แสมสาร

แสมสาร

ชื่อสมุนไพร : แสมสาร
ชื่ออื่นๆ :
ขี้เหล็กโครก ขี้เหล็กแพะ(ภาคเหนือ), ขี้เหล็กป่า (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ขี้เหล็กสาร (นครราชสีมา ปราจีนบุรี), กราบัด, กะบัด(นครราชสีมา) ขี้เหล็กคันชั่ง, ขี้เหล็กโคก, การะปัด, ไงซาน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna garrettiana (Craib) Irwin & Barneby
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAECAESALPINIOIDEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นแสมสาร เป็นไม้ยืนต้น ที่มีความสูงของต้นประมาณ 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง มีเนื้อไม้แข็ง กิ่งแขนงแตกเป็นเรือนยอดกลมทึบ เปลือกลำต้นหนาเป็นสีน้ำตาลแก่เกือบดำ ลำต้นขรุขระแตกเป็นร่องลึก แตกเป็นสะเก็ดเหลี่ยม ตามกิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม
    แสมสาร
  • ใบแสมสาร เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงสลับ ใบย่อย 6-9 คู่ ลักษณะเป็นใบรูปหอกหรือรูปไข่ ความกว้าง 2-5 เซนติเมตร ความยาว 5-9 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลม ใบหนามีสีเขียวสด ผิวใบเกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ก้านใบยาว 4-5 เซนติเมตร
    แสมสาร
  • ดอกแสมสาร มีสีเหลืองออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ความยาวประมาณ 9-20 เซนติเมตร มีขนสีน้ำตาลเหลืองหนาแน่น ดอกย่อยจำนวนมาก ก้านดอกย่อยยาว 3 เซนติเมตร ใบประดับรูปไข่ปลายแหลมร่วงง่าย กลีบเลี้ยง 5 กลีบขนาดไม่เท่ากัน ด้านนอก 2 กลีบขนาดเล็กกว่า ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ด้านใน 3 กลีบยาวกว่า กลีบดอกสีเหลืองรูปไข่กลับ ยาว 15-18 มิลลิเมตร เมื่อบานออกเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 เซนติเมตร มีก้านกลีบยาว 4 มิลลิเมตร เกสรตัวผู้ 10 อัน
  • ผลแสมสาร มีสีน้ำตาล เป็นฝักรูปดาบ มักบิด แบน เกลี้ยงไม่มีขน ผนังบาง กว้าง 2-4 มิลลิเมตร ยาว 15-22 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกได้ฝักหนึ่งมีเมล็ดประมาณ 20 เมล็ด ขนาดกว้าง 5 มิลลิเมตร ยาว 1 เซนติเมตร กระพี้สีขาวนวล

ส่วนที่ใช้เป็นยา  : ราก, ใบ, ยอด, เปลือกต้น, แก่น และ ดอก

สรรพคุณ แสมสาร :

  • ราก ยาฟอกโลหิตช่วยบำรุงโลหิต ดับพิษโลหิต
  • ใบ บำบัดโรคมะเร็งในเม็ดเลือดขาว ขับพยาธิ ยาถ่ายบำบัดโรคงูสวัดรักษาแผลสดและแผลแห้ง
  • ยอด แก้โรคเบาหวาน
  • เปลือกต้น ขับเสมหะแก้ริดสีดวงทวาร
  • แก่น แก้โลหิต แก้ลมช่วยถ่ายกระษัยแก้โลหิตกำเดา ยาระบาย แก้ปัสสาวะเป็นสีต่างๆ ช่วยฟอกถ่ายประจำเดือนของสตรี แก้ลมในกระดูก
  • ดอก แก้นอนไม่หลับ
Scroll to top