หญ้าหนูต้น

หญ้าหนูต้น

ชื่อสมุนไพร : หญ้าหนูต้น
ชื่ออื่นๆ
 : โก่กำแล่น(ชัยภูมิ), หางไก่เถื่อน(อุบลราชธานี), มะพร้าวป่า, ศรีคันไชย(เชียงใหม่), หญ้าหนู(ปน), หอมแดง(กลาง), ลำพัน (จันทบุรี), ศรีคันไชย(เชียงใหม่), ว่านเคียงปืนซีบะ และ เซียอ๊ะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dianella ensifolia (L.) DC.
ชื่อวงศ์ : LILIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นหญ้าหนูต้น เป็นไม้ล้มลุก มีความสูงจากพื้นดินประมาณ 30-60 เซนติเมตร นอกจากส่วนที่อยู่โผล่พ้นดินแล้ว หญ้าหนูต้นยังมีส่วนที่เป็นเหง้าใต้ดินที่ขึ้นในลักษณะเป็นกอขนาดเล็กด้วย
    หญ้าหนูต้น
  • ใบหญ้าหนูต้น จะเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แตกเป็นกระจุกที่โคนต้นอยู่ในระนาบเดียวกัน และห่อเรียงสลับกันขึ้นมาจากโคนต้นลักษณะใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปหอก ขนาดกว้างประมาณ 1-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20-60 เซนติเมตร ฐานใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ก้านใบแผ่เป็นแผ่นและหุ้มซ้อนกัน
  • ดอกหญ้าหนูต้น ออกเป็นช่อ โดยออกดอกบริเวณซอกใบที่โคนต้นหรือออกที่ปลายกิ่ง มีใบประดับขนาดใหญ่รองรับ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีสีขาวแกมม่วงและมีลักษณะที่เหมือนกัน โดยมีลักษณะเป็นหลอดเล็กๆ ปลายแยกเป็นกลีบ 6 กลีบ ภายในดอกมีเกสรเพศผู้สีเหลือง  6 อัน
    หญ้าหนูต้น
  • ผลหญ้าหนูต้น มีลักษณะเป็นทรงกลม ผลอ่อนมีสีเขียว  เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงอมน้ำเงินหรือสีม่วงเข้ม ผลมี 3 พู ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร ภายในผลมีเมล็ดเล็กๆ ลักษณะเมล็ดเป็นทรงรีและปลายค่อนข้างแหลม พบทั่วไปตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง ออกดอกราวเดือนตุลาคมถึงธันวาคม

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, ราก, ใบ

สรรพคุณ หญ้าหนูต้น :

  • ใบ  บำรุงกำลังทางเพศ
  • ราก รสหวาน แก้อาการท้องผูก ช่วยขับลม บำรุงกำลังทางเพศ บำรุงกำหนัด และขับปัสสาวะ
  • ทั้งต้น รักษาโรคมะเร็ง รักษาแผลเรื้อรังที่เน่าหรือรักษายาก

ยาพื้นบ้าน ใช้ ทั้งต้น ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม รักษามะเร็งและแผลเรื้อรัง (อาการแผลเรื้อรัง เน่าลุกลาม รักษายาก) ราก ต้มน้ำดื่มแก้อาการท้องผูก ช่วยขับลม

Scroll to top