนางรำ

ชื่อสมุนไพร : ช้อยนางรำ
ชื่ออื่นๆ :
ว่านมีดยับ, หว้านมีดยับ(ลำพูน), แพงแดง(ประจวบคีรีขันธ์), ค่อยช้างรำ, ช้อยช่างรำ, นางรำ(ไทย), แพวแดง(อรัญประเทศ), เคยแนะคว้า(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ : Telegraph Plant, Semaphore Plant
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Codariocalyx motorius (Houtt.) Ohashi
ชื่อวงศ์ : FABACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นช้อยนางรำ จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็กจำพวกหญ้า ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 90 เซนติเมตร ส่วนผิวของลำต้นนั้นจะเป็นสีไม้แห้
  • ใบช้อยนางรำ ใบแยกเป็นใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยแต่ละใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายใบมน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ผิวใบด้านบนเป็นมัน ส่วนด้านล่างมีขนละเอียด
  • ดอกช้อยนางรำ ดอกแทงออกจากด้างข้างหรือที่ยอด เป็นช่อดอกแบบติดดอกสลับ ก้านช่อดอกมีขน ดอกมีขนาดเล็กคล้ายดอกถั่วแปบ แต่จะมีขนาดเล็กกว่าถั่วแปบมาก โดยกลีบดอกจะเป็นสีม่วงปนขาวหรือสีม่วงแดง และมีกลีบเลี้ยงเป็นรูปกระดิ่ง
  • ผลช้อยนางรำ ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน มีขนาดกว้างประมาณ 0.3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ภายในฝักจะมีเมล็ดประมาณ 2-6เมล็ด เมล็ดเป็นสีดำ ลักษณะคล้ายกับเมล็ดถั่วดำ แต่จะมีขนาดเท่าหัวไม้ขีด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ลำต้น

สรรพคุณ ช้อยนางรำ :

  • ราก ยารักษาอาการเจ็บป่วย ยาแก้ไข้ประสาทพิการ แก้ไข้รำเพรำพัด ยาขับปัสสาวะ
  • ลำต้น ยารักษาอาการเจ็บป่วย ยาแก้ไข้ประสาทพิการ แก้ไข้รำเพรำพัด ยาดับพิษร้อนภายใน แก้ฝีภายใน ฝีในท้อง ยาขับปัสสาวะ ทำให้ปรอทแข็งตัว

     

  • ใบ ยารักษาอาการเจ็บป่วย ยาแก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้พิษ และแก้ฝีภายใน ยาแก้ไข้ประสาทพิการ แก้ไข้รำเพรำพัด ยาขับปัสสาวะ ทำให้ปรอทแข็งตัว

ช้อยนางรำเป็นจัดเป็นพรรณไม้ที่ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด มักขึ้นเองตามป่าชื้นทั่วไป หรือมีปลูกไว้ตามบ้านเพื่อไว้ดูเล่นเป็นของแปลกๆ ในปัจจุบันหาได้ค่อนข้างยาก บางคนจะนำมาปลูกไว้ในกระถาง แล้วจึงช่วยกันตบมือ ใบอ่อนของพรรณไม้ชนิดนี้ก็จะกระดิกได้เป็นจังหวะ จึงจัดว่าเป็นพรรณไม้ที่น่าอัศจรรย์ชนิดหนึ่ง สันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะต้นไม้นี้มีปุ่มที่สามารถรับเครื่องเสียงและคลื่นเสียงได้ และคงไปกระทบต่อสารภายในของต้น แล้วส่งผลให้หูใบกระดิกหรือเคลื่อนไหวได้ในลักษณะเหมือนนางรำในละคร จึงเป็นที่มาของอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า “สาวน้อยเริงระบำ

Scroll to top