เนียง

เนียง

ชื่อสมุนไพร : เนียง
ชื่ออื่น ๆ
: ขางแดง, ชะเนียง, เนียงใหญ่, เนียงนก, ผักหละต้น, พะเนียง, มะเนียง, มะเนียงหย่อง, ยิริงหรือยือริง, ยินิกิง, หย่อง, เจ็งโกล, ตานิงิน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Archidendron jiringa (Jack) I.C. Nielsen
ชื่อวงศ์ : LeguminosaeMimosoideae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นเนียง ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 15-20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ แตกกิ่งต่ำ ใบอ่อนสีแดง เนียงเปลือกเรียบสีน้ำตาลอ่อน มีช่องระบายอากาศรูปรีตามขวางลำต้นทั่วไป

 

 

 

  • ใบเนียง ใบประกอบแบบขนนกสองชั้นเรียงตรงข้าม 1 คู่ ใบย่อย 2-3 คู่ เรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปรีแกมรูปไข่กลับหรือรูปขอบขนาน กว้าง 4-7 เซนติเมตร ยาว 8-17.5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง และเกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบข้างละ 6-8 เส้น ก้านใบยาว 2-2.5 เซนติเมตร
  • ดอกเนียง สีขาวออกเป็นช่อแยกแขนงตามซอกใบของกิ่งแก่ กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยปลายแยก 5 แฉก มีขนประปราย กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยก 5 แฉก มีขนประปราย ดอกบานที่เต็มกว้าง 2-3 เซนติเมตร
  • ผลเนียง ผลเป็นฝักแห้ง ฝักหักข้อบิดโค้งเป็นเกลียว สีน้ำตาลอมดำกว้าง 3.8-4 เซนติเมตร ยาว 15-20 เซนติเมตร มีรอยหยักเว้าตามแนวเมล็ดเป็นข้อ เปลือกหนาแข็ง เมล็ดกลมสีน้ำตาล มีเยื่อหุ้มเมล็ดบางๆ สีน้ำตาล มี 1 เมล็ดต่อข้อ

 

 

 

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือกหุ้มเมล็ด, ใบ

สรรพคุณ เนียง :

  • เปลือกหุ้มเมล็ด ช่วยแก้โรคเบาหวาน
  • ใบ นำมาพอแก้โรคผิวหนัง

[su_quote cite=”The Description”]ข้อระวัง ลูกเนียงมีกรดเจ็งโคลิค เป็นกรดที่มีกำมะถันสูง ผู้ที่เป็นโรคไต ควรระวังในการรับประทาน วิธีการลดพิษให้น้อยลงคือ นำเมล็ดไปเพาะในทราย ให้มีหน่อต้นอ่อนงอกออกมา หรือนำเมล็ดไปต้มให้สุก หรือหั่นชิ้นบางๆ แล้วนำไปตากแดดก่อนรับประทาน [/su_quote]

Scroll to top