หญ้าขมใบย่น

หญ้าขมใบย่น

ชื่อสมุนไพร: หญ้าขมใบย่น
ชื่ออื่น
: ซานฮั่วเซียง โจ้วเมี่ยนขู่เฉ่า (จีนกลาง), ซัวคักเฮียง (จีนแต้จิ๋ว)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Teucrium viscidum Bl.
ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นหญ้าขมใบย่น  เป็นพรรณไม้ล้มลุกอายุหลายปี ต้นมีความสูงได้ประมาณ 30-70 เซนติเมตร ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมตั้งตรง แตกกิ่งก้านที่ปลายกิ่ง ลำต้นและใบมีขนสั้นขึ้นปกคลุม
    หญ้าขมใบย่น
  • ใบหญ้าขมใบย่น ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร ใบมีน้ำเมือกเหนียว หลังใบย่นเป็นสีเขียว ส่วนท้องใบเป็นสีเขียวอ่อน เส้นใบชัดและมีขนสั้น ก้านใบยาวประมาณ 1.7-3 เซนติเมตร
  • ดอกหญ้าขมใบย่น ออกดอกเป็นช่อและเรียงกันเป็นคู่ตามซอกใบหรือที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาวได้ประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ดอกเป็นสีแดงอ่อนหรือม่วงอ่อน กลีบดอกเป็นรูประฆังซ้อนทับกัน มีกลีบ 5 กลีบ หยัก ด้านบนมี 2 กลีบ ส่วนด้านล่างมี 3 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 4 อัน เกสรเพศเมีย 1 อัน มีขนมาก
  • ผลหญ้าขมใบย่น ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ขนาดเล็ก มีสีเหลืองน้ำตาล และมีผิวย่น ลูกกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น

สรรพคุณ หญ้าขมใบย่น :

  • ทั้งต้น รสเฝื่อนขมเย็นจัด ทำให้เลือดเย็น แก้อุจจาระเป็นเลือด ตำพอกหรือทา แก้พิษสุนัขกัด แก้ปวด บวม เม็ดผื่นคัน ฝี แก้ฝีตะมอย แก้เจ็บเต้านม

ตำราชาวบ้าน
1. อุจจาระเป็นเลือด-ใช้ราก 1 ตำลึง ต้มนํ้า ชงด้วยนํ้าผึ้งรับประทาน
2. ผู้หญิงเจ็บนม – ใช้ทั้งต้น 1 ตำลึง ตำกับเหล้าเอานํ้าต้มรับประทานตอนนํ้าอุ่นๆ ส่วนกากใช้พอก หรือต้มนํ้าแล้วชงกับเหล้า รับประทาน
3. ผิวหนังพุพองร้อนเจ็บ-ใช้ทั้งต้นตำกับนํ้าตาลแดง แล้วพอก
4. ตุ่มหรือฝี- ใช้ทั้งต้นตำกับนํ้าตาลแดง แล้วพอก
5. ผิวหนังบวมพอง-ใช้ทั้งต้นตำกับส่าเหล้า แล้วพอก
6. ตะมอยเล็บมือหรือเล็บเท้า – ใช้ทั้งต้นตำกับเหล้า แล้วพอก
7. สุนัขกัด – ใช้หนัก 1 ตำลึง ตำกับเหล้า แล้วพอกที่แผล

Scroll to top