แตงหนู

แตงหนู

ชื่อสมุนไพร : แตงหนู
ชื่ออื่น ๆ
: แตงนก, แตงผีปลูก, แตงหนูขน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mukia maderaspatana Roem.
ชื่อวงศ์ CUCURBITACEAE

 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นแตงหนู เป็นพรรณไม้เถาชนิดหนึ่ง ตามเถาจะมีขนสั้น ๆ ปกคลุมอยู่เมื่อจับดูจะสาก ๆ ระคายมือ แตงหนูนี้จะมีอยู่ 2 ชนิดคือ ชนิดแรกจะเกิดในต่างประเทศ และอีกชนิดนี้เกิดในไทยซึ่งมีลำเถาอ่อนและมีน้ำชุ่ม ๆ
  • ใบแตงหนู ใบเดี่ยว เรียงสลับกัน รูปไข่ป้อม 3-5 เหลี่ยม หรือ 3-5 แฉก กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก ฐานใบเว้าเป็นรูปหัวใจ มีขนหนาแน่นทั้งด้านบน และด้านล่าง ก้านใบยาว 1-5 เซนติเมตร
  • ดอกแตงหนู ดอก ขนาดเล็ก สีเหลือง ดอกเพศผู้ และดอกเพศเมีย อยู่บนต้นเดียวกัน และมักจะออกที่ง่ามใบเดียวกัน ดอกเพศผู้ ออกเป็นช่อ กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็น 5 แฉก แฉกยาว 1-1.5 มิลลิเมตร ปลายแหลม มีขน กลีบดอกสีเหลือง มี 5 กลีบ รูปไข่แกมขอบขนา ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร เกสรผู้ 3 อัน อับเรณูตรงหรือโค้งเล็กน้อย ไม่ติดกัน ดอกเพศเมีย ออกเดี่ยว ๆ ไม่ค่อยพบที่เป็นกระจุก กลีบรองกลีบดอก และกลีบดอก มีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ รังไข่มีขน
  • ผลแตงหนู ถ้าเป็นพรรณในไทยนั้นผลจะกลมคล้ายกับผลแตงโมอ่อน แต่จะมีขนาดเล็กกว่ามาก ขนาดก็เท่ากับผลมะเขือพวง เมื่อดิบเป็นสีเขียว และเมื่อแก่หรือสุกจะกลายเป็นสีแดง แต่ถ้าเป็นพรรณต่างประเทศนั้นผลจะยาวประมาณ 2 นิ้ว และภายในจะแบ่งออกเป็น 3 ห้องและมีน้ำอยู่ซึ่งเป็นยางเหนียว

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, ต้น, ใบ, ดอก, ผล

สรรพคุณ แตงหนู :

  • ราก ใช้ปรุงเป็นยาแก้ลม แก้เสมหะ แก้คุดทะราด และขับปัสสาวะ
  • ต้น ปรุงเป็นยาแก้เสมหะให้ตก
  • ใบ ปรุงเป็นยาแก้ไข้ ซึ่งมีอาการทำให้สั่นหนาว
  • ดอก ปรุงเป็นยาแก้โลหิตเสียซึ่งเป็นพิษนั้น ให้ตก
  • ผล ถ้าทานเข้าไปจะเป็นยาระบายอย่างแรงมาก และจะทำปวดใช้ท้องมากด้วย เป็นยาแก้ไข้จับซึ่งมีอาการร้อน
Scroll to top