เชือกเขาไฟ

เชือกเขาไฟ

ชื่ออื่นๆ : เชือกเขาไฟ
ชื่ออื่นๆ
: ย่างทราย, ย่านปด, เชือดเขาไฟ, ฮางฮ้อน, ไม้ไฟ, รังร้อน, รสสุคนธ์แดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tetracera indica  Merr.
ชื่อวงศ์ : DILLENIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นเชือกเขาไฟ จัดเป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง เลื้อยได้ไกลถึง 10 เมตร เถาเป็นสีน้ำตาลแดง เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล เมื่อแก่จะแตกเป็นสะเก็ดบาง ๆ ส่วนเถาอ่อนเป็นสีน้ำตาลอมเขียว
  • ใบเชือกเขาไฟ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมขอบขนานหรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบมน ส่วนขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยห่าง ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบ ผิวใบสากคาย มีขนตามเส้นใบด้านล่าง ก้านใบสั้นสีแดง ยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร
  • ดอกเชือกเขาไฟ ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยง 4 กลีบ สีเขียวแกมแดง กลีบดอก 4 กลีบ สีขาว หลุดร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก
  • ผลเชือกเขาไฟ เป็นผลแห้ง ทรงกลม ปลายเป็นจะงอยแหลม แตกตะเข็บด้านเดียว ออกเป็นกลุ่ม 3-4 ผล เมล็ดรูปไข่ สีดำ มีเยื่อหุ้มสีแดง

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เถา, เนื้อไม้

สรรพคุณ เชือกเขาไฟ :

  • เถา รสขม ระบายท้อง แก้แน่น จุกเสียด ขับลมในลำไส้ แก้ท้องขึ้น อืดเฟ้อ
  • เนื้อไม้ รสร้อน แก้เสมหะ ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ ขับโลหิต

[su_quote cite=”The Description”]ห้ามใช้เนื้อไม้นี้ทำเป็นคานหาบสิ่งของก็ไม่ได้เพราะเนื้อไม้นี้ร้อน และ ยาง เป็นพิษ ถ้าเข้าตาจะกัดเยื่อตา ตาบอดได้[/su_quote]
[su_spoiler title=”แหล่งข้อมูลอ้างอิง :” style=”fancy” icon=”folder-2″]วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. พจนานุกรม สมุนไพรไทย. กรุงเทพฯ : ประชุมทองการพิมพ์, 2539.[/su_spoiler]

Scroll to top