หญ้าพองลม

หญ้าพองลม

ชื่อสมุนไพร : หญ้าพองลม
ชื่ออื่นๆ :
 ปู่เจ้าลอยท่า, หญ้าลอยน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hygroryza aristata (Retz.) Nees
ชื่อวงศ์ : POACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นหญ้าพองลม เป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้าอายุหลายฤดู เจริญลอยอยู่บนผิวน้ำเป็นแพใหญ่ ถ้าน้ำตื้นรากจะฝังในดิน ชอบขึ้นในหนอง บึง หรือที่น้ำไหลช้า ๆ มีลำต้นเป็นไหลยาวเรียว เห็นข้อปล้องชัดเจน ลำต้นคล้ายฟองน้ำ ลำต้นยาว 0.5-1.5 เมตร แตกแขนงมาก มีรากที่ข้อ ก้านใบโป่งพอง
    หญ้าพองลม
  • ใบหญ้าพองลม เป็นรูปไข่ยาวปลายใบแคบมน โคนใบกลมถึงรูปหัวใจ กว้าง 5-17 มม. ยาว 3-6 ซม. ลิ้นใบเป็นเยื่อ ยาวประมาณ 0.5 มม. กาบใบแผ่หุ้มลำต้นและโป่งพองออก ช่วยให้ลอยน้ำได้ดี
    หญ้าพองลม
  • ดอกหญ้าพองลม ออกเป็นช่อสั้นที่ปลายยอดมีช่อดอกย่อยไม่มากนัก ดอกเป็นดอกเดี่ยว ดอกรูปสามเหลี่ยมคว่ำ กิ่งแขนง 4-5 ช่อ  ก้านดอกย่อยยาว 0.2-2 มม. ไม่มีกาบช่อย่อย กาบล่างและกาบบนลักษณะคล้ายกัน ยาว 7.5-8 มม. ปลายเรียวแหลม ไม่มีรยางค์แข็ง

ส่วนที่ใช้ทำยา :  : ทั้งต้น, เมล็ด

สรรพคุณ หญ้าพองลม :

  • ทั้งต้น รสจืดเย็น ถอนพิษ แก้ไข้ตัวร้อน แก้ร้อนกระสับกระส่าย ดับพิษ ถอนพิษร้อน แก้โรคกระเพาะอาหาร ลดไขมัน
  • เมล็ด รสหวานมัน เป็นยาเย็น รักษาอาการตับอ่อนผิดปกติ ดับพิษและถอนพิษร้อน

 

เป็นพืชในวงศ์หญ้า ขึ้นอยู่ในน้ำเป็นแพแน่นในน้ำนิ่งหรือเกาะเลื้อยบนที่ชื้นแฉะเกาะกันเป็นกระจุก สามารถพบได้ตามห้วย หนอง คลอง บึง บ่อ สระ ร่องสวนโดยทั่วไป ลำต้นมีลักษณะคล้ายฟองน้ำ แตกแขนงมาก มีรากที่ข้อ ใบแข็งหนา  ใบรูปรีมีลักษณะมน ๆ ก้านใบโป่งพอง เพื่อกักน้ำไว้เลียงตัว ดอกช่อ กระจายพันธุ์ในอินเดีย พม่า ไทย และอินโดจีน ในรัฐอัสสัมปลูกเป็นแพในแม่น้ำเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ เมล็ดใช้เป็นอาหารในยามขาดแคลนได้ ต้นเหมาะสำหรับเป็นอาหารของวัวควาย บางครั้งเป็นวัชพืชกีดขวางทางน้ำ

Scroll to top