โคกกะออม

โคกกะออม

ชื่อสมุนไพร : โคกกะออม
ชื่ออื่น ๆ 
: ลูบลีบเครือ( เหนือ ), โคกกระออม( กลาง ), ตุ้มต้อก(แพร่ติ๊นโข่, ไหน(จีน), โพออม(ปัตตานี), วิวี่(ปราจีนบุรี)
ชื่อสามัญ : Ballon Vine, Heart Pea, Heart seed, Smooth leaved Heart Pea.
ชื่อวิทยาศาสตร์Cardiospermum halicacabum Linn.
ชื่อวงศ์ : SAPINDACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นโคกกะออม เป็นพรรณไม้เถาขนาดกลาง ลักษณะของเถานั้นจะเป็นรูป 5 เหลี่ยม เถาจะโตเท่าก้านไม้ขีดไฟ หรือ จะเล็กกว่านั้นก็มีส่วยผิวของเถาจะเป็นสีเขียว เป็นเถาที่มีความยาวเลื้อยเกาะพันกันขึ้นไปบนต้นไม้ หรือตามกิ่งไม้ หรือเลื้อยไปตามพื้นดินและตรงข้อของเถานั้นจะมีมือสำหรับยึดเกาะ
  • ใบโคกกะออม ใบจะเป็นใบประกอบ ก้านใบนั้นจะยาว มีใบย่อยราว ๆ 3 ใบ ขอบใบจะเป็นหยักลึกและมีมือเกาะสั้น ๆ จะอยู่ที่ปลายยอดอยู่ระหว่างซอกเถาที่มีก้านช่อดอก มือจับจะมี2 อัน จะแยกกันออกก้านช่อดอกที่ยาว ใบนั้นจะมีสีเขียว
  • ดอกโคกกะออม ออกเป็นช่อแบบสมบูรณ์เพศ โดยใน 1 ช่อจะมีดอกย่อยประมาณ 3-4 ดอก โดยจะออกตามง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็กยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร สีขาว มีกลีบดอก 4-5 กลีบ ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 4 กลีบ มีเกสรเพศผู้ 8 ก้าน
  • ผลโคกกะออม มีลักษณะของผลเป็นรูปสามเหลี่ยม มีลักษณะคล้ายกับถุงลม บางๆ มี 3 พู โดยจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของผลประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร เปลือกผลเป็นเยื่อบาง และมีสีเขียวอ่อน หรือ สีเขียมเหลือง มีผิวเป็นลายเส้น และมีขนสั้นนุ่มกระจายอยู่ทั่วผล ผลเมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ แล้วแฝงลงด้านในผลจะมีเมล็ดขนาดเล็กประมาณ 1-3 เมล็ด
  • เมล็ด ทรงกลมผิวเรียบ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 มิลลิลิตร เมื่อยังอ่อนจะเป็นสีเขียวอ่อน และค่อนข้างนิ่ม แต่เมื่อเมล็ดแก่จะเป็นสีดำและแข็ง ที่คั่วเมล็ดเป็นสีขาวลักษณะคล้ายรูปหัวใจ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เถา, ใบ, ดอก, เมล็ด, ผล, ราก

สรรพคุณ โคกกะออม :

  • เถา ใช้รักษาอาการไข้จับ
  • ใบ ยาไทย มักจะใช้ใบสดนำมาตำพอกผี ในปันจาบหรือใช้เป็นยารักษาโรคหืด และรักษาอาการไอ
  • ดอก ใช้เป็นยารักษาโลหิตในอกให้ตก
  • ผล ใช้ดับพิษทั้งปวง และใช้บำรุงน้ำดี
  • เมล็ด ใช้รักษาไข้ขับเหงื่อ
  • ราก ใช้เป็นยาทำให้อาเจียนและเป็นยาระบาย นอกจากนี้ยังใช้เป็นยารักษาซึ่งเป็ต้อและรักษาพิษงูเห่า

ข้อมูลเพิ่มเติม :

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

  • ใช้ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ช่วยลดความดันโลหิต ขับเหงื่อ ทำให้เลือดเย็น แก้หอบหืด ลดอาการต่อมลูกหมากโต
  • ใช้เป็นยาแก้ระบาย แก้ปวดบวมฟกช้ำ โดยใช้ต้น หรือ เถาโดกกระออม แห้ง 10-18 กรัม มาต้มกับน้ำดื่ม หากเป็นต้นสดให้ใช้ 35-70 กรัม คั้นเอาน้ำกิน
  • ใช้แก้ไข้ แก้ไอหืด ขับปัสสาวะ ขับระดู โดยใช้ใบมาต้มกับน้ำดื่ม
  • ใช้เป็นยาใส่แผล โดยใช้ใบมาต้มกับน้ำ และนำมาล้างแผล
  • ใช้รักษาโรครูมาตอยด์ โดยใช้ใบสดนำมาคั้นเอาแต่น้ำเคี่ยวกับน้ำมันงา ใช้ทาเช้า-เย็น ติดต่อกันประมาณ 7 วัน

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานโคกกระออม เนื่องจากในสรรพคุณทางยาพบว่ามีฤทธิ์ขับระดูในสตรี อาจทำให้แท้งบุตรได้ ส่วนผู้ที่มีสุขภาพดี ในการใช้โดกกระออม เป็นสมุนไพรก็ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรรับประทานในขนาดและปริมาณ ที่ได้กำหนดไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้มากจนเกินไป และไม่ควรใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้

ถิ่นกำเนิดโดกกระออม

โดกกระออม เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปอเมริกา (อเมริกากลาง และอเมริกาใต้) โดยถูกจัดให้เป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง จากนั้นได้แพร่กระจายพันธุ์ไปยังเขตร้อน และเขตอบอุ่นทั่วโลก สำหรับประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ตามบริเวณชายป่า ที่รกร้างว่างเปล่า สองข้างถนน ตามริมน้ำ และตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 1500 เมตร

การขยายพันธุ์โดกกระออม

โดกกระออม สามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการใช้เมล็ด เนื่องจากโคนกระออมถูกจัดเป็นวัชพืชที่รบกวนผลผลิตทางการเกษตรดังนั้นจึงไม่นิยมนำมาปลูก ส่วนที่พอเห็นกินกันทั่วไปก็เป็นการพบในธรรมชาติ ดังนั้นการแพร่ขยายพันธุ์ของโคนกระออมนั้น จึงเป็นการขยายพันธุ์โดยอาศัยเมล็ดจากตามพื้นดินเนื่องจากเป็นต้นใหม่ตามธรรมชาติมากกว่า

Scroll to top