หญ้าใต้ใบ

หญ้าใต้ใบ

ชื่อสมุนไพร : หญ้าใต้ใบ
ชื่ออื่น ๆ
: ต้นใต้ใบ, หญ้าลูกใต้ใบ, หมากไข่หลัง (เลย), หญ้าใต้ใบ (อ่างทอง, นครสวรรค์, ชุมพร), ไฟเดือนห้า (ชลบุรี), หญ้าใต้ใบขาว (สุราษฏร์ธานี), หน่วยใต้ใบ (คนเมือง), มะขามป้อมดิน (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ : 
Egg woman, Tamalaki, Hazardana, Stonebreaker, Seed-under-leaf
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus urinaria Linn.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 

  • ต้นหญ้าใต้ใบ เป็นพืชล้มลุก มีอายุเพียงปีเดียว มีความสูงประมาณ 10-60 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นไม่มีขน และทุกส่วนของต้นมีรสขม
    หญ้าใต้ใบ
  • ใบหญ้าใต้ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคี่ มีใบย่อยประมาณ 23-25 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ โคนใบมนแคบ ส่วนปลายใบมนกว้าง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-10 มิลลิเมตร มีก้านใบสั้นมาก มีหูใบสีขาวนวล ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมเกาะติดอยู่ 2 อัน
  • ดอกหญ้าใต้ใบ เป็นแบบแยกเพศ มีขนาดเล็กสีขาว เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.08 เซติเมตร ดอกเพศเมียมักจะอยู่บริเวณโคนก้านใบ ส่วนดอกเพศผู้มักจะอยู่บริเวณส่วนปลายของก้านใบ โดยดอกตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าดอกตัวผู้ประมาณ 2 เท่า เกสรตัวผู้มี 3 ก้าน โคนก้านเกสรเชื่อมกันเล็กน้อย มีอับเรณูแตกอยู่ตามแนวราบ ส่วนกลีบรองและกลีบดอกเป็นรูปไข่ ขอบกลีบมีสีอ่อน
  • ผลหญ้าใต้ใบ มีลักษณะเป็นรูปกลมแบน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 มิลลิเมตร ผิวเปลือกนอกขรุขระ ผลอ่อนเป็น สีเขียว เมื่อแก่ก็จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ข้างในผลเป็นรูปสามเหลี่ยม สีน้ำตาล ผลออกเรียงเป็นแถวอยู่ใต้ก้านใบ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น

สรรพคุณ หญ้าใต้ใบ : 

  • ทั้งต้น เป็นยาแก้บิดถ่ายเป็นมูกเลือด ตับอักเสบ แก้ไข้ นิ่ว ขับปัสสาวะ ลำไส้อักเสบ ไตอักเสบบวมน้ำ โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ต้อตาและเป็นโรคตาแดง หรือใช้ภายนอกในการตำพอก แผลที่บวมอักเสบ บริเวณริมปาก และศีรษะ
Scroll to top